22617 : โครงการพัฒนาพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สู่การรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM ปีที่ 8
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/12/2567 16:21:28
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
13/12/2567  ถึง  31/08/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  นักศึกษา
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณเงินสะสมจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร 2568 35,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา  จินดาซิงห์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทธิรักษ์  ผลเจริญ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลดรงค์  ทองสง
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68 MJU 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.6 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.6.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.68 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.68 : 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดียั่งยืน รักษ์โลก ไร้โรค (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.68 : 1.1.4 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 1.1.4.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรมรวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกระบวนการผลิตอาหารจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพ สะอาด ถูกสุขอนามัย ซึ่งจะนำไปสู่ความปลอดภัยด้านอาหาร การเข้มงวดความปลอดภัยด้านอาหารได้เพิ่มความรุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การค้าโลกได้กำหนดกฎระเบียบและมาตรการต่างๆ ภายใต้เขตการค้าเสรีเพื่อการผลิตอาหารเกษตรที่ปลอดภัยตามมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและมาตรการตลอดเวลา ประเทศไทยจำเป็นต้องติดตาม และเตรียมความพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และปรับตัวด้านการผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในระดับสากล ให้ความสำคัญในเรื่องระบบการผลิตในแปลงปลูก โดยเน้นการทำการทำเกษตรแบบอินทรีย์ (Organic) โดยใช้สารสกัดจากพืชหรือชีวินทรีย์ต่างๆ ทดแทน และใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยเพื่อไม่ก่อเกิดอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การจัดระบบสินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตในระดับไร่นาถึงผู้บริโภคภายในประเทศ และการส่งออกอย่างมีมาตรฐาน จำเป็นต้องสร้างระบบการวิเคราะห์ ตรวจสอบผลิตผลและผลิตภัณฑ์เกษตร รวมทั้งปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลเป็นการรับรองและประกันคุณภาพ เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้สินค้าเกษตรก้าวไกลในตลาดโลกโดยไม่ถูกกีดกัน รวมทั้งการประเมินขบวนการผลิตสินค้าเกษตรมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดแผนงานวิจัยการพัฒนากระบวนการสู่มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารเกษตร (Food Safety) ให้ปลอดภัยจากอันตรายของผลตกค้าง ส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพื่อแก้ไขปัญหาสารพิษตกค้างในผัก และผลไม้ ลดความเสี่ยงภัยในการบริโภค โดยผลที่ได้จากการทำโครงการนี้ จะช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารภายในจังหวัดชุมพร อีกทั้งช่วยสร้างความเชื่อมั่นใจต่อผู้บริโภคผลผลิตเกษตรของไทยที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิตการเกษตรได้อย่างละเอียดครบถ้วนในทุกขั้นตอนพร้อมทั้งกลไกและมาตรการในการเฝ้าระวัง การควบคุมทั้งต้นทางกลางทาง และปลายทาง การดำเนินการผลิตตามระบบเกษตรอินทรีย์นั้นพบว่ายังมีน้อย โดยแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรที่เข้าไปส่งเสริมเป็นลักษณะต่างคนต่างโดยขั้นตอนการส่งเสริมเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการเกษตรและอาหาร ปัญหาด้านความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารของจังหวัดชุมพรเป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนชาวชุมพรเองและนักท่องเที่ยว ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐและเอกชนระดับจังหวัดได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาแต่พบว่าขาดการดำเนินงานเชิงบูรณาการ ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาทำได้เพียงบางส่วนไม่ครบตลอดห่วงโซ่อาหารของจังหวัด ประกอบกับขาดงบประมาณดำเนินการอย่างต่อเนื่องจึงทำให้ปัญหาความปลอดภัยของอาหารกลับเข้าสู่สภาวะเดิม คือ การใช้สารเคมีแบบไม่สามารถควบคุมได้ หรือการละเลยการปฏิบัติแบบอินทรีย์โดยหันกลับมาใช้สารเคมีแบบขาดความรู้ความเข้าใจ เป็นผลให้สินค้าเกษตรและอาหารที่จำหน่ายในจังหวัดมีสารเคมีและสารต้องห้ามตกค้างในปริมาณสูง เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการแก้ไขเกี่ยวกับการเพิ่มศักยภาพสินค้าอาหารและเกษตรให้เข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนพร้อมกับเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตอาหารปลอดภัยในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จึงต้นสร้างต้นแบบแปลง/ฟาร์มอินทรีย์ เพื่อที่จะเป็นแหล่งบริการวิชาการและองค์ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่แก่เกษตรกรในท้องถิ่นตลอดจนผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรที่จำหน่ายแก่ผู้บริโภคที่เป็นวัตถุดิบให้แก่ภาคอุตสาหกรรมอาหาร หรือจำหน่ายในรูปแบบอื่นๆ และรวมถึงผู้ประกอบการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตด้วย การดำเนินการผลิตตามระบบเกษตรอินทรีย์นั้นพบว่ายังมีน้อย โดยแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรที่เข้าไปส่งเสริมเป็นลักษณะต่างคนต่างโดยขั้นตอนการส่งเสริมเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการเกษตรและอาหาร รวมถึงการยกระดับมาตรฐานการผลิตที่เป็นรูปธรรมคือการขอรับการรับรองมาตรฐานยังไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง เป็นผลทำให้ระบบการส่งเสริมดังกล่าวไม่เป็นที่น่าเชื่อถือแก่ผู้บริโภค โดยบางกรณีอาจมีการปลอมปนสินค้าที่ไม่ใช่อินทรีย์และไม่สามารถสืบย้อนกลับได้ โครงการพัฒนายกระดับการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตรของกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ โดยมีความเชื่อมโยงกับโครงการใหญ่เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการตลอดห่วงโซ่อาหาร และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแก่กลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตสินค้าอินทรีย์ป้อนเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคของจังหวัดชุมพร ดังนั้นหากมีการศึกษาถึงอันตราย หาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า รวมทั้งมีการควบคุมและเฝ้าระวัง เพื่อให้แน่ใจว่ามาตรการป้องกันที่กำหนดขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภค มั่นใจได้ว่าอาหารนั้นมีความปลอดภัยทั้งสภาวะแวดล้อมการผลิตที่ดีและคุณภาพความปลอดภัยสูง ปัญหาด้านความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารของจังหวัดชุมพรเป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนชาวชุมพรเองและนักท่องเที่ยว ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐและเอกชนระดับจังหวัดได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาแต่พบว่าขาดการดำเนินงานเชิงบูรณาการ ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาทำได้เพียงบางส่วนไม่ครบตลอดห่วงโซ่อาหารของจังหวัด ประกอบกับขาดงบประมาณดำเนินการอย่างต่อเนื่องจึงทำให้ปัญหาความปลอดภัยของอาหารกลับเข้าสู่สภาวะเดิม คือ การใช้สารเคมีแบบไม่สามารถควบคุมได้ หรือการละเลยการปฏิบัติแบบอินทรีย์โดยหันกลับมาใช้สารเคมีแบบขาดความรู้ความเข้าใจ เป็นผลให้สินค้าเกษตรและอาหารที่จำหน่ายในจังหวัดมีสารเคมีและสารต้องห้ามตกค้างในปริมาณสูง เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการแก้ไขเกี่ยวกับการเพิ่มศักยภาพสินค้าอาหารและเกษตรให้เข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนพร้อมกับเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตอาหารปลอดภัย/อินทรีย์ ในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จึงต้นสร้างต้นแบบแปลง/ฟาร์มอินทรีย์ เพื่อที่จะเป็นแหล่งบริการวิชาการและองค์ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่แก่เกษตรกรในท้องถิ่นตลอดจนผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรที่จำหน่ายแก่ผู้บริโภคที่เป็นวัตถุดิบให้แก่ภาคอุตสาหกรรมอาหาร หรือจำหน่ายในรูปแบบอื่นๆ และรวมถึงผู้ประกอบการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อต่ออายุแปลงผลิตพืชระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล IFOAM
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การรับรองพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM
KPI 1 : จำนวนแปลงที่ได้รับการรับรอง IFOAM
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การรับรองพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM
ชื่อกิจกรรม :
การตรวจและรับรองแปลงตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 13/12/2567 - 31/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา  จินดาซิงห์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าตรวจรับรองแปลง/ฟาร์ม ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM เป็นเงิน 35,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
35,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 35,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 35000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชา ทพ 308 ระบบมาตรฐานการผลิตพืช หัวข้อเรื่องระบบมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์แบบสากล กระบวนการเตรียมเอกสารในการขอรับการรับรองมาตรฐาน ขั้นตอนกระบวนการขอยื่นรับรองมาตรฐาน และการตรวจแปลง
ช่วงเวลา : 01/11/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
5.2 กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล