22576 : โครงการการรวบรวมและจำแนกเชื้อราไมคอร์ซากล้วยไม้ เพื่อการใช้ประโยชในการเพาะปลูกกล้วยไม้ เอื้องคำ เอื้องแซะ เอื้องแววมยุราและฟ้ามุ่ย
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/11/2567 14:01:03
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  0  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2568 คณะผลิตกรรมการเกษตร แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต ผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โครงการการรวบรวบและจำแนกเชื้อราไมคอร์ซากล้วยไม้ เพื่อการใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกกล้วยไม้ เอื้องคำ เอื้องแซะ เอื้องแววมยุราและฟ้ามุ่ย 2568 170,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ผานิตย์  นาขยัน
อาจารย์ ดร. จุฑามาศ  อาจนาเสียว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัชชานนท์  สมบูรณ์ชัย
อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. ปรมินทร์  นาระทะ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.2 สร้างผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีการบูรณาการศาสตร์ โดยใช้เกษตรเป็นรากฐาน และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.2.4 ร้อยละของผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์การเผยแพร่ผลงานวิชาการของ กพอ.
กลยุทธ์ 68 MJU 2.2.4.2 พัฒนาและยกระดับวารสารวิจัยของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68 AP 2.2 สร้างผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีการบูรณาการศาสตร์ โดยใช้เกษตรเป็นรากฐาน และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 68 AP 2.2.4 ร้อยละของผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์การเผยแพร่ผลงานวิชาการของ กพอ.
กลยุทธ์ 68 AP 2.2.4.1 ส่งเสิรมและสนับสนุนการนำเสนอผลงานและเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ไปตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

กล้วยไม้สกุล Dendrobium เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุดสกุลหนึ่งของกล้วยไม้ มีสรรพคุณทางเภสัชที่หลากหลาย ครอบคลุมการเป็นองค์ประกอบตัวยาที่สำคัญ กล่าวคือ ตัวยาที่ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดเลี้ยงเซลล์มะเร็ง (Angiogenesis Inhibitor/ Antiangiogenesis drug) ตัวยาที่มีสารปรับภูมิคุ้มกันร่างกาย (Imunomodulating)/ยาปรับภูมิคุ้มกัน (Immunomodulatory drug) คือเป็นกลุ่มของยาที่ช่วยในการปรับระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมกับผู้ป่วยหรือกับสภาวะที่มีความเหมาะสมในทางการแพทย์ ยาต้านเบาหวาน (antidiabetic) ยาป้องกันการตายของเซลล์ประสาท (neuroprotective) องค์ประกอบยาป้องกันตับจากสารพิษ (Hepatoprotective) มีสารที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวมแดง (anti-inflammatory) มีตัวยาที่ลดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (antiplatelet aggregation) ยาต้านจุลินทรีย์(antibiotic) ยาต้านการอักเสบ (antiherpetic) ยาต้านมาลาเรีย (antimalarial) สารกระตุ้นการให้เซลล์ฉ่ำน้ำ (aquaporin-5 stimulating) และ สารที่กระตุ้นให้เกิดการจับตัวของเลือด (hemagglutininating activities) ซึ่งคือยาใช้รักษาโรคมะเร็งด้วยการต้านการสร้างหลอดเลือดใหม่ที่เซลล์มะเร็งใช้เพื่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง () นอกจากนี้ยังมีสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพของลำไส้ใหญ่ (colonic health) และบรรเทาอาการของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (alleviate symptoms of hyperthyroidism.) (Jaime et al., 2017) ในขณะที่กล้วยไม้สกุลแวนด้า (Vanda sp.) นั้นเป็นกล้วยไม้ที่กระจายอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้คนในอินเดีย เนปาล จีนและบังคลาเทศก็ใช้กล้วยไม้สกุลนี้เป็นตัวยาสมุนไพร และโดยปกตินิยมใช้ประโยชน์เป็นไม้ดอกประดับ เนื่องมาจากลักษณะของดอกที่มีสีสันสวยงาม (สลิล และ นฤมล, 2545 อ้างใน ณัชชา และคณะ, 2553) ในส่วนประกอบของการเป็นตัวยาสมุนไพร กล้วยไม้สกุลแวนด้ามีศักยภาพในทางการออกฤทธิ์ทางเภสัชที่หลากหลาย เช่น ช่วยในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatic pain) การติดเชื้อในหู (ear infection) โรคและความผิดปกติใด ๆ ที่เกิดกับระบบประสาท ที่สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท(nervous system disorders) (Khan et al., 2019) ด้วยประโยชน์อันมีมากมายของกล้วยไม้ชนิดนี้ ทำให้แวนด้ามีจำนวนในธรรมชาติลดลง และจัดอยู่ในชนิดกล้วยไม้ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (threatened species) (Khan et al., 2019) การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากเมล็ดกล้วยไม้ทั้ง Dendrobium และ Vanda สามารถทำได้ในระดับหนึ่ง หากโดยธรรมชาติเมล็ดกล้วยไม้จะสามารถงอกได้ดีและแข็งแรงจะต้องมีเชื้อราไมคอร์ไรซากล้วยไม้ (orchid mycorrhiza) เจริญร่วมด้วยในการเจริญเติบโตทุกระยะของกล้วยไม้ตั้งแต่ระยะเมล็ด protocorm จนถึงออกดอก (Swarts & Dixon, 2009; Chutima et al., 2011; Suarez & Kottke, 2016 อ้างในเรืองวุฒิ และคณะ, 2018) นอกจากนี้เชื้อราไมคอร์ไรซากล้วยไม้บางชนิดยังมีประโยชน์สามารถต้านเชื้อก่อโรคพืช ทำลายแมลงศัตรูพืช และผลิตฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชในกลุ่ม Indele-3-acetic acid (IAA) (Chutima & Lumyong, 2012; Kodsueb & Lumyoung, 2017 อ้างในเรืองวุฒิ และคณะ, 2018) ดังนั้นในงานวิจัยพัฒนาด้านการเพาะเมล็ดกล้วยไม้แบบซิมไบโอซิส (symbiotic seed germination) ได้นำเชื้อราไมคอร์ไรซามาเลี้ยงร่วมด้วย และพบว่าไมคอร์ไรซาส์ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอก ลดระยะเวลาในการเพาะเมล็ดและลดอัตราการตายในระยะออกขวด (นันทนา และคณะ, 2543) ในขณะที่ในประเทศไทยยังมีผู้ศึกษาเกี่ยวกับไมคอร์ไรซากล้วยไม้อยู่น้อย ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งเพื่อ 1) สนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2) รวมรวม แยกและจำแนกชนิดเชื้อราไมคอร์ไรซา ของกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) กล้วยไม้ เอื้องคำ เอื้องแซะ เอื้องแววมยุราและสกุลแวนด้า (Vanda) อันได้แก่กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย เพื่อทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของเชื้อราไมคอร์ไรซากล้วยไม้เหล่านี้ และใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นอันจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต ซึ่งหากสามารถพัฒนาเทคนิคการเพาะเมล็ดกล้วยไม้และส่งเสริมการเจริญเติบโตได้ด้วยเชื้อราไมคอร์ไรซาที่มีประโยชน์ จะส่งผลให้สามารถเพาะต้นกล้วยไม้สมุนไพรเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปผลิตยารักษาโรคต่างๆ ดังกล่าวไว้ข้างต้นได้ โดยไม่ต้องอาศัยการนำออกจากป่าธรรมชาติ ซึ่งเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและอาจส่งผลเสียหายต่อระบนิเวศน์ได้โดยไม่รู้ตัว

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2. เพื่อเก็บรวบรวมและแยกและจำแนกชนิดเชื้อราไมคอร์ไรซาของกล้วยไม้สกุลหวาย(Dendrobium) กล้วยไม้เอื้องคำ เอื้องแซะ เอื้องแววมยุราและแวนด้า(Vanda) ฟ้ามุ่ย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เชื้อราเอ็นโดไมคอร์ไรซา เชื้อจุลินทรีย์ในรูปของเหลวแช่แข็ง จำนวน 50 หลอดทดลอง
KPI 1 : จำนวนชนิดจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 สายพันธุ์ 4
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของโครงการ/กิจกรรมตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 104500 30000 35500 บาท 170000
KPI 3 : 2. องค์ความรู้เรื่อง เชื้อราไมคอร์ซากล้วยไม้ เพื่อการใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกกล้วยไม้ เอื้องคำ เอื้องแซะ เอื้องแววมยุราและฟ้ามุ่ย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เชื้อราเอ็นโดไมคอร์ไรซา เชื้อจุลินทรีย์ในรูปของเหลวแช่แข็ง จำนวน 50 หลอดทดลอง
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 1 การสำรวจและเพาะเลี้ยงเชื้อราไมคอร์ไรซาจากกล้วยไม้สมุนไพรเอื้องคำ เอื้องแซะ ฟ้ามุ่ยและเอื้องแววมยุรา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 28/02/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์  นาขยัน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาผู้ช่วยปฎิบัติงานในห้องทดลอง(จำนวน 1 คน * 3 เดือน*10,000.00)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาสำรวจข้อมูลและตัวอย่างกล้วยไม้ เอื้องคำ เอื้องแซะ ฟ้ามุ่ย และแววมยุรา
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 14,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าวัสดุสำนักงาน (กระดาษ ปากกา เป็นต้น)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ (ได้แก่ หมึกปริ้นเตอร์ เป็นต้น)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ (อาหารเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ เอททิลแอลกอฮอล์ กลีเซอรอล เป็นต้น)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 40,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุเกษตร (ได้แก่ พีทมอส เพอร์ไลท์ กระถาง เป็นต้น)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว (ได้แก่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้าขาวเป็นต้น)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 104500.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 2 การจำแนกชนิดเชื้อราไมคอร์ไรซา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์  นาขยัน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาผู้ช่วยปฎิบัติงานในห้องทดลอง(จำนวน 1 คน * 3 เดือน*10,000.00)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 30000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 3 วิเคราะห์เปรียบเทียบทาสถิติ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยของข้อมูล เขียนรายงาน จัดทำเล่มและส่งรายงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์  นาขยัน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าถ่ายเอกสาร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท 500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาสกัดและวิเคราะห์ DNA
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาเตรียมบริการเตรียมวัสดุทางการเกษตรและอุปกรณ์เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ เพาะเลี้ยง ดูแล และบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต (จำนวน 1 คน * 1 เดือน * 10,000.00 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 35500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1. ไม่มีข้อมูลปัญหาและอุปสรรค
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. ไม่มีแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล