22528 : โครงการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรของสำนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/11/2567 13:22:53
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  64  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2568 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. แสนวสันต์  ยอดคำ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ จักรพงษ์  พิมพ์พิมล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68 MJU 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.5 คะแนนการจัดอันดับ Green University Ranking (Green University)
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.5.7 การขับเคลื่อนนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)ของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี ยั่งยืน รักษ์โลก ไร้โรค (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 1.1.2 EN68 คะแนนการจัดอันดับ Green University Ranking ส่วนงาน : ความสำเร็จในการสนับสนุนมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนนโยบาย Green U และ Green Office
กลยุทธ์ กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตัวชี้วัด 1.1.3 EN68 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking
กลยุทธ์ ผลักดันการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นภัยคุกคามในระดับสากลที่ส่งผลให้เศรษฐกิจและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนทุกพื้นภาคลำบากยิ่งขึ้น ซึ่งมีสาเหตุจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการบริโภคของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว ประชาคมโลกจึงได้ทำความตกลงในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก โดยตั้งเป้าหมายที่จะควบคุมอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศโลกไว้ไม่ให้สูงขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส หรือ มีปริมาณความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศไม่เกิน 450 ส่วนในล้านส่วน เมื่อเทียบกับช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 เป้าหมายดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายในการลด หรือ จำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับประเทศ ในปี ค.ศ. 2021 จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่มาตรการในการตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับองค์กร หรือ ที่รู้จักกันในนามการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ซึ่งเป็นการส่งเสริม ให้องค์กรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมโดยตรวจวัด รายงาน ทวนสอบและกำหนดแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่แหล่งกำเนิดสำคัญของตนได้ การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) เป็นวิธีการประเภทหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับหน่วยงาน โรงงานอุตสาหกรรม และในระดับประเทศ การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรสามารถประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมขององค์กร สามารถจำแนกสาเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญ และหาแนวทางเพื่อลดขนาดของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น นอกจากนี้อาจนำไปขายเป็นคาร์บอนเครดิต หรือทำการชดเชยคาร์บอนกับองค์กรของตนเองหรือองค์กรอื่นๆ นอกจากนี้ยังใช้ในการขับเคลื่อนให้เกิดการบริหารจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานดำเนินการประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ซึ่งได้มีการทำการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในหมวดที่ 2 การบริหารจัดการองค์การ ในส่วนของการจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงานในเบื้องต้น ไม่ได้ครอบคลุมตามหลักเกณฑ์และวิธีการของการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรที่กำหนดโดยองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ทำให้ข้อมูลที่ได้ยังไม่ได้สะท้อนถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจริงของหน่วยงาน ดังนั้นการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงานอย่างแท้จริง และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปดำเนินการขอการตรวจรับรองขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานที่มีการแสดงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ออกผลการรับรองโดยองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.) นอกจากนี้ยังสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงานในอนาคต และต้นแบบให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อช่วยการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ตามวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ Strategic Objective (SO) ด้านสุขภาวะดี ยั่งยืน รักษ์โลก ไร้โรค (Sustainable Well – being) และแผนยุทธศาสตร์ชาติที่วางเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใน ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน ค.ศ. 2065

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
จัดเก็บข้อมูลบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Inventories) ของสำนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรของสำนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจัดเตรียมข้อมูลและจัดทำแผนการทวนสอบตามข้อกำหนดในเรื่องการเตรียมการและการจัดการทวนสอบ ตามแนวทางการทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) กำหนด
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : รายงานข้อมูลบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Inventories) และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรของสำนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 1 เล่ม
KPI 1 : การจัดทำรายงานผลโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 50 100 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : รายงานข้อมูลบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Inventories) และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรของสำนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 1 เล่ม
ชื่อกิจกรรม :
การจัดประชุมชี้แจงโครงการให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/12/2567 - 31/12/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสนวสันต์  ยอดคำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน 64 คน รวมเป็นเงิน 3,200 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
3,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15000.00
ชื่อกิจกรรม :
2. จัดเก็บข้อมูลบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Inventories) ของสำนักงานมหาวิทยาลัย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2567 - 28/02/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสนวสันต์  ยอดคำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดเก็บข้อมูลบัญชีรายการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและจัดทำรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
ชื่อกิจกรรม :
3. ทวนสอบบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจกที่จัดทำขึ้น โดยทีมผู้เชี่ยวชาญภายนอกองค์กร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2568 - 31/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสนวสันต์  ยอดคำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าทวนสอบบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล