22732 : โครงการการพัฒนาสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยงเพื่อพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพในการลดภาวะความดันโลหิต ไขมันในเลือด และการต้านความเครียด ในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางธนันธรณ์ วุฒิญาณ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/11/2567 14:20:27
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  60  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิต ไขมันในเลือด และการต้านความเครียดในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง ในพื้นที่จังหวัดพะเยา
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณสนับสนุนโครงการ อพ.สธ.-มจ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 2568 170,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68 MJU 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.4 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking (Eco. University)
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.4.1 ผลักดันการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-1.การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68-1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68-1.1.4 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking (Eco. University)
กลยุทธ์ 68-1.1.4.1 ผลักดันการดาเนินงานของมหาวิทยาลัยและผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สารสกัดจากเมล็ดของมะเกี๋ยงมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ประกอบกับข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาปริมาณสารประกอบ ฟีนอลิกทั้งหมดในเมล็ดมะเกี๋ยงสายพันธุ์ T1 และ T2 (ต.4054) ที่เพาะปลูกในพื้นที่ฟาร์มของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อ.ร้องกวาง จ.แพร่ รวมทั้งเมล็ดมะเกี๋ยงสายพันธุ์ RIT-4125 และ RIT-1199 จากพื้นที่เพาะปลูกในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา อ.เมือง จ.ลำปาง และสายพันธุ์ที่เกษตรกรทำการเพาะปลูกในพื้นที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ พบว่าสายพันธุ์ต่าง ๆ มีสารประกอบฟีนอลิกในปริมาณสูงและมีศักยภาพที่จะนำมาพัฒนาต่อยอด โดยการศึกษาวิจัยปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ปฏิกิริยาการต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งปฏิกิริยาการต้านจุลินทรีย์ของสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยงสายพันธุ์ T1, T2 (ต.4054), RIT-4125 และ RIT-1199 จากรายงานการวิจัยพบว่าสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยงสายพันธุ์ T2 (ต.4054) มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และปฏิกิริยาการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด นอกจากนั้นสารสกัดจากมะเกี๋ยงสายพันธุ์ดังกล่าวยังสามารถต้านเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค Vibrio parahaemolyticus TISTR1596 ได้ดีกว่าเชื้อจุลินทรีย์ Escherichia coli TISTR527 และ Staphylococcus aureus ตามลำดับ ผลงานวิจัยดังกล่าวได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัล "The Travel Grant Award" ในการนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง Seed extract of Ma-kiang (Cleistocalyx nervosum var. Paniala) as a novel source of anti-oxidant activity and anti-human pathogen ในการประชุมวิชาการ The 6th International Conference on Food Factors-ICoFF 2015 ระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ COEX กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2559 ทำการศึกษาวิเคราะห์ชนิดของสาระสำคัญที่เป็นองค์ประกอบในเมล็ดมะเกี๋ยงโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบโครมาโทกราฟีแบบของเหลวสมรรถนะสูง (High performance liquid chromatography, HPLC-PDA) พบว่าในสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยงสายพันธุ์ T2-4054 มีกรดแกลลิก (Gallic acid) ในปริมาณที่สูง และเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญ ดังนั้นในงานวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนากรรมวิธีการสกัดสารสำคัญจากเมล็ดมะเกี๋ยงในระดับ Pilot scale เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่เมล็ดมะเกี๋ยงซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต จากนั้นนำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยงต่อความดันโลหิต ไขมันในเลือด และการต้านความเครียดในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง ร่วมกับนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา อ.เมือง จ.พะเยา คณะผู้วิจัยคาดหวังว่าหากการวิจัยครั้งนี้เสร็จสิ้นผลงานวิจัยจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำมาพัฒนาต่อยอดให้แก่ผลิตภัณฑ์มะเกี๋ยงในเชิงอาหารเพื่อสุขภาพที่มีศักยภาพในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคตอีกด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2.เพื่อพัฒนาและเลือกใช้ตัวทำละลาย และกรรมวิธีที่เหมาะสมในการสกัดและทำแห้งสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยง
3.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยงในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแบบแคปซูล
4.เพื่อนำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยงต่อความดันโลหิต ไขมันในเลือด และการต้านความเครียดในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการการพัฒนาสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยงเพื่อพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพในการลดภาวะความดันโลหิต ไขมันในเลือด และการต้านความเครียดในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : กรรมวิธีที่เหมาะสมในการสกัดและทำแห้งสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 กรรมวิธี 1
KPI 3 : ผลิตภัณฑ์สารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยงในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แบบแคปซูล
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
170000 บาท 170000
KPI 5 : ร้อยละประสิทธิภาพของสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยงต่อความดันโลหิต ไขมันในเลือด และการต้านความเครียดในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการการพัฒนาสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยงเพื่อพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพในการลดภาวะความดันโลหิต ไขมันในเลือด และการต้านความเครียดในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง
ชื่อกิจกรรม :
1 การเตรียมความพร้อมของโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงศ์  ปกแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายกิติพงษ์  วุฒิญาณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายอนุกูล  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ผลมะเกี๋ยง เป็นเงิน 10,000 บาท
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ เป็นเงิน 20,000 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
30,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 30000.00
ชื่อกิจกรรม :
2 การเตรียมตัวอย่างเมล็ดมะเกี๋ยง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงศ์  ปกแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น สารเคมีที่ใช้ในการทดลอง บรรจุภัณฑ์สำหรับเก็บรักษาตัวอย่าง เป็นต้น เป็นเงิน 60,776 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 60,776.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,776.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 60776.00
ชื่อกิจกรรม :
3 การทำแห้งสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงศ์  ปกแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทำแห้งตัวอย่างสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยงแบบแช่เยือกแข็ง (Freezedry)
เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
ชื่อกิจกรรม :
4 การวิเคราะห์หาปริมาณฟีนอลิคโดยรวมของสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงศ์  ปกแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ตัวอย่าง (การวิเคราะห์หาปริมาณฟีนอลิคโดยรวมของสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยง) เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
ชื่อกิจกรรม :
5 การวิเคราะห์หาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงศ์  ปกแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ตัวอย่าง (ค่าวิเคราะห์ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยง) เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
ชื่อกิจกรรม :
6 ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยงต่อความดันโลหิต ไขมันในเลือด และการต้านความเครียดในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง พื้นที่จังหวัดพะเยา ร่วมกับนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา อ.เมือง
จ.พะเยา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงศ์  ปกแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง พาหนะเดินทาง (ไป-กลับ) จ.แพร่ - จ.พะเยา ระยะทาง
284 กิโลเมตร ๆ ละ 4 บาท จำนวน 9 ครั้ง ๆละ 1,136 บาท เป็นเงิน 10,224 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,224.00 บาท 0.00 บาท 10,224.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10224.00
ชื่อกิจกรรม :
7 กระบวนการดำเนินงาน สรุป และประเมินผลโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงศ์  ปกแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างเหมาจัดทำเล่มรายงานโครงการวิจัย เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง พาหนะเดินทาง (ไป-กลับ) จ.แพร่ - จ.เชียงใหม่ ระยะทาง
500 กิโลเมตร ๆ ละ 4 บาท จำนวน 3 ครั้ง ๆละ 2,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 9,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 9000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล