22710 : โครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ศตวรรษที่ 21
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
อาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 27/11/2567 16:12:48
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2567  ถึง  31/08/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบพัฒนานักศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 2568 5,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ฐิระ  ทองเหลือ
อาจารย์ ประสาทพร  กออวยชัย
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.68 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.68 : 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.68 : 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลกด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ซึ่งทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 ทักษะ ดังนี้ 1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 2. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี 3. ทักษะชีวิตและการทำงาน โลกในปัจจุบันมีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความซับซ้อน ที่สำคัญคือเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกด้านของชีวิต การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษา เพื่อให้พวกเขามีความพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานและสามารถแข่งขันได้ในยุคดิจิทัล การเรียนรู้ใน ยุคดิจิทัลต้องการบุคลากรที่มีความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว โครงการจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น โครงงาน การทดลอง และการอภิปราย โดยมีวิทยากรหรือคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้ความสามารถที่จะบูรณาการ โดยเชื่อมโยงความรู้ทางวิชาการเข้ากับทักษะการใช้เทคโนโลยีและการแก้ปัญหาจริง เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง ส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการนำความรู้และทักษะไปพัฒนาสังคมและแก้ไขปัญหาสังคม โดยโครงการมีเป้าหมาย พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นพื้นฐานและขั้นสูง ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานและสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ดังนั้นจึงต้องมีการส่งเสริมและดำเนินการทางด้านทักษะต่างๆของนักศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถและทักษะในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ด้วยตัวเองและการแก้ไขปัญหา ทั้งทักษะด้านภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะความชำนาญที่สอดคล้องกับการปรับตัว และการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม รวมทั้งการปรับตัวกับมาตรฐานการทำงานที่เป็นสากล ซึ่งทักษะด้านภาษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ และการคิดวิเคราะห์ เป็นสมรรถนะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อเสริมสร้างความรู้นวัตกรรม การกระจายทางเศรษฐกิจ รวมถึงการปรับเปลี่ยนสถานะทางสังคม ทางวิชาการและทางอาชีพ โดยเน้นการเพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาด้านการเรียนรู้ ทางวิชาการ ภาษาต่างประเทศ และทางอาชีพ โดยใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้จริง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษา ทางด้านวิชาการ ภาษาต่างชาติ และอาชีพ
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 3 : เข้ารับบริการหลังการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษา ทางด้านวิชาการ ภาษาต่างชาติ และอาชีพ
ชื่อกิจกรรม :
จัดฝึกอบรมการทำ resume เพื่อนำไปใช้สมัครงาน และการฝึกทักษะภาษาอังกฤษในการทำงานเบื้องต้น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2567 - 31/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์วิชชุดา  เอื้ออารี (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จักรกฤช  ณ นคร (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางพรลภัส  พงษ์พานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล  พิมลรัตน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ชรินทร  ศรีวิฑูรย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.อนิรุต  หนูปลอด (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆละ 1 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- วิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษA4 คลิปหนีบกระดาษ ฯลฯ เป็นเงิน 200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
คก ทักษะการเรียนรู้21 2568
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล