22459 : โครงการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดซางในสวนไผ่เป๊าะ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 21/10/2567 15:41:50
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
21/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  สมาชิกกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่หน่อไม้ไผ่เป๊าะบ้านป่าสัก ที่มีความสนใจในการเพาะเห็ดซางในสวนไผ่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2568 40,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. เกศินี  วีรศิลป์
อาจารย์ ดร. นิติกาญจน์  นาคประสม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. น้ำฝน  รักประยูร
อาจารย์ ดร. อนุวัฒน์  จรัสรัตนไพบูลย์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68-2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายในการประชุมสัมมนา “รักษ์ป่าน่าน” เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2557 ณ ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ที่ได้กล่าวว่า “…โครงการสร้างป่า สร้างรายได้ เป็นแนวทางการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้ เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าและมีรายได้เสริมจากการปลูกพืชโดยที่ไม่ทำลายป่าไม้ โดยการปลูกป่าร่วมกับพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกไม้หลายๆระดับ หลายๆชนิด มีทั้งไม้เรือนยอดสูงลดหลั่นกันลงมา นอกจากจะทำให้ชาวบ้านมีรายได้แล้วยังทำให้มีป่าไม้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งโครงการสร้างป่า สร้างรายได้ มีแนวคิดสำคัญคือการฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่ถูกทำลาย โดยดำเนินการพร้อมกับการสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรักษาป่า และรวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง...” กิจกรรมการดำเนินงานของโครงการเป็นการศึกษาลักษณะโครงสร้างสำคัญของป่าธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบการปลูกป่าตามโครงการ โดยได้กำหนดลักษณะโครงสร้างของป่าธรรมชาติที่สำคัญแต่ละประเภท จำแนกตามสถาพพื้นที่และระดับความสูง สอดคล้องกับสภาพป่าพื้นที่ในจังหวัดแพร่ที่มีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณในระดับสูงแล้งและป่าเบญจพรรณในระดับต่ำ โดยมีชั้นเรือนยอดชั้นไม้พุ่มที่พบเห็นได้ทั่วไป มีความสูงประมาณ 2-5 เมตร ได้แก่ ต้นไม้ตระกูลไผ่ต่างๆ ด้วยความที่สภาพทางพื้นที่เหมาะแก่การปลูกไผ่ ทำให้ชาวบ้านนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้เกษตรเป็นจำนวนมากทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว เกษตรกรผู้ปลูกไผ่ ตำบลป่าสัก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ มีการรวมตัวกันเพื่อปลูกไผ่ ในรูปแบบการปลูกเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ในนามของกลุ่มแปลงใหญ่หน่อไม้ไผ่เป๊าะ เพื่อสร้างรายได้จากการขายหน่อไม้มาเป็นระยะเวลาหลาย 10 ปี โดยส่วนมากมักจะขายตัดเป็นหน่อสดเพื่อขายให้แก่พ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อถึงหน้าสวน และพร้อมเคาะราคาตามที่ต้องการโดยเกษตรกรไม่สามารถกำหนดราคาซื้อขายได้ด้วยตนเอง เปรียบเสมือนวังวนของเกษตรกรไทยอย่างต่อเนื่อง จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์นายสมพงษ์ ปวนหนิ้ว ประธานกลุ่มฯ พบว่า ทางกลุ่มฯจะขายหน่อไม้สดเป็นส่วนใหญ่ โดยการขายจะได้ราคาดีและเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุดคือช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยราคากิโลกรัมละประมาณ 42บาท จากนั้นราคาก็จะเริ่มต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ในปีการผลิตที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายนที่สินค้าล้นตลาดและมีหน่อไม้ป่าออกสู่ท้องตลาดมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ราคาต่ำลงถึงกิโลกรัมละ 10 บาท ซึ่งทำให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระต่างๆอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หากทางกลุ่มสามารถหารายได้เสริมในช่วงของราคาสินค้าตกต่ำเพื่อเป็นการสร้างรายได้ ก็จะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับกลุ่มเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น การจัดทำโครงการบริการวิชาการภายใต้ชื่อโครงการการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดซางในสวนไผ่เป๊าะ จึงได้ถูกกำหนดขึ้น โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อน เศรษฐกิจภายใต้ BCG โมเดล ได้แก่ Bio Economy , Circular Economy , Green Economy สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) โดยดำเนินการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ ๔ การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ นำองค์ความรู้ ผลงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปถ่ายทอดสู่ชุมชนและผู้ประกอบการ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย โดยมีเป้าหมายการส่งเสริมการเพาะเห็ดซางในสวนไผ่ของสมาชิกกลุ่มผู้ที่มีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการ เพื่อเพิ่มรายได้ในช่วงที่หน่อไม้สดล้นตลาด อีกทั้งยังเป็นการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ในการเกษตรได้อย่างเต็มที่ โดยทางคณะทำงานเลือกที่จะส่งเสริมองค์ความรู้ในการเพาะเห็ดซางในสวนไผ่ด้วยเหตุผลคือ เห็ดซาง หรือ เห็ดไผ่ซาง (Clitocybe infundibuliformis) เป็นเห็ดที่พบมากในภาคเหนือโดยเฉพาะป่าไผ่ ลักษณะดอกเห็ดชอบขึ้นเป็นดอกเดี่ยว ซึ่งอยู่กันเป็นกลุ่ม และมีโคนก้านดอกติดกันดูเหมือนช่อดอกไม้ เห็ดชนิดนี้จะขึ้นเกาะอยู่บนขอนไม้ไผ่เปื่อยในป่าและพื้นดินในป่า จัดว่าเป็นเห็ดสดที่มีเนื้อเห็ดเหนียวกว่าเห็ดธรรมดา ดอกเห็ดเมื่อเจริญเต็มที่มีลักษณะเป็นรูปกรวยปากแตร (อนงค์ จันทร์ศรีกลุ, 2550) เห็ดซางจะมีผลผลิตมากในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน สนนราคาขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 200-300 บาท ด้วยเหตุที่เห็ดซางสามารถนำมาประกอบได้หลายชนิด ตัวอย่างเช่น เห็ดซางนึ่ง เห็ดซางสวรรค์ เห็ดซางผัดพริกไทยดำ น้ำพริกเห็ดซาง แหนมเห็ดซาง ผัดเห็ดซางน้ำมันหอย แกงป่าเห็ดซาง เป็นต้น จึงเป็นที่นิยมในการบริโภคเป็นอย่างมาก ซึ่งนับได้ว่าเห็ดซางสามารถช่วยสร้างและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ป่า และให้ผู้ที่ต้องการเพาะเลี้ยงเห็ดซางเชิงพาณิชย์ได้อีกด้วย และในอนาคตหากมีความเป็นไปได้ทางคณะทำงานมีความมุ่งหมายที่จะผลักดันให้กลุ่มฯ สร้างศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกไผ่เป๊าะและการเพาะเห็ดซาง และเปิดโอกาสให้บุคคลหรือคณะต่างๆที่มีความสนใจในการปลูกไผ่เป๊อะ หรือ เพาะเห็ดซาง ได้เข้ามาศึกษาดูงานซึ่งก็จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มฯ และชุมชนป่าสักเป็นอย่างมากจากการสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้เกิดขึ้น และถ้าในอนาคตหากทางกลุ่มฯ สามารถพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มฯให้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ได้ก็จะถือว่าเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสมาชิก ชุมชน และประเทศเป็นอย่างมาก

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถปฏิบัติได้จริง
2 เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาอาชีพ/สร้างรายได้ ด้านการเพาะเห็ดซางในสวนไผ่เป๊าะ
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 3 : ร้อยละของความรู้ของผู้เข้าร่วมเกี่ยวกับการบริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.02266 0.01734 ล้านบาท 0.04
KPI 6 : ร้อยละของการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของการเพิ่มรายได้ของผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 8 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 20 คน 50
KPI 9 : จำนวนรูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม (Social Enterprise)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รูปแบบ 1
KPI 10 : ร้อยละของความรู้ของผู้เข้าร่วมในการเพาะเห็ดซาง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาอาชีพ/สร้างรายได้ ด้านการเพาะเห็ดซางในสวนไผ่เป๊าะ
ชื่อกิจกรรม :
1) อบรมเชิงปฏิบัติการการเพาะเห็ดซางอย่างมีประสิทธิภาพ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เกศินี  วีรศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.นิติกาญจน์  นาคประสม (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อนุวัฒน์  จรัสรัตนไพบูลย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 32 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 32 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,240 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คัน ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,940.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,940.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 4 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 6,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุการเกษตร ได้แก่ เชื้อเห็ด วัสดุเพาะชำ และอุปกรณ์ในการขยายพันธุ์พืช เป็นต้น เป็นเงิน 5,120 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,120.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,120.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 22660.00
ชื่อกิจกรรม :
2) อบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เกศินี  วีรศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.นิติกาญจน์  นาคประสม (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อนุวัฒน์  จรัสรัตนไพบูลย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 22 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 2,200 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 22คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,540 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คัน ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,240.00 บาท 6,240.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคปฏิบัติ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน ได้แก่ กระดาษบรู๊ฟ ปากกาเคมี เป็นต้น เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 1,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 17340.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การนำนักศึกษาไปฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนในรายวิชา รบ 221 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ รบ421 การจัดการวิสาหกิจชุมชน และ รบ322 การบริหารท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในภาคเรียนที่ 2/2567 และ 1/2568
ช่วงเวลา : 21/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล