22577 : โครงการ "ประสิทธิภาพของกระบวนการสกัดสารจากสมุนไพรเสม็ดที่มีผลต่อฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
อาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 21/11/2567 15:43:18
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
19/11/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เกษตรกร ชาวประมง เยาวชน และบุคคลทั่วไป จำนวน 25 คน นักเรียน นักศึกษา จำนวน 25 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ 2568 153,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วชิระ  ชุ่มมงคล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.68 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.68 : 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.68 : 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สมุนไพรในท้องถิ่นที่พบได้ในพื้นที่โครงการป่าอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำรึฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เช่น เสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi) ชื่อสามัญ Cajuput tree และเสม็ดแดง (Syzygium gratum) พืชทั้ง 2 ชนิด อยู่ในวงศ์ Myrtaceace ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ เช่น น้ำมันเขียวหรือ cajuput oil ที่ได้จากการนำใบสดของต้นเสม็ดขาวมากลั่นด้วยน้ำ นำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์น้ำมันสมุนไพรเสม็ดขาว เลขที่อนุสิทธิบัตร 185564 เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยจากใบของต้นเสม็ดขาว มีกลิ่นหอมที่เฉพาะ มีสรรพคุณ เช่น ยาทารักษาโรคทางผิวหนัง รักษาสิว แก้ไอ แก้หวัด ออกฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียได้ เมื่อใช้กับผิวไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ในปี พ.ศ.2559 พบว่าสารสำคัญในใบเสม็ดขาว ที่สกัดด้วยวิธีการดั้งเดิม มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Streptococcus mutans และเชื้อ Candida albicans โดยวิธี MIC จึงนำมาสู่การพัฒนาเป็นน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบเสม็ดขาว และจากการศึกษาทดสอบคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ของสารสกัดเอทานอลของใบเสม็ดขาวและใบเสม็ดแดง พบว่าสารสกัดจากใบเสม็ดทั้ง 2 ชนิดมีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชัน นอกจากนี้สารสกัดจากใบ ดอก ผลของทั้งเสม็ดขาวและเสม็ดแดง พบสารสำคัญในกลุ่ม แทนนิน ฟลาโวนอยด์ อัลคาลอยด์ ซาโปนีน เทอร์พีนอยด์ แอนทราควิโนน (สุนันทา,2560) และมีผลต่อการยับยั้งเชื้อก่อโรคในกุ้งและปลา (สุนันทา, 2562) สารสกัดหยาบจากเห็ดเสม็ด (สารสกัดเมทานอล, สารสกัดไดคลอโรมีเทน และสารสกัดเฮกเซน) มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ เช่น Streptococcus aureus, Candida albicans, Cryptococcus neoformans เป็นต้น (นิภาราตี, 2561) ปัจจุบันสารสำคัญจากสมุนไพร ที่อยู่ในรูปของสารสกัดได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในการเติมลงไปเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เครื่องสำอาง เครื่องดื่ม และยารักษาโรค เป็นต้น วิธีการที่จะใช้ในการบ่งชี้ว่าสารสกัดนั้นมีคุณสมบัติ สรรพคุณ หรือประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกสมุนไพร ช่วงการเก็บเกี่ยวสมุนไพร การเตรียม วิธีการสกัด ตัวทำละลายที่เลือกใช้ อุณหภูมิที่เหมาะสม และการเก็บรักษาสารสกัด เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการคัดเลือกวิธีหรือเทคนิคการสกัดที่มีความเหมาะสมที่ให้สารสำคัญมีประสิทธิภาพที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ จากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเสม็ดขาว พบว่างการศึกษาส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธีการสกัดสารด้วยวิธีการหมัก (Maceration) และเปรียบเทียบผลของตัวทำละลายต่อองค์ประกอบทางพฤกษเคมีเท่านั้น ซึ่งยังไม่มีงานเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการสกัด ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงสนใจเปรียบเทียบวิธีการสกัดสารสำคัญจากเสม็ด ซึ่งเป็นพืชในป่าอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยใช้ตัวทำละลายที่มีขั้วแตกต่างกันอย่างน้อย 3 ชนิด และประเมินฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากเสม็ด เพื่อเป็นแนวทางการขึ้นสูตรผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เป็นการเพิ่มมูลค่า และคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการสกัดสารจากเสม็ดด้วยวิธี Reflux, Soxhlet และ Maceration
ศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากเสม็ด เพื่อคัดเลือกเป็นแนวทางการขึ้นสูตรผลิตภัณฑ์ต้นแบบจำนวน 1 ผลิตภัณฑ์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ทราบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากเสม็ดด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 4 : ได้สูตรผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีส่วนผสมสารสกัดจากเสม็ดขาว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 สูตร 1
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายตลอดทั้งโครงการ
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.153 ล้านบาท 0.153
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ทราบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากเสม็ดด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ
ชื่อกิจกรรม :
การสกัดและทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัด

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 19/11/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาบริการ วิเคราะห์ตัวอย่างและทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ จำนวน 1 งาน ๆ ละ 20,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาบริการ เตรียมตัวอย่าง พืชสมุนไพร บดพืช ทำแห้ง จำนวน 1 งาน ๆ ละ 14,000 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาบริการ ขึ้นตัวอย่างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 1 สูตร จำนวน 1 งาน ๆ ละ 16,000 บาท เป็นเงิน 16,000 บาท
- ค่าเดินทางไปปฏิบัติงาน (ค่าที่พัก ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ) เป็นเงิน 6,500 บาท
- ค่าจ้างเหมาบริการ จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการ เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 14,000.00 บาท 38,000.00 บาท 6,500.00 บาท 58,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ เป็นเงิน 15,000 บาท
- ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน เป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,400.00 บาท 16,600.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษA4 ซองน้ำตาล A4 ขยายข้าง ซองน้ำตาล A4 ไม่ขยายข้าง ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
- วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ สีดำ สีเหลือง สีน้ำเงิน สีแดง ฯลฯ เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น กระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า น้ำยาทำความสะอาด ฟองน้ำล้างจาน ขวด ฯลฯ เป็นเงิน 8,400 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น กรวยใส่สาร ตัวทำละลายอินทรีย์ โหล ขวดแก้ว หน้ากากสารเคมีพร้อมตัวกรอง ฯลฯ เป็นเงิน 36,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
8,400.00 บาท 45,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 53,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 135900.00
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมและบูรณาการการเรียนการสอน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 27 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,780 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 27 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4,320 บาท
- ค่าจ้างเหมาบริการทำป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 งาน ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,700.00 บาท 8,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท 8,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 17100.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ส่งตัวอย่างทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ และศึกษาข้อมูลและหาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดที่ได้ ใช้ระยะเวลานาน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประสานงานหน่วยงานทดสอบเรื่องช่วงระยะเวลาล่วงหน้าก่อนส่งสารตัวอย่างวิเคราะห์ และปรึกษาผู้ประกอบการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
บูรณาการกับบทปฏิบัติการรายวิชาเคมีทั่วไป (คม 100, 11300200) และบทปฏิบัติการรายวิชาเคมีอินทรีย์ 1 บทปฏิบัติการ หรือเพิ่มเติมสอดแทรกในการเรียนการสอนในเนื้อหาที่มีความเชื่อมโยง เรื่องการสกัดสารสำคัญ องค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัด ปีการศึกษา 2/2567 และ1/2568
ช่วงเวลา : 18/11/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล