22522 : โครงการศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว ต่อเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นายยมนา ปานันท์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/11/2567 15:30:40
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
09/11/2567  ถึง  28/02/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  400  คน
รายละเอียด  นักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 400 ราย ที่เดินทางมาท่องเที่ยวเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป (โครงการตามแผนปฎิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2)) 2568 60,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย ยมนา  ปานันท์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ดร. วีร์  พวงเพิกศึก
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69ECON 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69ECON2-4 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับ
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-4.3 รายได้จากการให้บริการวิชาการ
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือศูนย์วิจัยฯ ให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ทั้งด้านท่องเที่ยว บริการ รวมถึงการแหล่งรวมสถาบันการศึกษาที่สำคัญ นอกจากนี้จังหวัดเชียงใหม่ยังคงเป็นเป้าหมายในการเดินทางมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ด้วยเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย มีกิจกรรมการท่องเที่ยว มีแหล่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยสำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งที่พัก โรงแรม โฮมสเตย์ และร้านอาหาร เป็นต้น จะเห็นได้ว่าภาคการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ จึงเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ ด้วยศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่โดดเด่น ส่งผลต่อนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนจังหวัดเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ถือเป็นที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย โดยที่ผ่านมานักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ตลอดทั้งในช่วงฤดูฝนไปจนถึงฤดูหนาว โดยมีเส้นทางการท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ น้ำตกผาดอกเสี้ยว บ้านแม่กลางหลวง เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ เป็นต้น จากรายงานของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ในปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565- กันยายน 2566) สามารถจัดเก็บรายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าเที่ยวชมอุทยานฯ ได้จำนวนทั้งสิ้น 100,555,100 บาท โดยมีนักท่องเที่ยวรวมกว่า 1.2 ล้านคน ซึ่งถือเป็นการจัดเก็บรายได้จำนวนสูงที่สุดของจำนวนอุทยานแห่งชาติทั้ง 14 แห่ง เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่นิยมเข้ามาเดินทางเพื่อศึกษาธรรมชาติและเยี่ยมชมป่าเมฆ วิวทิวทัศน์ความสวยงามของพืชพรรณ ต้นไม้และสัตว์ป่า โดยจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมในช่วงเดือน พฤศจิกายน - พฤษภาคม ในระยะทางกว่า 3.2 กิโลเมตร แต่อย่างก็ตาม การท่องเที่ยวในเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปานจะมีแตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เนื่องจากมีความสำคัญในการเป็นป่าเมฆ และป่าต้นน้ำที่สำคัญเป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำปิง จึงทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวเป็นลักษณะที่ลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ ให้นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และร่วมกันรักษา โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ร่วมกับมูลนิธีไทยรักษ์ป่า ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน ให้มีมาตรฐาน มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ และในปี 2564 ได้มีการฟื้นฟูและปรับปรุงเส้นทางเดินเท้า (Board Walk) เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ พร้อมกับซ่อมแซมระบบสื่อความหมาย (ป้าย สัญลักษณ์) ในเส้นทาง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยว และรักษาระบบนิเวศสร้างจิตสำนึกในการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์ ที่มีการรักษาป่าต้นน้ำอย่างยั่งยืน ต่อมาในปี 2565 อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ก็ได้มีการประกาศระเบียบการเข้าเดินเที่ยวในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ กิ่วแม่ปาน โดยมีการกำหนดช่วงเวลาและจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว รวมถึงความจำเป็นต้องมีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในการนำทางด้วย ดังนั้น เพื่อเพื่อให้เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ ไปพร้อมกับการคงความเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้อย่างสมดุลย์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หรือแม่โจ้โพลล์ จึงจัดทำข้อเสนอโครงการศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรม และความคิดเห็นต่อการท่องเที่ยววิถีอนุรักษ์ของนักท่องเที่ยว รวมถึงข้อเสนอแนะสำหรับนำไปปรับปรุงพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปานและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว ต่อเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
เพื่อได้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปานและการจัดการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน
KPI 1 : จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
400 ราย 400
KPI 2 : รายงานผลการสำรวจ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เล่ม 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน
ชื่อกิจกรรม :
การสำรวจพฤติกรรม ความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานผลการสำรวจของนักเที่ยวต่อเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 09/11/2567 - 28/02/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายยมนา  ปานันท์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.เบญจวรรณ  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บแบบสอบถามนักท่องเที่ยว (จำนวน 400 ชุดๆ ละ 60 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
24,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมัน (จำนวน 4 วันๆ ละ 2,500 บาท จำนวน 1 คัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบันทึกข้อมูลแบบสอบถาม (จำนวน 400 ชุดๆ ละ 10 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 14,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
ค่าสาธารณูปโภค 12% รวมเป็นเงิน 7200
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 60000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล