22508 : โครงการอบรมเพื่อให้ความสำคัญของการทำวัคซีนในสุนัขเลี้ยง เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคฉี่หนู (Leptospirosis)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางณัฐธนะนันท์ เอี่ยมตะกูล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 4/11/2567 15:20:57
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/12/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  1.จำนวนผู้รับบริการ 10 คน 2.จำนวนสุนัขที่เข้ารับการฉีดวัคซีน 30 ตัว
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะสัตวแพทยศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ 2568 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ นายสัตวแพทย์ ภากร  ลิ้มเล็งเลิศ
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร. ทิพย์ภาภรณ์  อุปโย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. วศิน  เจริญตัณธนกุล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสัตวแพทยศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ การพัฒนายกระดับขีดความรู้ ความสามารถด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ ให้แก่ท้องถิ่น ชุมชน สังคม สู่ความยั่งยืน
เป้าประสงค์ โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข
ตัวชี้วัด 2 จำนวนสุนัขที่เข้ารับการฉีดวัคซีน
กลยุทธ์ การพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ อนามัย/สุขภาวะชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โรคหนึ่งที่สามารถพบได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยมีสาเหตุจากเชื้อ Leptospira ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีหลากหลายชนิดย่อย (serovars) โดยเชื้อจะสามารถไชเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง เยื่อเมือก หรือ บาดแผล และเมื่อเข้าไปในร่างกาย สามารถกระจายไปในเนื้อเยื่อได้ทุกอวัยวะ เช่นตับ ม้าม ปอด แต่จะมีการสะสมของปริมาณเชื้อจำนวนมากที่สุดที่ไต ทำให้สามารถพบวิการของโรค เช่น การเกิดหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis) ตามอวัยวะต่างๆ และเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณไต (acute interstitial nephritis) ทำให้เกิดภาสะไตวาย รวมถึงการอักเสบของเนื้อเยื่อตับ ทำให้เกิดภาวะดีซ่าน (jaundice) และเนื่องจากโรคมีระยะฟักตัวอยู่ในช่วง 5-14 วัน รวมถึงผู้ป่วยบางส่วนจะไม่มีอาการทางคลินิก (subclinical infection) ทำให้กว่าจะตรวจพบว่าติดเชื้อ อาจมีการเสียหายของอวัยวะไปในระดับที่สามารถก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว ดังนั้นการป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จากการศึกษาของ Kerstin Altheimer และคณะ (2020) พบว่า สุนัขในประเทศไทยที่ไม่ได้รับวัคซีนจำนวน 273 ตัว สามารถตรวจพบการติดเชื้อ Leptospirosis 12 ตัวจากการตรวจด้วย PCR และสามารถตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ Leptospira จากสุนัขจำนวน 111 ตัวจาก 252 ตัว ทำให้เห็นได้ว่า การแพร่กระจายของเชื้อมีอยู่มาก โดยที่เจ้าของสุนัขไม่ทราบเลยว่าสุนัขมีการติดเชื้อ และจากข้อมูลนี้อาจทำให้สุนัขอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถเป็นแหล่งกักเก็บเชื้อ (reservoir) และส่งผลให้มีการติดเชื้อมาสู่คนได้ ดังนั้นเพื่อที่จะลดโอกาสในการติดโรคจากสัตว์สู่คน เช่น Leptospirosis การทำวัคซีนโรคฉี่หนู่ในสุนัข จึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญ เป็นอย่างยิ่ง ในการควบคุมโรค โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคหรือมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแพร่ระบาด เช่น ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและมีการเลี้ยงสัตว์อย่างแพร่หลาย การแพร่เชื้อโรคฉี่หนูจากสุนัขสู่คนหรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เป็นความเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากโรคนี้สามารถติดต่อสู่คนและสัตว์ได้ผ่านทางการสัมผัสกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีน้ำขังหรือพื้นที่ชื้นแฉะ เชื้อโรคนี้สามารถสร้างปัญหาด้านสุขภาพที่รุนแรงได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้นการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ในสุนัขเป็นวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ไม่เพียงช่วยปกป้องสุนัขเองแต่ยังช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปยังมนุษย์ นอกจากนี้โครงการยังช่วยให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงเข้าถึงบริการทางสัตวแพทย์ได้ง่ายขึ้น และช่วยให้มีการตรวจสุขภาพสุนัขอย่างสม่ำเสมอ การสนับสนุนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฉี่หนูในพื้นที่อย่างต่อเนื่องถือเป็นส่วนสำคัญในการรักษาความปลอดภัยด้านสุขภาพทั้งในสัตว์และคน เนื่องด้วยพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้มีการจัดตั้งโครงการหมอหมู่บ้านขึ้น โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้ชาวบ้านช่วยเหลือชาวบ้านด้วยกันเอง ด้วยการคัดเลือกชาวบ้านในหมู่บ้านที่พอมีความรู้อ่านออกเขียนได้ และสมัครใจที่จะช่วยเหลือเพื่อนบ้าน ไปรับการอบรมหลักสูตรหมอหมู่บ้าน แล้วให้กลับมาเป็นผู้แนะนำเพื่อนบ้าน ให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านสุขภาพอนามัย ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นตามที่ได้รับการอบรมมา ประกอบกับการแพทย์สมัยปัจจุบันที่เริ่มให้ความสำคัญของการป้องกันโรคมากกว่าการรักษา (preventive medicine) จึงเป็นเหตุให้ทำการจัดตั้งโครงการเพื่อช่วยเสริมให้โครงการหมอหมู่บ้าน มีความเข้าใจในโรคฉี่หนูมากขึ้น เพื่อที่จะยกระดับสุขภาพอนามัยของชาวบ้าน โดยเน้นการดูแลสุขภาพสัตว์และการส่งเสริมการสาธารณสุขในชุมชน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคฉี่หนูในสุนัขมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากโครงการนี้มุ่งเน้นให้ชุมชนมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพมั้งคนและสัตว์เลี้ยงด้วยตนเอง การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคฉี่หนูและการป้องกันผ่าน อสม. และจากการฉีดวัคซีนจะช่วยให้ชุมชนสามารถควบคุมการระบาดของโรคในพื้นที่ได้ นอกจากนี้เทศบาลได้รับการจัดสรรวัคซีนเฉพาะวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และมุ่งเน้นการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นหลัก ดังนั้นจึงไม่ได้มีการแจกจ่ายวัคซีนรวม ซึ่งมีวัคซีนโรคฉี่หนูรวมอยู่ด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อให้ความรู้ประชาชนเรื่องโรค Leptospirosis และการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนู
2. เพื่อส่งเสริมการป้องกันการติดโรค Leptospirosis ในสุนัขเลี้ยงเป็นเพื่อน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : อบรมเพื่อให้ความสำคัญของการทำวัคซีนในสุนัขเลี้ยง เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคฉี่หนู (Leptospirosis)
KPI 1 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0025 0.039 0.0035 ล้านบาท 0.045
KPI 3 : จำนวนสุนัขที่เข้ารับการฉีดวัคซีน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 ตัว 30
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : อบรมเพื่อให้ความสำคัญของการทำวัคซีนในสุนัขเลี้ยง เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคฉี่หนู (Leptospirosis)
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 : การอบรมให้ความรู้เรื่องโรคฉี่หนู และฉีดวัคซีนให้กับสุนัขของผู้เข้าร่วม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ นายสัตวแพทย์ภากร  ลิ้มเล็งเลิศ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วศิน  เจริญตัณธนกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.ทิพย์ภาภรณ์  อุปโย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิงพิชญา  แสนอุบล (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.บัญชา  พงศ์พิศาลธรรม (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.นิตยา  ใจกันทา (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางณัฐธนะนันท์  เอี่ยมตะกูล (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.รุ่งเรือง  โพธิ์สิงห์ทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.กรประภา  ปัญญาวีร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.นงค์รัก  คนดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 15 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 2,250 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 15 คน ๆ ละ 35 บาท 1 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 525 บาท
3.ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือฝึกอบรม (15-20 หน้า/เล่ม)
จำนวน 10 เล่ม ๆ ละ 100 บาท 1 ครั้ง/รุ่น เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,775.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,775.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1.ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย
จำนวน 1.5 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 2 คน 1 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคปฏิบัติ จำนวน 1.5 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 2 คน 1 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา ดินสอ ไม้บรรทัด ยางลบ กรรไกร และกระดาษ
เป็นต้น เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เช่น เข็ม ไซริงค์ แอลกอฮอล์ วัคซีน เป็นต้น เป็นเงิน 30,425 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,425.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,425.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 41500.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 : จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ นายสัตวแพทย์ภากร  ลิ้มเล็งเลิศ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.รุ่งเรือง  โพธิ์สิงห์ทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางณัฐธนะนันท์  เอี่ยมตะกูล (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
• ค่าวัสดุ
1.วัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา ดินสอ ไม้บรรทัด ยางลบ กรรไกร และกระดาษ
เป็นต้น เป็นเงิน 2,500 บาท
2.วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น Handy drive เป็นต้น เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 3,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สุนัขอาจกัด หรือข่วน ผู้ปฏิบัติงานระหว่างทำการฉีดวัคซีน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
จัดเตรียมอุปกรณ์ควบคุมสุนัข เช่น ผ้ามัดปาก,ปลอกปาก, สายจูง เพื่อควบคุมสุนัขอย่างปลอดภัย
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล