22575 : โครงการการสำรวจและการพัฒนาฐานข้อมูลกล้วยไม้ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.เบ็ญจา บำรุงเมือง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 27/12/2567 13:52:12
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักศึกษาระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา จำนวน 80 คน นักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลภายนอกที่สนใจกล้วยไม้ 20 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2568 คณะผลิตกรรมการเกษตร แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต ผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โครงการการสำรวจ และการพัฒนาฐานข้อมูลกล้วยไม้ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 2568 170,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
น.ส. เบ็ญจา  บำรุงเมือง
น.ส. นวลทิพย์  ชัยลิ้นฟ้า
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุธีระ  เหิมฮึก
อาจารย์ วินัย  แสงแก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68 MJU 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.3 ผลการจัดอันดับ QS ด้านเกษตรและป่าไม้
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.3.1 ผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยด้านการเกษตรและป่าไม้เพื่อให้ได้รับการจัดอันดับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68 AP 2.2 สร้างผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีการบูรณาการศาสตร์ โดยใช้เกษตรเป็นรากฐาน และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 68 AP 2.2.3 จำนวนผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์
กลยุทธ์ 68 AP 2.2.3.2 พัฒนาระบบ ขั้นตอน และกลไกในการกำกับติดตามและผลักดันการจัดทำฐานข้อมูลการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

คณะผลิตกรรมการเกษตรเป็นศูนย์กลางที่รวบรวมองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการเกษตรและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้สู่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฐานข้อมูลกล้วยไม้ของประเทศไทยที่มีคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาทำการศึกษาวิจัยมาต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 30 ปี โดยอดีตได้มีการแยกส่วนงานต่าง ๆ ในการวิจัยในแต่ละความเชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็นงานด้านการรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้จากพื้นที่ต่าง ๆ งานด้านการขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่าง ๆ งานด้านการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ และงานด้านการหารายได้จากการขายกล้วยไม้ ทั้งนี้การจัดตั้งเมืองกล้วยไม้ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการรวมส่วนงานต่าง ๆ มาร่วมกันพัฒนาภายใต้เมืองกล้วยไม้นั้นย่อมเป็นผลดีในการร่วมมือพัฒนาต่อยอดงานวิจัยพื้นฐานภายใต้การอนุรักษ์ และใช้ทรัพยากรกล้วยไม้อย่างถูกต้องและยั่งยืน ตลอดจนเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เมืองกล้วยไม้แม่โจ้ (Maejo Orchid City) ได้มีแผนการดำเนินงานการจัดตั้งทั้งหมด 5 แผนงาน กล่าวคือ แผนงานได้การอนุรักษ์ ที่เกี่ยวกับงานด้านการรวบรวม การเพาะขยายพันธุ์จนถึงการพัฒนานาศูนย์การเรียนรู้กล้วยไม้พันธุ์ไทยแท้ แผนงานการใช้ประโยชน์ ที่ครอบคลุมการใช้ประโยชน์กล้วยไม้ทางด้านอาหาร สมุนไพร เวชสำอาง การจัดสวนประดับ การจัดเสวนาด้านต่าง ๆ ตลอดจนการพัฒนารายวิชาเพื่อการเรียนการสอน แผนงานด้านการบริหารจัดการ เช่น การตั้งคณะทำงาน การจัดทำงบประมาณสนับสนุน และการจัดการรายได้ แผนงานด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ เป็นแผนงานที่รวบรวมงานต่าง ๆ ภายใต้เมืองกล้วยไม้มาออกแบบและประชาสัมพันธ์ และการปล่อยกล้วยไม้สู่พื้นที่ต่าง ๆ และแผนงานการบริหารจัดการจัดหารายได้ โดยการร่วมมือประสานงานกับชุมชนหรือเกษตรกร เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีรายได้เสริม ดังที่กล่าวมาข้างต้น เมืองกล้วยไม้แม่โจ้ ถือว่าเป็นโครงการที่ครอบคลุมงานด้านกล้วยไม้ของมหาวิทยาลัยอย่างครบวงจรภายใต้โครงการเดียวกัน และเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ภายใต้องค์ความรู้ด้านกล้วยไม้ไทยในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อสำรวจชนิด และพันธุ์ของกล้วยไม้ทั้งที่พบตามธรรมชาติ และมีการปลูกเลี้ยงกึ่งธรรมชาติในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลกล้วยไม้ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ชนิดพันธุ์กล้วยไม้ และฐานข้อมูลกล้วยไม้ที่สำรวจในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
KPI 1 : ค่าใช้จ่ายตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1.7 ล้านบาท 1.7
KPI 2 : จำนวนชนิดกล้วยไม้ที่สำรวจในมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
28 ชนิด 28
KPI 3 : จำนวนฐานข้อมูลกล้วยไม้ออนไลน์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ฐาน 1
KPI 4 : แหล่งศึกษาเรียนรู้ และอนุรักษ์กล้วยไม้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แห่ง 1
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : บูรณาการเรียนการสอน วิจัย และบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 รายวิชา 3
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ชนิดพันธุ์กล้วยไม้ และฐานข้อมูลกล้วยไม้ที่สำรวจในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อกิจกรรม :
ศึกษาข้อมูลและสำรวจพื้นที่เบื้องต้น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.เบ็ญจา  บำรุงเมือง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.นวลทิพย์  ชัยลิ้นฟ้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ  เหิมฮึก (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาสำรวจพื้นที่ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 1 งาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15000.00
ชื่อกิจกรรม :
การสำรวจ จำแนกชนิดกล้วยไม้ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 03/03/2568 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.เบ็ญจา  บำรุงเมือง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ  เหิมฮึก (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.นวลทิพย์  ชัยลิ้นฟ้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาสำรวจ และจำแนกชนิดกล้วยไม้ จำนวน 1 งาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
วัสดุงานบ้านงานครัว ได้แก่ ถุงดำ ถุงพลาสติกใส เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หมึกพิมพ์ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน ได้แก่ ปากกา กระดาษ A4 แฟ้ม แผ่นรองเขียน เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุการเกษตร ได้แก่ ป้ายแท็กพลาสติก ลวด กรรไกรตัดกิ่ง เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนาระบบฐานข้อมูลกล้วยไม้ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2568 - 31/07/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.เบ็ญจา  บำรุงเมือง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.นวลทิพย์  ชัยลิ้นฟ้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ  เหิมฮึก (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำระบบฐานข้อมูลกล้วยไม้ออนไลน์ จำนวน 1 งาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หมึกพิมพ์ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน ได้แก่ ปากกา กระดาษ A4 แผ่นพลาสติกเคลือบ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 55000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ในพื้นที่ที่เข้าเก็บข้อมูลยาก ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เสริม อาจทำให้ใช้เวลาในการสำรวจนาน
กล้วยไม้ไทยส่วนใหญ่มีช่วงออกดอกเฉพาะฤดูกาล การสำรวจในช่วงเวลาที่ออกดอกจะช่วยทำให้จำแนกชนิดกล้วยไม้ได้ง่ายขึ้น
การสำรวจกล้วยไม้ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการระบุชนิด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
เนื่องจากพื้นที่ที่สำรวจเป็นมหาวิทยาลัยจะมีนักศึกษาจำนวนมากในช่วงเปิดเทอมอาจทำให้ไม่สะดวกในการเก็บข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เพื่อให้ได้ผลสำรวจที่ครอบคลุมและแม่นยำ ต้องมีการวางแผนการทำงานที่รัดกุม เลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมและการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่และนักศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้ ตลอดจนมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการบันทึกข้อมูลและจัดทำระบบฐานข้อมูลกล้วยไม้
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล