22578 : โครงการอนุรักษ์และพัฒนาโทะอย่างยั่งยืน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/11/2567 14:39:13
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
30/11/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการ อพ.สธ. 2568 170,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ว่าที่ ร.ต. ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์
อาจารย์ พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์
อาจารย์ ดร. พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.4.1 ความสำเร็จของแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 68 MJU 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรม นศ. การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.68 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.68 : 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.68 : 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลกด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.68 : 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.68 : 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.68 : 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.68 : 2.4.1 ความสำเร็จของแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมไผ่อย่างบูรณาการ สอดคล้องกับการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวทางพระราชดำรัส อ้างอิงจากเว็บไซต์ มูลนิธิชัยพัฒนา มีดังต่อไปนี้ ...การปลูกป่า 3 อย่าง แต่ให้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งได้ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืนนั้น สามารถให้ประโยชน์ได้ถึง 4 อย่าง คือ นอกจากประโยชน์ในตัวเองตามชื่อแล้ว ยังสามารถให้ประโยชน์อันที่ 4 ซึ่งเป็นข้อสำคัญ คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย... ...การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ โดยรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ 4 ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ... พระราโชวาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2543 ในการประชุม สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใจความตอนหนึ่ง ว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้เริ่มต้นขึ้นราวปีพุทธศักราช 2535 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถาบันต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ในการศึกษาพืชพรรณต่าง ๆ และบุคคลที่สนใจได้มีโอกาสปฏิบัติงานที่ศึกษาพืชพรรณต่าง ๆ ที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย ได้ศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้รวบรวมเป็นหลักฐานไว้ และเพื่อให้เป็นสื่อในระหว่างสถาบันต่าง ๆ บุคคลต่าง ๆ ที่ทำการศึกษาให้สามารถ ร่วมใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้การศึกษาไม่ซ้ำซ้อน สามารถที่จะดำเนินการไปก้าวหน้าเป็นประโยชน์ในทางวิชาการได้” ภายในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 บ้านแหลมสันติ ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร พบว่ามีต้นพรวดกินลูก หรือที่ชาวชุมพรเรียกว่า ต้นโทะ ขึ้นอยู่อย่างกระจายทั่วพื้นที่ และสืบเนื่องจากได้รับหน้าที่ดูแลพื้นที่ป่าโครงการฯ จึงทราบว่าชาวบ้าน และชาวประมง ใช้ประโยชน์จากต้นโทะในการทำลอบดักจับสัตว์น้ำ นำไปทำด้ามพร้า ด้ามมีด สร้างคอกสัตว์ ทำฟืน ฯลฯ ตลอดจนเก็บผลไปรับประทานเป็นผลไม้ จึงจัดทำโครงการ การขยายพันธุ์และการพัฒนาโทะอย่างบูรณาการ จากโครงการ อพ.สธ. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2563 สร้างแปลงปลูกโทะเพื่อการอนุรักษ์ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง ปัจจุบันมีต้นพันธุ์เพียงพอให้ทำการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาได้มีการบูรณาการร่วมกับโครงการอนุรักษ์ผึ้งชันโรงสามารถ ให้ผึ้งชันโรงช่วยผสมเกสรโทะ และผึ้งชันโรงยังเก็บเอาเกสรและน้ำต้อยจากดอกโทะไปใช้ประโยชน์ นับว่าเป็นการสร้างความสมดลของระบบนิเวศอีกทางหนึ่ง นอกจากนั้นยังมีแมลงชนิดอื่นๆที่ใช้ประโยชน์จากดอกโทะอีกด้วย โทะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk. จัดอยู่ในวงศ์ MYRTACEAE ชื่อพื้นเมือง เช่น กามูติง กามูติงกายู มูติง (มลายู) พรวดผี (ระยอง) กาทุ (ชุมพร) ทุ โทะ (ภาคใต้) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้น เป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ 1-4 เมตร ทรงพุ่มมีลักษณะกลม เปลือกต้นลอกเป็นแผ่นบาง ๆ ตามกิ่งอ่อน ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรีถึงรูปขอบขนาน ปลายใบมน ทู่ แหลม หรือเป็นติ่งแหลมอ่อน ๆ โคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่มกว้าง ขอบใบเรียบม้วนลงเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ส่วนด้านล่างมีขนสีขาวเป็นปุย มีเส้นใบ 3 เส้น จากโคนจรดปลายใบ เส้นแขนงใบมีข้างละ 1 เส้น ออกจากโคน เรียงโค้งจรดกันเป็นเส้นขอบใบ ก้านใบยาวได้ประมาณ 0.5 เซนติเมตร ดอก ดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อกระจุกซ้อน ออกตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง ก้าน ช่อยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นสีม่วงแกมชมพู หรือสีชมพูอมขาว ดอกแก่เป็นสีขาว มี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กลับเกือบกลม ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 3-4 เซนติเมตร ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ สำหรับกลีบเลี้ยงที่โคนกลีบจะเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ปลายกลีบมน ติดทน กลีบยาวประมาณ 0.6 เซนติเมตร สองกลีบในยาวกว่ากลีบด้านนอกเล็กน้อย ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูเป็นสีแดง ขนาดยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร อับเรณูปลายมีต่อมขนาดเล็ก ก้านเกสรเพศเมียยาวได้ประมาณ 1-1.5 เซ็นติเมตร ผล ผลรูปกลมแกมรีหรือเกือบกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีขนสั้น ๆ หนานุ่มสีเทาขึ้นปกคลุม กลีบเลี้ยงติดทน ผลสดสีเขียว เมื่อแก่ผลจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำถึงดำ เนื้อผลสุกเป็นสีม่วง นุ่ม มีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ดมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไตสีน้ำตาล มีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีปุ่มกระจาย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ที่เหมาะสม
เลี้ยงผึ้งชันโรงเพื่อช่วยผสมเกสรในแปลงอนุรักษ์โทะ
เพื่อผลิตชาจากดอกโทะ
เพื่อผลิตสื่อสารคดีให้ความรู้เกี่ยวกับโทะ
เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการขยายพันธุ์โทะ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : สร้างแปลงปลูกอนุรักษ์โทะ
KPI 1 : วิธีการขยายพันธุ์โทะ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 วิธี 1
KPI 2 : เลี้ยงผึ้งชันโรงช่วยผสมเกสร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 รัง 5
ผลผลิต : พัฒนาผลิตภัณฑ์จากโทะ
KPI 1 : ผลิตภัณฑ์จากดอกโทะ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
ผลผลิต : ถ่ายทอดความรู้ด้านการขยายพันธุ์โทะ
KPI 1 : ผู้เข้ารับบริการและศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 2 : สื่อสารคดีให้ความรู้เกี่ยวกับโทะ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 3 : ความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ปี 1
KPI 5 : ถ่ายทอดความรู้ด้านการขยายพันธุ์โทะ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : สร้างแปลงปลูกอนุรักษ์โทะ
ชื่อกิจกรรม :
สร้างแปลงปลูกอนุรักษ์โทะ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาสร้างแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมโทะพร้อมติดตั้งระบบน้ำ จำนวน 2 ไร่ ๆ ละ 40,000 บาท เป็นเงิน 80,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 80,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 80,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาคนงานเกษตร จำนวน 1 คน ๆ ละ 77 วัน ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 23,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 23,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 23,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าพ่อแม่พันธุ์ผึ้งชันโรง จำนวน 5 รังๆละ 2,000 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก วัสดุปลูกพิสมอส สายยางรดน้ำ จอบ ผ้าปูกันหญ้า กระถางต้นไม้ กรรไกรตัดแต่ง ช้อนปลูก ถาดเพาะกล้า ถุงเพาะกล้า มีดพร้า ฯลฯ เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 133100.00
ผลผลิต : พัฒนาผลิตภัณฑ์จากโทะ
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนาผลิตภัณฑ์จากโทะ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/02/2568 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาผลิตชาจากดอกโทะ จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
ผลผลิต : ถ่ายทอดความรู้ด้านการขยายพันธุ์โทะ
ชื่อกิจกรรม :
ถ่ายทอดความรู้ด้านการขยายพันธุ์โทะ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาผลิตสารคดีให้ความรู้เกี่ยวกับโทะ จำนวน 1 เรื่อง ๆ ละ 17,000 บาท เป็นเงิน 17,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 17,000.00 บาท 0.00 บาท 17,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาผลิตโรลอัพให้ความรู้เกี่ยวกับโทะ จำนวน 2 อัน ๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 900.00 บาท 900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 600.00 บาท 600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 26900.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การขยายพันธุ์ต้นโทะ
ช่วงเวลา : 01/12/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการปลูกอนุรักษ์ต้นไทะซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นคู่ควรต่อการอนุรักษ์
ช่วงเวลา : 01/12/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล