22456 : โครงการ ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนอัจฉริยะสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบสมัยใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางเพ็ญศิริ หน่อแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/11/2567 13:24:24
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย : จำนวน 50 คน ประกอบด้วย เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน วิทยาลัยพลังงานทดแทน หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สราวุธ  พลวงษ์ศรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุลักษณา  มงคล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย  มณีชูเกตุ
รองศาสตราจารย์ ดร. ชวโรจน์  ใจสิน
รองศาสตราจารย์ ดร. อัครินทร์  อินทนิเวศน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-มิติที่ 2 : การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68-2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68-เพิ่มการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรสำหรับโครงการบริการวิชาการที่มุ่งเน้นการพัฒนาเกษตรและชุมชนท้องถิ่น
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันได้เกิดกระแสตื่นตัวไปทั่วโลกในการส่งเสริมให้ประชาชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย ประเทศไทยได้มีการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในทิศทางที่ดีขึ้น และมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรมาโดยตลอด ได้กำหนดให้เกษตรอินทรีย์เป็นยุทธศาสตร์หลักตามนโยบายและทิศทางการพัฒนา (Roadmap) ภายใต้ Knowledge of Agricultural Park (KAP) ของมหาวิทยาลัย และเพื่อพัฒนาการเกษตรของชาติ โดยกำหนดทิศทางการพัฒนาช่วง ปี พ.ศ. 2555-2569 ใน 3 ประเด็นคือการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเป็น Organic, Green และ Eco. University เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงแห่งอนาคต และตอบสนองความต้องการของประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยได้กำหนดประเด็นองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยควรมุ่งเน้นพัฒนา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการพัฒนาของชุมชน สังคม และประเทศชาติทั้ง 3 ด้าน ที่มีการบูรณาการซึ่งกันและกันเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยด้านเกษตรอัจฉริยะ โดยองค์ความรู้ต่าง ๆ จะถูกถ่ายทอดผ่านกิจกรรมตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น การพัฒนาหลักสูตรทั้งหลักสูตรปกติ หลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งในรูปแบบ Degree และ Non Degree รวมทั้งงานวิจัย ศูนย์ความเป็นเลิศ และฐานเรียนรู้ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยและทุกส่วนงานภายใน วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานด้านการศึกษาที่มีองค์ความรู้ด้านพลังงาน ด้านการประยุกต์เทคโนโลยีพลังงานกับการเกษตร และระบบควบคุมอัจฉริยะ มีอาจารย์และนักวิจัยที่มีประสบการณ์ในการวิจัยและทำงานร่วมกับชุมชนในเรื่องการการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และงานระบบควบคุมในงานด้านเกษตรกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านการทำงานร่วมกับชุมชนหลายโครงการผ่านโครงการบริการวิชาการและงานวิจัย ประกอบกับมีสถานที่ฝึกปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถใช้เผยแพร่องค์ความรู้ผ่านการฝึกอบรมแก่เกษตรกรได้ โดยคณะทำงานมีประสบการณ์จากโครงการวิจัยชุมชนต้นแบบเลี้ยงปลาอัจฉริยะสีเขียวในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล งบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2560 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และโครงการการเสริมสร้างชุมชนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสีเขียวด้วยเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและระบบบริหารจัดการแบบสมาร์ทฟาร์ม งบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จากประสบการณ์ดังกล่าว ได้มีการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนประยุกต์ใช้กับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นต้นแบบ ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกอบด้วย ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับเครื่องเติมออกซิเจน ระบบตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อม ระบบบริหารจัดการข้อมูลผ่านช่องทางของระบบ Cloud Service เพื่อรายงานแจ้งเตือนสภาพอากาศที่มีผลต่อการเลี้ยงปลาล่วงหน้า พร้อมทั้งติดตั้งระบบสะสมพลังงานจากเครื่องอัดอากาศพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในบ่อเลี้ยงปลา จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ต้นแบบเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นสามารถยกระดับให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่สามารถใช้กับกระบวนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้แบบครบวงจร ที่ประกอบด้วย การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ การเพาะฟักพันธุ์ การอนุบาล และการเพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่าย แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการวิจัยสามารถนำไปใช้กับกระบวนการเพาะเลี้ยงเท่านั้น ยังขาดแคลนเทคโนโลยีสำหรับใช้ในการเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ การเพาะฟักพันธุ์ และการอนุบาลปลา ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้ต้องใช้การควบคุมอุณหภูมิน้ำให้มีความเสถียรเพื่อใช้ในการบวนการผลิตไข่ของสัตว์น้ำ กระบวนการเพาะฟักรวมถึงกระบวนการอนุบาล การอุ่นน้ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญมาก ระบบผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับปั๊มความร้อนอัจฉริยะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาแก้ปัญหาในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเสถียรทั้งด้านอุณหภูมิน้ำ การลดการใช้พลังงาน สามารถผลิตพันธุ์สัตว์น้ำคุณภาพมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ตลอดทั้งปี จากเหตุผลดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2568 นี้ วิทยาลัยพลังงานทดแทน จึงมีแนวคิดปรับปรุงและยกระดับพื้นที่ดังกล่าวเพื่อใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจร สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีออกสู่ชุมชน กลุ่มเกษตรกร และผู้ที่สนใจได้รับการบริการ เพื่อนำไปผลิตสัตว์น้ำต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับกับทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยกลุม 2 ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางการเกษตร ที่ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม โดยเน้นการสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ เพื่อสร้างผลงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงสร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์ และเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่มูลค่าในภาคการผลิตและบริการ อีกทั้งยังสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่กล่าวว่าทำการศึกษา ทดลอง วิจัย และการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ให้สามารถใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรม ในรูปแบบการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว พร้อมให้บริการแก่ประชาชนและเกษตรกรที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ ให้เกษตรกรและผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติในพื้นที่ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสำหรับการประยุกต์ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และยั่งยืน ภายใต้การมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยด้านเกษตรอัจฉริยะ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. ได้แหล่งศึกษาดูงาน สำหรับเกษตรกรและบุคลากรจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่นภายในประเทศและต่างประเทศ 2. ได้แหล่งเรียนรู้ เสริมสร้างและสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการใช้พลังงานทดแทนสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 8o 50
KPI 2 : จำนวนศูนย์การเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ศูนย์ 1
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าเยี่ยมศูนย์การเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 6 : ร้อยละของผู้รับการอบรมที่มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากผ่านการฝึกอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. ได้แหล่งศึกษาดูงาน สำหรับเกษตรกรและบุคลากรจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่นภายในประเทศและต่างประเทศ 2. ได้แหล่งเรียนรู้ เสริมสร้างและสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการใช้พลังงานทดแทนสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ  พลวงษ์ศรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุลักษณา  มงคล (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย  มณีชูเกตุ (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.ชวโรจน์  ใจสิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.อัครินทร์  อินทนิเวศน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 150 บาท จำนวน 1 ครั้ง) สำหรับผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
อาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท บาท จำนวน 1 ครั้ง) สำหรับผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คนๆละ 4 ชั่วโมงๆละ 800 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรปฏิบัติ จำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 800 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม กระจก ลวดเชื่อม และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,500.00 บาท 0.00 บาท 8,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน ได้แก่ กระดาษ แฟ้มงาน แฟ้มเอกสาร ค่าถ่ายเอกสาร และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุไฟฟ้า เช่น สายไฟ ปลั๊กไฟ บอร์ดควบคุม เซ็นเซอร์ หลอดไฟ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,100.00 บาท 0.00 บาท 9,100.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล