22475 : โครงการวิเคราะห์ประเด็นและกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่การจัดอันดับในระดับนานาชาติ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ฉัตรสูงเนิน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 24/10/2567 23:04:17
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  กลุ่มผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 100 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบวิจัยสถาบัน แผนงานยุทธศาสตร์
แผนงานรอง: แผนงานยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
ผลผลิต: ผลงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี
กองทุนเพื่องานวิจัย
งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป
รายการ โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2)
2568 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา  ฉัตรสูงเนิน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านกฏระเบียบ ข้อบังคับ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68 MJU 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.4 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking (Eco. University)
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.4.1 ผลักดันการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA68 มิติที่ 2การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC):การผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ได้มาตรฐานทางวิชาการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสังคมได้
เป้าประสงค์ LA68-2.3 มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ใช้เกษตรเป็นรากฐานและได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด LA68-2.3.2 ร้อยละของอาจารย์และนักวิจัยประจำที่มีผลงานวิจัย
กลยุทธ์ LA68-2.3.1 สนับสนุนปัจจัยเกื้อหนุนต่อการทำวิจัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นชุดเป้าหมายการพัฒนาระดับโลกหลังปี 2015 ที่ได้รับการรับรองจาก 193 ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2015 ครอบคลุมช่วงระยะเวลาที่ต้องบรรลุภายใน 15 ปี ได้เป็นทิศทางการพัฒนาที่ทุกประเทศที่ต้องดำเนินการร่วมกันมาตั้งแต่ปีค.ศ. 2016 ไปจนถึงปี ค.ศ. 2030 โดยเอกสารที่ประเทศสมาชิกทั้งหมดลงนามรับรองเป็นพันธสัญญานั้นเรียกว่า “Transforming Our World: the 2030 Agenda for Sustainable Development” หรือ “วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030” และในบางครั้ง SDGs อาจถูกกล่าวถึงผ่านชื่ออื่นได้ทั้ง Agenda 2030 หรือ Global Goals ซึ่งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย (Goals) ภายใต้หนึ่งเป้าหมายจะประกอบไปด้วย 169 เป้าประสงค์ (Targets) และพัฒนาตัวชี้วัด (Indicators) จำนวน 232 ตัวชี้วัด (ทั้งหมด 244 ตัวชี้วัดแต่มีตัวที่ซ้ำ 12 ตัว) เพื่อติดตามความก้าวหน้าของเป้าหมายย่อยดังกล่าว การพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนามหาวิทยาลัยระดับสากลอย่างยิ่ง การปรับตัวให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยทั่วโลกตระหนัก และมีบทบาทที่สำคัญในการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ส่งเสริมการวิจัยและการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน การให้บริการชุมชนผ่านโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับ SDGs การสร้างความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับ SDGs ให้แก่นักศึกษาและบุคลากร รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีบทบาทในการประเมินและรายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย SDGs อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาในทิศทางที่ยั่งยืน Times Higher Education (THE) เป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกจากประเทศอังกฤษ มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Impact Rankings) โดยเริ่มขึ้นในปี 2563 เป้าหมายและตัวชี้วัดที่ใช้โดย Times Higher Education (THE) สำหรับการจัดอันดับผลกระทบ ได้รับการปรับจากกรอบการดำเนินงานของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งประกอบด้วย 17 เป้าหมาย 169 เป้าประสงค์ และ 231 ตัวชี้วัด โดยการจัดอันดับของ THE มุ่งเน้นการประเมินบทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการประเมินตัวชี้วัดภายใต้ 4 ขอบเขตหลัก ได้แก่ 1) งานวิจัย (research) 2) นโยบายและแนวทางปฏิบัติภายในมหาวิทยาลัย (stewardship) 3) การเชื่อมโยงกับสังคมในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับโลก (outreach) และ 4) การเรียนการสอน (teaching) ในขณะที่กรอบการทำงานของ SDGs ทั่วไปมีตัวชี้วัดที่ครอบคลุมหลากหลาย THE จะคัดเลือกเฉพาะตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เช่น การตีพิมพ์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ SDGs นโยบายด้านความยั่งยืน และกิจกรรมการมีส่วนร่วมกับชุมชน การจัดอันดับผลกระทบยังจัดลำดับความสำคัญของ SDGs ต่าง ๆ ตามความเกี่ยวข้องและผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดการประเมินที่สมดุลและครอบคลุม ซึ่งสะท้อนและให้การยกย่องบทบาทสำคัญของสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง การจัดอันดับโดย THE ใช้กระบวนการและหลักเกณฑ์การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การประเมินผล และการประกาศผล เพื่อกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยทั่วโลกมุ่งมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยผลคะแนนรวมของแต่ละมหาวิทยาลัยมาจากการคำนวณคะแนนของเป้าหมายที่ 17 (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) และอีก 3 เป้าหมายที่มหาวิทยาลัยได้คะแนนสูงสุด ทั้งนี้เพื่อให้คะแนนสะท้อนด้านที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญ โดย SDG 17 สะท้อนถึงความพยายามของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งและการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุ SDGs ทั้งหมด คิดเป็น 22% ของคะแนนรวม สำหรับ SDGs อื่น ๆ ที่สะท้อนถึงด้านที่มหาวิทยาลัยมีผลกระทบที่แข็งแกร่งที่สุดและการสนับสนุนต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมากที่สุด คิดเป็นเป้าหมายละ 26% หรือตามการคำนวณ (SDG17)(0.22) + (SDGx)(0.26) + (SDGy)(0.26) + (SDGz)(0.26) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ตระหนักถึงและมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเริ่มเข้าร่วมรับการประเมินจาก THE ตั้งแต่ปี 2564 (ค.ศ. 2021) เป็นต้นมาโดยได้รับคะแนนประเมินรวมที่ 68.2 และได้คะแนนเพิ่มขึ้นในปี 2565 เป็น 70 และในปี 2566-2567 ได้รับคะแนนรวมที่ 70.3 แสดงถึงความก้าวหน้าในหลายด้าน เช่น การขจัดความหิวโหย (SDG 2) พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (SDG 7) การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (SDG 12), การใช้งานระบบนิเวศทางบก (SDG 15) และการใช้งานทรัพยากรทางทะเล (SDG 14) อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยยังมีจุดที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่ดีในระดับนานาชาติ และจากความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยมีความคาดหวังว่าจะได้รับคะแนนประเมินที่ 80 ภายใน 3 ปี หรือในปี 2570 การวิจัยนี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์ประเด็นและกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาตามเป้าหมาย SDGs ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและยกระดับสถานะในเวทีนานาชาติ โดยใช้ข้อมูลจากผลการประเมินตั้งแต่ปี 2564-2567 เพื่อสร้างแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพให้เป็นไปตามเจตนารมของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัญหาวิจัย (ระบุประเด็นปัญหาของเรื่องที่ทำวิจัย) การเพิ่มผลคะแนนการประเมินจาก Times Higher Education (THE) ในแต่ละเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นความท้าทายที่ต้องอาศัยกลยุทธ์ที่ชัดเจนและการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพจากทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัย กระบวนการนี้จำเป็นต้องมีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานจากระดับนโยบาย (Top-down) สู่ภาคปฏิบัติ โดยมีการประสานงานและความร่วมมือจากบุคลากรในทุกระดับของมหาวิทยาลัย รวมถึงการเชื่อมโยงและสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ทั้งในภาครัฐและเอกชน ผลการประเมินของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในช่วงปีที่ผ่านมา ได้มีความก้าวหน้าในหลายด้าน เช่น การขจัดความยากจน (SDG1) การขจัดความหิวโหย (SDG 2) พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (SDG 7) การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (SDG 12) การใช้งานระบบนิเวศทางบก (SDG 15) และการใช้งานทรัพยากรทางทะเล (SDG 14) อย่างไรก็ตาม การบรรลุผลลัพธ์ที่ดีและเพิ่มคะแนนในระดับนานาชาติต้องอาศัยการวางแผนและกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ความสำเร็จยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการประเมินผลและการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอก การสนับสนุนจากบุคลากรทุกระดับ และการนำข้อมูลจากผลการประเมินในปีที่ผ่านมา (2564-2567) มาใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสม การวิจัยนี้ จึงมุ่งเน้นการวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนากลยุทธ์ เพื่อเพิ่มคะแนนในแต่ละเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้ข้อมูลและผลการประเมินที่มีอยู่ เพื่อสร้างแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและยกระดับสถานะของมหาวิทยาลัยในเวทีนานาชาติอย่างยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ วิเคราะห์ผลการประเมินจาก THE ในช่วงปี 2564-2567 เพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ ต้องปรับปรุงเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ตามที่คาดหวังในระดับนานาชาติ / ระบุปัญหาหลักที่เป็นอุปสรรคในการเพิ่มคะแนนการประเมินจาก Times Higher Education (THE) ในแต่ ละเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ พัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มคะแนนการประเมินใน SDGs ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : รายงานการวิจัย บทความวิจัย
KPI 1 : รายงานวิจัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 1
KPI 2 : บทความวิจัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : รายงานการวิจัย บทความวิจัย
ชื่อกิจกรรม :
1. การรวบรวมเอกสารข้อมูล
2. สำรวจข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ
3. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ
4. เขียนรายงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้สอย ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 300 ชุด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
50,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล