22486 : โครงการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์สำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านผาหมู ต.ร้องกวาง อ.ร้องกวาง จ.แพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/11/2567 13:36:16
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
25/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  ผู้นำและประชาชนบ้านผาหมู ต.ร้องกวาง อ.ร้องกวาง จ.แพร่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2568 40,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง
อาจารย์ ดร. เกษราพร  ทิราวงศ์
อาจารย์ อโนชา  สุภาวกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ  กันบุตร
นาย สิทิไวกูล  ทิราวงศ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68-2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การท่องเที่ยวเป็นสินค้าบริการที่มีบทบาทมากขึ้นในสังคมโลกและยิ่งมากขึ้นในชุมชนท้องถิ่นเมื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ขยายอาณาเขตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเข้าใกล้วิถีชีวิตของชุมชนมากขึ้น ในขณะที่แนวโน้มการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีการเติบโตในทิศทางบวกนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งให้ความสนใจกับการเดินทางไปสัมผัสความจริงแท้ดั้งเดิมของพื้นที่ต่างๆ ในไทยเพิ่มมากขึ้น การท่องเที่ยวไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ หากมีการกระจายตัวสู่ชุมชน ส่งผลให้ท้องถิ่นหลายแห่งตั้งรับการมาถึงของนักท่องเที่ยวนำการท่องเที่ยวมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต เป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงถือเป็นอุตสาหกรรมแห่งความหวัง ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมากเป็นอันดับต้นๆ และมีความสำคัญโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศดีขึ้น การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแม้ว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น มีการลงทุนและสร้างรายได้เข้าประเทศ แต่ก็ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม วิถีชีวิต ของสถานที่นั้นๆ หากไม่มีการจัดการที่ดีพอ สินค้าชุมชนหรือของฝาก ของที่ระลึก หมายถึง การผลิตสินค้าที่ดำเนินการโดยชาวบ้านในชุมชนที่ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการรวมตัวกันของคนในชุมชนเพื่อผลิตสินค้าโดยนำทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่ในชุมชนมาผลิตหรือนำมาแปรรูป ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองดังนั้น สินค้าชุมชน จึงเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชน รวมถึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างความเท่าเทียม ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นฐานรากทางเศรษฐกิจที่มั่นคง สื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง สื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม ผ่านทางเว็บไซต์และโปรแกรมประยุกต์บนสื่อใด ๆ ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเน้นให้ผู้ใช้ทั้งที่เป็นผู้ส่งสาร และผู้รับสารมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ในการผลิตเนื้อหาขึ้นเอง ในรูปของข้อมูล ภาพ และเสียง สื่อที่เข้าถึงผู้รับสารได้เร็วที่สุดในยุคปัจจุบันนี้ คงไม่พูดถึงไม่ได้ เพราะสื่อออนไลน์มีคุณประโยชน์มหาศาล เราต้องนำข้อดีของสื่อออนไลน์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของเราให้ก้าวไปข้างหน้า ข้อดีของสื่อออนไลน์คือ สามารถเผยแผ่ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ที่ต้องการได้ทันท่วงที ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าลงโฆษณาทางทีวี วิทยุ หรือโปสเตอร์ต่างๆตามที่สาธารณะ เข้าถึงกลุ่มผู้รับเป้าหมายง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ว่าจะอยู่ที่แห่งไหน ก็สามารถใช้งานได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ไม่มีวันหยุด สร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร ทำให้ผู้ใช้ระบบสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น อาทิเช่น การตัดสินใจเลือกซื้อรถ ผู้ซื้อย่อมต้องเข้ามาทำการศึกษาผ่านสื่อออนไลน์ จากนั้นเป็นการเปรียบเทียบราคางบประมาณ พร้อมทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการ เพียงเท่านี้ แค่เรานำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจเรา ก็จะสามารถทำให้ธุรกิจของเรามีการเติบโตได้อย่างแน่นอน การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้ แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง 1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต 2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต 3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง 4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ 5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา หมู่บ้านผาหมู เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวโอท็อปนวัตวิถี ตั้งอยู่ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ประชาชนส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจเพอเพียง โดยทุกครัวเรือนจะมีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง เช่น ข่า ตะไคร้ มะกรูด ชะอม ตำลึง ส้มป่อย ผักปลัง ผักชะพลู ไพล กระชาย ขมิ้น นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงไก่ เป็ด การเก็บของป่าตามฤดูกาล มีผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น ผักกาดดอง หน่อไม้ดอง แหนม แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ ถ้ำผานางคอย ที่มีลักษณะเป็นถ้ำหินปูน ปัจจุบันเป็นถ้ำตาย การเกิดหินงอกหินย้อยค่อยข้างน้อย เนื่องจากมีน้ำและความชื้นน้อย องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ องค์การบริหารส่วนตำบลร้องกวาง และชุมชนบ้านผาหมู ร่วมกันพัฒนาถ้ำโดยใช้เทคโนโลยีการประดับไฟฟ้าภายในถ้ำเพิ่มความสวยงามและน่าเดินท่องเที่ยว และยังมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับพระนางอรัญญาณีและทหารองครักษ์ผู้ภักดี นายคะนองเดช “อรัญญาณี จะคอยพี่ อยู่ที่นี่ แม้ร้อยปี นานเท่านาน ยังคงหวัง ขอเฝ้าคอย แม้จะสิ้น ลมพลัง ชาติหน้ายัง คงคอยพี่ อยู่ที่เดิม” บริเวณด้านนอกมีพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวชมและให้อาหารกวาง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอร้องกวาง มีแพะอีกจำนวนหนึ่ง เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติสำหรับเยาวชนและกำลังพัฒนาให้สามารถเป็นที่พักผ่อนสำหรับนักท่องเที่ยวได้ ข้อมูลด้านปัญหาจากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่บ้านผาหมู คือ ความต่อเนื่องของการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว และได้เสนอเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนให้สามารถผลิตสื่อด้วยตนเองที่ทันสมัยด้วยโทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้บอกเล่าวิถีชีวิตบ้านผาหมู ประเพณี แหล่งท่องเที่ยว เป็นการประชาสัมพันธ์และกระตุ้นความสนใจให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักและตัดสินใจมาท่องเที่ยวและแวะซื้อของฝากจากชุมชน จึงเป็นที่มาของการเสนอโครงการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์สำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านผาหมู ต.ร้องกวาง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ สำหรับใช้เป็นช่องทางเผยแพร่ด้วยตนเอง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการท่องเที่ยวพร้อมผลิตภัณฑ์ของฝากจากชุมชน
2 เพื่อพัฒนาทักษะการผลิตสื่อด้วยโทรศัพท์สมาร์โฟนสำหรับเผยแพร่ระบบออนไลน์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาอาชีพ/สร้างรายได้ ด้านการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ของฝากจากชุมชน
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0138 0.0262 ล้านบาท 0.04
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมสื่อออนไลน์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
250 คน 250
KPI 6 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนองค์ความรู้ที่เป็นสื่อออนไลน์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 เรื่อง 2
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 9 : จำนวนรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 10 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาอาชีพ/สร้างรายได้ ด้านการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ของฝากจากชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
1) อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การผลิตสื่อออนไลน์ด้วยโทรศัพท์สมาร์ทโฟนโดยชุมชน”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 25/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เกษราพร  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อโนชา  สุภาวกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสิทิไวกูล  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าอบรบรม) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 50 คนๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 110 บาท เป็นเงิน 5,500 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรม) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 50 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
9,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 13800.00
ชื่อกิจกรรม :
2) อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การออกแบบคอนเทนต์ส่งเสริมการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ของฝาก และช่องทางสื่อสารเผยแพร่ออนไลน์”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 25/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เกษราพร  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อโนชา  สุภาวกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสิทิไวกูล  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าอบรม) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 110 บาท เป็นเงิน 5,500 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรม) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆละ 1,600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆละ 1,600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 18600.00
ชื่อกิจกรรม :
3) ผลิตสื่อออนไลน์และการจัดการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ของฝากจากชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 25/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เกษราพร  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อโนชา  สุภาวกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสิทิไวกูล  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาผลิตสื่อออนไลน์และการจัดการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ของฝากจากชุมชน เป็นเงิน 7,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 7600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ทท350 การจัดการที่พักแรมสีเขียว ทท371 การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทท373 การพัฒนาการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงวัย ทท411 สัมมนาทางการท่องเที่ยว ทท320 นิเทศศาสตร์การท่องเที่ยว ทท331 ภูมิศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว ทท372 การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีเกษตร ทท331 ภูมิศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว
ช่วงเวลา : 25/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล