22489 : โครงการเสริมสร้างสมรรถนะผลลัพธ์การเรียนรู้รายปี ToBiz YLOs กิจกรรม Be The Next Gen of Hospitality: Culinary Workshop
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางดวงใจ ไพพงค์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 29/10/2567 16:35:34
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2567  ถึง  31/03/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  49  คน
รายละเอียด  นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ชั้นปีที่ 2 และคณาจารย์ผู้ควบคุม
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะพัฒนาการท่องเที่ยว หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบเงินรายได้ แผนงานการเรียนการสอน งานจัดการศึกษาสาขาพัฒนาการท่องเที่ยว กองทุนเพื่อการศึกษา งบเงินอุดหนุน 2568 55,200.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ อรุณโรจน์  พวงสุวรรณ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 4. การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68 MJU 4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 TDS 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 TDS 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 67-70 TDS 4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 67-70 TDS ผลักดันกิจกรรมที่มุ่งสู่การเป็นผู้ประกอบการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีบทบาทที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจการท่องเที่ยวในภาพรวม คณะพัฒนาการท่องเที่ยวในฐานะสถาบันการศึกษาให้ความสำคัญกับนโยบายการท่องเที่ยวต่อการผลิตกำลังคนที่ตอบสนองความต้องการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของตลาดแรงงานดังกล่าว แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาควบคู่กันคือ ความพร้อมของบัณฑิตในการประกอบอาชีพภายหลังสำเร็จการศึกษา ซึ่งพบว่าบัณฑิตส่วนใหญ่ยังไม่สามารถทำงานได้ตามที่ผู้ประกอบการคาดหวังและจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมเป็นระยะเวลานานก่อนจะทำงานได้จริง สำหรับการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการอย่างแท้จริง จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมเป็นเวลานานเพื่อให้บัณฑิตเกิดทักษะการทำงานตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการอย่างทันสถานการณ์ ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวได้อย่างโดดเด่น มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในวิชาการและวิชาชีพ ตามการจัดการเรียนการสอนแบบฐานสมรรถนะ Competence-based Approach โดยการกำหนดผลการเรียนรู้ Learning Outcomes/ Course Outcomes อย่างชัดเจนซึ่งสมรรถนะที่กำหนดขึ้นจะมีความสอดคล้องกับตำแหน่งงานด้านการท่องเที่ยวที่คาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถปฏิบัติได้เมื่อจบการศึกษา ควบคู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วยสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายและอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนปฏิบัติภาระงานได้สำเร็จตามสมรรถนะที่กำหนด เน้นกระบวนการเรียนรู้ ให้ข้อมูลย้อนกลับ Feedback แก่ผู้เรียนเป็นระยะ เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานให้ได้ตามเกณฑ์ ตลอดจนการให้เวลาผู้เรียนที่เพียงพอต่อการทำภาระงานหนึ่ง ๆ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ คณะพัฒนาการท่องเที่ยว เน้นผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์ประกอบด้วยทักษะสำคัญทั้งหมด 12 ด้าน ตามนโยบายมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่กำหนดให้หลักสูตรต่าง ๆ มีการจัดทำหลักสูตรให้เป็นไปตามหลักการ Outcome-Based Education OBE หลักสูตรฯ จึงมีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว ในแต่ละปีหลักสูตรฯ จึงได้วางแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาที่แตกต่างกันไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาทักษะที่หลักสูตรฯ ได้กำหนดไว้ในเป้าหมายการเรียนรู้แต่ละชั้นปี YLOs ในชั้นปีที่ 2: นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาทักษะเฉพาะทางที่เกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ โดยให้นักศึกษาทดลองตามวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice และเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากมืออาชีพ นอกเหนือจากการดำเนินการเพื่อตอบรับนโยบายของมหาวิทยาลัยแล้ว การจัดโครงการเสริมสร้างสมรรถนะนักศึกษา Be the next Gen of Hospitality: Culinary Workshop ยังมุ่งเป้าหมายตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน สาขาการโรงแรม ACCSTP ในตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้อง ยังสอดคล้องตอบรับกับแผนการใช้หลักสูตรการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวที่กำหนดให้นักศึกษาพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับสมรรถนะพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน และมีกิจกรรมฝึกประสบการณ์ 400 ชั่วโมงในระหว่างปิดภาคการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจลึกซึ้งในธุรกิจท่องเที่ยวประเภทต่าง ๆ โดยชั้นปีที่ 2 ฝึกประสบการณ์ด้านธุรกิจโรงแรมและภัตตราคาร ดังนั้น เพื่อให้นักศึกษาในชั้นปีที่ 2 สาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายได้สามารถพัฒนาสมรรถนะของตนให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้กำหนด การจัดทำ “ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านงานบริการ (Hospitality) โครงการเสริมสร้างสมรรถนะผลลัพธ์การเรียนรู้รายปี ToBiz YLOs กิจกรรม Be The Next Gen of Hospitality: Culinary Workshop ตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน สาขาการโรงแรม ACCSTP” จึงเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีทักษะและประสบการณ์เพื่อพร้อมแก่การเป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งนี้ หลักสูตรฯ มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและบริการ ได้กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อให้ตอบวัตถุประสงค์ของรายวิชานั้น ๆ และเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาในการเป็นผู้ประกอบการทางด้านการท่องเที่ยวและมีการนำเอา PLOs มาใช้พัฒนานักศึกษา โดยการจัดการเรียนการสอนที่มีกลยุทธ์ที่สนับสนุนให้นักศึกษามีคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ โดยใน ปีการศึกษา 2567 ได้มีการจัดการเรียนการสอนใน10603251 การจัดการและการดำเนินงานอาหารและเครื่องดื่ม จึงมีความต้องการที่จะจัดกิจกรรมพัฒนา Course Learning Outcome เพื่อบูรณาการความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เรียน เพื่อเสริมสร้างการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ตลอดจนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตของนักศึกษา หลักสูตรฯ มีความต้องการจ้างเหมาในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน สาขาการโรงแรม ACCSTP ในตำแหน่งงานต่าง ๆ ที่มีความจะเป็นต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในภาคฤดูร้อนปีการศึกษา 2567 และเตรียมความพร้อมเพื่อเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ Thailand National Skill Standard Testing การรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาพนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่มในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ระดับ 1 ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน คณะพัฒนาการท่องเที่ยวจึงขอเสนอโครงการเสริมสร้างสมรรถนะนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน สาขาที่พัก ตำแหน่งงาน แผนกแม่บ้าน แผนกต้อนรับส่วนหน้า แผนกบริการอาหารว่างและเครื่องดื่ม และการพัฒนาสมรรถนะเพื่อเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาพนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่มในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ระดับ 1 เพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์และนโยบายของชาติและมหาวิทยาลัย โดยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้านวิชาชีพทางการท่องเที่ยว ควบคู่กับการเสริมทักษะควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานในสถานประกอบการณ์จริง ให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานอาชีพในระดับอาเซียน และมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการวางรากฐานที่ดีในการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต Life Long Learning ในคราวเดียวกัน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเสริมสมรรถนะวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวที่สามารถเทียบสมรรถนะตามมาตรฐานสากล อาทิเช่น มาตรฐานสมรรถนะพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน MRA on TP, ACCSTP สาขาที่พัก ตำแหน่งงานแผนกอาหาร และแผนกบริการอาหารว่างและเครื่องดื่ม กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ National Skill Standard Testing ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ให้กับนักศึกษา
เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ตามหมายการเรียนรู้ YLOs ในชั้นปีที่ 2 ที่นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาทักษะเฉพาะทางที่เกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ โดยการให้นักศึกษาทดลองตามวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice และเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากมืออาชีพ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาได้รับความรู้จากการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้านการจัดการงานครัว ทักษะการปฏิบัติงานครัวและการประกอบอาหาร
KPI 1 : นักศึกษาได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะตามผลลัพธ์การเรียนรู้รายปี ToBiz YLOs ชั้นปี 2 กิจกรรม Be The Next Gen of Hospitality: Culinary Workshop
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 หลักสูตร 1
KPI 2 : จำนวนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
48 คน 48
KPI 3 : จำนวนนักศึกษาที่เข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาคฤดูร้อน ด้านธุรกิจโรงแรมและภัตตราคาร แผนกครัว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 4 : จำนวนนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาพนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่มในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ระดับ 1
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาได้รับความรู้จากการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้านการจัดการงานครัว ทักษะการปฏิบัติงานครัวและการประกอบอาหาร
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมภาคภาคทฤษฎี ด้านการจัดการงานครัว

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2567 - 01/11/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์อรุณโรจน์  พวงสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1,200 บาท x 6 ชั่วโมง x 1 คน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 7200.00
ชื่อกิจกรรม :
2. การอบรมภาคภาคปฏิบัติ ด้านทักษะงานครัวและการประกอบอาหาร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2568 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์อรุณโรจน์  พวงสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1,200 บาท x 30 ชั่วโมง x 1 คน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 36,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 48000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล