22454 : โครงการ อบรมการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนอัจฉริยะเพื่อลดต้นทุนในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางเพ็ญศิริ หน่อแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 20/11/2567 9:33:05
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย : จำนวน 50 คน ประกอบด้วย เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และผู้สนใจทั่วไป ในจังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน วิทยาลัยพลังงานทดแทน หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย  มณีชูเกตุ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สราวุธ  พลวงษ์ศรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุลักษณา  มงคล
รองศาสตราจารย์ ดร. ชวโรจน์  ใจสิน
รองศาสตราจารย์ ดร. อัครินทร์  อินทนิเวศน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-มิติที่ 2 : การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68-2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68-เพิ่มการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรสำหรับโครงการบริการวิชาการที่มุ่งเน้นการพัฒนาเกษตรและชุมชนท้องถิ่น
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเช่น การเลี้ยงปลาน้ำจืด หรือกุ้ง เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีความสำคัญ จากสถิติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ขึ้นทะเบียนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,245,007.13 ไร่ ทั้งการเลี้ยงในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ หรือบ่อพลาสติก และในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทั้งในด้านเทคนิคการเลี้ยง และการจัดการฟาร์มเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น แต่ในการเลี้ยงอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหากมีการจัดการที่ไม่ถูกต้อง เช่น เลี้ยงสัตว์หนาแน่นเกินไป จำนวนสัตว์น้ำไม่เหมาะสมกับพื้นที่บ่อ ให้อาหารไม่พอดีกับความต้องการสัตว์น้ำ ทำให้มีอาหารเหลือตกค้างจำนวนมาก ทำให้น้ำในบ่อมีปริมาณของเสียจากการขับถ่ายของสัตว์น้ำ เศษอาหาร สารเคมี เป็นต้น และอีกหนึ่งปัญหาหลักของการเลี้ยงสัตว์น้ำที่พบคือ ปริมาณก๊าซออกซิเจนละลายในน้ำ (DO) น้อยกว่าความต้องการของสัตว์น้ำทำให้มีปัญหาสัตว์น้ำตายหรือสัตว์น้ำน็อกน้ำในทั้งในช่วงเวลากลางวันและช่วงเวลากลางคืน โดยเฉพาะเมื่อเลี้ยงสัตว์น้ำไประยะเวลาหนึ่งน้ำในบ่อจะขุ่นที่เกิดจากตะกอน และสารอินทรีย์ต่าง ๆ จากเศษอาหาร ทำให้แสงส่องผ่านลงไปในน้ำได้น้อย ทำให้พืชน้ำและสาหร่ายสังเคราะห์แสงได้น้อย โดยปกติปลาต้องการปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) ไม่ต่ำกว่า 3 mg/l และกุ้งไม่ต่ำกว่า 5 mg/l ดังนั้นเกษตรกรจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องเติมอากาศโดยใช้กังหันตีน้ำ อย่างไรก็ตามระบบเติมอากาศจำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้จ่ายมอเตอร์ของกังหันน้ำ ทำให้เกษตรกรจึงมีค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานไฟฟ้าทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับผลิตไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถนำมาช่วยลดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าจากสายส่งพื้นฐานได้ และสามารถการใช้งานร่วมกับระบบตรวจวัดออกซิเจนที่ละลายในน้ำรวมทั้งยังสามารถติดตามสถานะการทำงานของระบบเติมอากาศได้ สามารถช่วยให้เกษตรกรสามารถจัดการการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า และทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการลดต้นทุนการผลิตได้ แต่เนื่องจากเกษตรกรจำนวนมากยังไม่มีความรู้ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดังกล่าวมาหรือเกษตรกรบางรายได้ซื้อชุดสำเร็จจากผู้ผลิตซึ่งมีราคาสูงและยังเกิดปัญหาจากการใช้งาน ในการนี้วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานด้านการศึกษาที่มีองค์ความรู้ด้านพลังงานและระบบควบคุมอัจฉริยะ มีอาจารย์และนักวิจัยที่มีประสบการณ์ในการวิจัยและทำงานร่วมกับชุมชนในเรื่องการการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและงานระบบควบคุมในงานด้านเกษตรกรรมมาอย่างต่อเนื่อง และผ่านการทำงานร่วมกับชุมชนหลายโครงการผ่านโครงการบริการวิชาการ ประกอบกับมีสถานที่ฝึกปฏิบัติการ และเทคโนโลยีพลังงานทดแทนรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถใช้เผยแพร่องค์ความรู้ผ่านการฝึกอบรมแก่เกษตรกรได้ จากองค์ความรู้ที่มีทำให้วิทยาลัยพลังงานทดแทนได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรให้ดำเนินโครงการอบรมในปีงบประมาณ 2565 ภายใต้โครงการอบรมเผยแพร่องค์ความรู้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนและระบบสมาร์ทฟาร์มแก่เกษตรกรเพื่อพัฒนาสู่เกษตรดิจิตอล 4.0 นี้ ซึ่งมีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมอบรมเป็นอย่างดี ในงบประมาณปี 2567 นี้ วิทยาลัยพลังงานทดแทน จึงมีแนวคิดที่จะจัดทำโครงการที่เผยแพร่องค์ความรู้ภายใต้โครงการอบรมการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนอัจฉริยะเพื่อลดต้นทุนในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยกลุ่มเป้าหมายจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบควบคุมอัจฉริยะที่สามารถนำไปใช้ในการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยคณะทำงานมีประสบการณ์จากโครงการวิจัยชุมชนต้นแบบเลี้ยงปลาอัจฉริยะสีเขียวในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล งบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 และ 2560 โครงการการเสริมสร้างชุมชนเขียวในการทำฟาร์มเลี้ยงปลาอัจฉริยะในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล งบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และโครงการการเสริมสร้างชุมชนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสีเขียวด้วยเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและระบบบริหารจัดการแบบสมาร์ทฟาร์ม งบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จึงทำให้มั่นใจว่า ผลจากงานวิจัยทั้งหมดจะสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีแก่เกษตรกรให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้เป็นอย่างดี และสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการประมง การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การสร้างจุดเรียนรู้และสาธิตด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เหมาะสม การเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เป็นแหล่งอาหารโปรตีน และการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่ออบรมถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และระบบควบคุมเพื่อลดต้นทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่เกษตรกร และผู้สนใจให้มีทักษะ ความรู้ และความเข้าใจในการเลือกใช้องค์ความรู้ของเทคโนโลยี
เพื่อส่งเสริมให้เกิดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและเกษตรอัจฉริยะของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ผ่านการดำเนินงานบริการวิชาการ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และเข้าใจในเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และระบบควบคุม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ 2. กลุ่มเป้าหมายสามารถเผยแพร่ และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมให้กับประชาชนในชุมชนหรือในกลุ่มเกษตรกรรม อีกทั้งยังสามารถใช้ศักยภาพทางด้านพลังงานทดแทนภายในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : หลักสูตรฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และระบบควบคุม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 หลักสูตร 1
KPI 4 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
KPI 6 : ผู้เข้าร่วมอบรมมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 7 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และเข้าใจในเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และระบบควบคุม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ 2. กลุ่มเป้าหมายสามารถเผยแพร่ และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมให้กับประชาชนในชุมชนหรือในกลุ่มเกษตรกรรม อีกทั้งยังสามารถใช้ศักยภาพทางด้านพลังงานทดแทนภายในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม การจัดฝึกอบรมทางด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและระบบสมาร์ทฟาร์ม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย  มณีชูเกตุ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ  พลวงษ์ศรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุลักษณา  มงคล (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.ชวโรจน์  ใจสิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.อัครินทร์  อินทนิเวศน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 54 คนๆละ 1 มื้อๆละ 150 บาท จำนวน 1 ครั้ง) สำหรับผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,100.00 บาท 0.00 บาท 8,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
อาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 54 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท บาท จำนวน 1 ครั้ง) สำหรับผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,780.00 บาท 0.00 บาท 3,780.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 800 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรปฏิบัติ จำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 800 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม กระจก ลวดเชื่อม และอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,580.00 บาท 0.00 บาท 10,580.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน ได้แก่ กระดาษ แฟ้มงาน แฟ้มเอกสาร ค่าถ่ายเอกสาร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,800.00 บาท 0.00 บาท 7,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุไฟฟ้า เช่น สายไฟ ปลั๊กไฟ บอร์ดควบคุม เซ็นเซอร์ หลอดไฟ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,340.00 บาท 0.00 บาท 8,340.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล