22688 : โครงการ กองกำลัง "เที่ยว" รับใช้สังคมเพื่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/11/2567 9:08:44
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
25/11/2567  ถึง  31/08/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  นักศึกษา บุคลากร แกนนำสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2568 7,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.1.8 จำนวนรางวัลที่นักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า หรือส่วนงาน ได้รับในระดับชาติ หรือนานาชาติ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.8.1 พัฒนาทักษะนักศึกษาทั้งด้าน Hard Skills และ Soft Skills โดยเฉพาะที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญคือ GO Eco U.
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.9.2 ส่งเสริมกิจกรรมกศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดกับชุมชนและเกษตรกร และการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา และภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.9.4 ส่งเสริมกิจกรรมที่ชื่อมโยงการพัฒนาทักษะจำเป็นของนักศึกษาจากความต้องการจำเป็นและเสียงสะท้อนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Stakeholder requirement and feedback) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียน
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.9.5 ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรและปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.68 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.68 : 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.68 : 2.1.8 จำนวนรางวัลที่นักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า หรือส่วนงาน ได้รับในระดับชาติ หรือนานาชาติ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 2.1.8.1 พัฒนาทักษะนักศึกษาทั้งด้าน Hard Skills และ Soft Skills โดยเฉพาะที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญคือ GO Eco U.
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.68 : 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลกด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 2.1.9.2 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดกับชุมชนและเกษตรกร และการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา และภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรเปิดการเรียนการสอนด้านการเกษตรและด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน ประกอบด้วย สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการประมง (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชและสาขาวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตบุคลากรออกสู่ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวนมาก ขณะที่มหาวิทยาลัยฯ มีการวางเป้าหมายทิศทางการพัฒนาระยะ 15 ปี พ.ศ. 2555-2569 เป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” ที่เคารพและให้ความสำคัญกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ปรัชญา : “มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความรุ่งเรื่องวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน” ทั้งนี้ที่ผ่านมากลุ่มนักศึกษาโดยชมรมกองกำลัง “เที่ยว” รับใช้สังคมดำเนินกิจกรรมเพื่อการกระตุ้นเตือนและส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกแก่นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้เกิดการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ ด้วยการให้ความสำคัญกับการคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆที่เกิดจากระบวนการในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1) ขยะอินทรีย์ภายในโรงอาหารมหาวิทยาลัยฯ 2) การใช้พลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า) 3) ปริมาณทั่วไป 4) คุณภาพน้ำ 5) การปลูกป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างตามแนวทางศาสตร์พระราชา ควบคู่กับการร่วมเป็นสมาชิกฯ เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพรเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการนำพาพลังจิตอาสาจากสถาบันการศึกษา ไปหนุนเสริมพลังการขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ภายใต้ปณิธานร่วมโดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สังคมและวัฒนธรรม การพัฒนาชุมชน-คน บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งสอดคล้องกับกรอบแนวคิด 4 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) คือ 1. การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย 2. การจัดการของเสียภายในมหาวิทยาลัย 3. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในมหาวิทยาลัย 4. การจัดการพลังงานภายในมหาวิทยาลัย หรือประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจากฐานทุนทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยฯ ประกอบกับผลการดำเนินกิจกรรมของทาง กองกำลัง “เที่ยว” รับใช้สังคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเด็นการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใต้กลไกขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นการสร้างพื้นที่ทำงานและร่วมผลักดันให้เกิดการสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบบูรณาการจาก 6 องคาพยพ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาครัฐ NGOs สื่อสารมวลชนและภาคเอกชน ประกอบด้วย เทศบาลหรืออบต.พื้นที่นั้นๆ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร สำนักงานพัฒนาชุมชน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานจังหวัดชุมพร สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชุมพร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร สภาอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร เครือข่ายสถาบันการศึกษา พร้อมกันนี้ยังเกิดการเชื่อมโยงกับกลุ่มแกนนำเยาวชนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ในปีพ.ศ. 2567 โดยดำเนินการผ่านความร่วมมือทั้งที่เป็นทางการ คือ MOU ระหว่างหน่วยงาน และไม่เป็นทางการ คือ การประสานความร่วมมือในการจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนและประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับแหล่งและระดับอำเภอตามโจทย์ความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง โดยกลไกดังกล่าวมีภาคประชาชนเป็นศูนย์กลาง ส่วนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งร่วมอยู่ในกลไกการขับเคลื่อนดังกล่าวนั้น จะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่มีบทบาท หน้าที่ และอำนาจในการตัดสินใจ ทั้งนี้จะได้รับโจทย์การพัฒนาทุกมิติ เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โครงข่ายการท่องเที่ยว การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การตลาดและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของภาคประชาชนทุกระดับ และสอดคล้องตามพันธกิจของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เกิดความยั่งยืนตั้งแต่ระดับพื้นที่จนถึงระดับประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการขยายผลความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมทั้งการเชื่อมโยงพื้นที่ผ่านเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนควบคู่กับการประเมินค่าการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอน และแนวทางการชดเชยด้วยกิจกรรมสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมทางสังคมรูปแบบต่างๆ จึงต้องดำเนินการผ่านกลไกลกองกำลัง "เที่ยว" รับใช้สังคมเพื่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลโดยการให้ความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะการประเมินค่าคาร์บอนเครดิตจากต้นไม้ กิจกรรมรับใช้สังคมและกิจกรรมส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม
เพื่อส่งเสริมคุณค่าฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนควบคู่กับการประเมินค่าการปลดปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมการท่องเที่ยว
เพื่อผลักดันให้เกิดการสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบบูรณาการจาก 6 องคาพยพ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน เยาวชนภายในสถาบันการศึกษาและเยาวชนนอกระบบ ภาครัฐ NGOs สื่อสารมวลชนและภาคเอกชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กองกำลัง "เที่ยว" รับใช้สังคมเพื่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 3 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กองกำลัง "เที่ยว" รับใช้สังคมเพื่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะในการประเมินค่าคาร์บอนเครดิตจากต้นไม้ ควบคู่กับการหาแนวทางในการชดเชยค่าการปลดปล่อยคาร์บอนด้วยกิจกรรมรับใช้สังคมและกิจกรรมส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/11/2567 - 31/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์  ทองสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหาร จำนวน 20 คน ๆ ละ 3 มื้อ ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆ ละ 3 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น มูลวัว ฯลฯ เป็นเงิน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 7000.00
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนากลไกเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรและบุคลากร กับนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยในเครือข่ายและแกนนำเยาวชนนอกระบบ ภายในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/11/2567 - 31/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วีรภรณ์  โตคีรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่เบิกค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
ปฏิบัติการร่วมระหว่างเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชุมพร โดยทดลองเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนควบคู่กับการประเมินค่าการปลดปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมการท่องเที่ยว

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/11/2567 - 31/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จุฑามาส  เพ็งโคนา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่เบิกค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
กองกำลังเที่ยว
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชา 11303023 กิจกรรมนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยว 1. การใช้ทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัย และเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอละแม ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อการท่องเที่ยวและบริการ 2. การศึกษาดูงานและปฏิบัติการภายในพื้นที่เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
ช่วงเวลา : 21/11/2567 - 31/08/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
งานบริการวิชาการแก่สังคม โดยรายวิชา 11303016 การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ปฏิบัติการร่วมระหว่างเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชุมพร โดยทดลองเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนควบคู่กับการประเมินค่าการปลดปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมการท่องเที่ยว
ช่วงเวลา : 21/11/2567 - 31/08/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ