22506 : โครงการ “เดินป่าเพื่อเสริมสร้างทักษะภาคสนามด้านการป่าไม้”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 31/10/2567 9:14:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
04/11/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  นักศึกษาสาขาการป่าไม้ สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่มีค่าใช้จ่าย 2568 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ศุภลักษณ์  ศิริ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68-2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 68-2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริม อัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การเรียนรู้ภาคสนามเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาทักษะของนักศึกษาภายใต้โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เนื่องจากวิชาชีพด้านป่าไม้ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ การสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสกับระบบนิเวศป่าไม้ รวมถึงการเผชิญสถานการณ์จริงในป่าจะช่วยเสริมสร้างทั้งความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการ “เดินป่าเพื่อเสริมสร้างทักษะภาคสนามด้านการป่าไม้” มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานในป่าอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมทั้งการใช้เครื่องมือและเทคนิคทางวิชาการที่จำเป็นเบื้องต้น เช่น การจำแนกสังคมพืชเบื้องต้น การบันทึกข้อมูลด้านพืชพรรณและสัตว์ป่า และการระบุชนิดพันธุ์ กิจกรรมภายในโครงการจะเน้นการเรียนรู้ในภาคสนามโดยตรง พร้อมทั้งรับฟังประสบการณ์จากคณาจารย์ภายใต้โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการป่าไม้ เจ้าหน้าที่อุทยาน และเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ตรงในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรป่าไม้ การแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้มีประสบการณ์จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจมิติที่หลากหลายของงานด้านการป่าไม้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลป่า การป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า และการอนุรักษ์สัตว์ป่า นอกจากนี้ โครงการยังมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษา โดยการทำกิจกรรมร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่ต้องการความร่วมมือ เช่น การตั้งแคมป์ การสำรวจเส้นทาง และการแก้ปัญหาฉุกเฉินในป่า ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร การแบ่งหน้าที่ และการตัดสินใจร่วมกัน ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการจะช่วยให้นักศึกษาสามารถปรับตัวให้พร้อมรับความท้าทายในการทำงานในอนาคต ทั้งในด้านการทำงานเชิงวิชาการและการปฏิบัติงานจริงในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายและซับซ้อน เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาในอนาคต ทั้งในด้านวิชาชีพและการดำเนินชีวิตประจำวัน นอกจากนี้นี้ยังช่วยปลูกฝังทัศนคติด้านการอนุรักษ์และความตระหนักในความสำคัญของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน นักศึกษาจะได้เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศและบทบาทของมนุษย์ในการจัดการป่าอย่างมีความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมของนักศึกษาจากทั้งสองสาขาวิชา คือ สาขาการป่าไม้และสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาในด้านต่างๆ ช่วยให้เกิดการพัฒนาความรู้และมุมมองที่กว้างขึ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโครงการ “เดินป่าเพื่อเสริมสร้างทักษะภาคสนามด้านการป่าไม้” เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนวิสัยทัศน์ของโครงการจัดตั้งวิทยาลัยการป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ที่มุ่งสร้างนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านป่าไม้ที่มีศักยภาพในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้โครงการจะช่วยปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสร้างนักป่าไม้รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพและพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อส่งเสริมความตระหนักและการพัฒนาทัศนคติเชิงอนุรักษ์ ผ่านการสัมผัสประสบการณ์ตรงในธรรมชาติและการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศและการจัดการป่าอย่างยั่งยืน
2 เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผ่านการปฏิบัติจริงและการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ร่วมกัน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ทักษะภาคสนามด้านการป่าไม้
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละความรู้ความเข้าใจในทักษะการเดินป่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 คน 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ทักษะภาคสนามด้านการป่าไม้
ชื่อกิจกรรม :
เดินป่าเพื่อเสริมสร้างทักษะภาคสนามด้านการป่าไม้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/11/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ศุภลักษณ์  ศิริ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ยุวดี  พลพิทักษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล  นอแสงศรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทราพร  ผูกคล้าย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อิสรีย์  ฮาวปินใจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประดุง  สวนพุฒ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธรรมศักดิ์  พันธุ์แสนศรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติ  วานิชดิลกรัตน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ศิริลักษณ์  สุขเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002 โครงการเดินป่า.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
นำความรู้ด้านการป่าไม้ แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีความสอดคล้องกับรายวิชานิเวศวิทยาป่าไม้ รายวิชาพฤกษศาสตร์ และรายวิชารุกขวิทยา
ช่วงเวลา : 04/11/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล