22453 : โครงการ อบรมเผยแพร่การใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนและระบบสมาร์ทฟาร์มเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำเกษตรกรรมยุคใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางเพ็ญศิริ หน่อแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/11/2567 14:26:31
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 50 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน วิทยาลัยพลังงานทดแทน หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุลักษณา  มงคล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สราวุธ  พลวงษ์ศรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย  มณีชูเกตุ
รองศาสตราจารย์ ดร. ชวโรจน์  ใจสิน
รองศาสตราจารย์ ดร. อัครินทร์  อินทนิเวศน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปรีดา  นาเทเวศน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-มิติที่ 2 : การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68-2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68-เพิ่มการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรสำหรับโครงการบริการวิชาการที่มุ่งเน้นการพัฒนาเกษตรและชุมชนท้องถิ่น
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ภาคการเกษตรมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งภาคเหนือตอนบนมีประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน ประมง เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นการทำเกษตรแบบล้าสมัยขาดการบริหารจัดการที่ดี ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาด้านต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิง อาทิเช่น การสูบน้ำเข้าแปลงปลูก การเติมอากาศในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น วิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้เกษตรกรสามารถจัดการปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ การนำระบบควบคุมอัจฉริยะมาใช้หรือที่เรียกว่า สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) หรือเกษตรอัจฉริยะ หรืออาจได้ยินคำว่า การทำเกษตรแบบแม่นยำ (Precision Agriculture) ซึ่งต่างก็หมายถึงการนำเทคโนโลยีและการจัดการข้อมูลมาใช้ในการทำเกษตรกรรมให้มีความเหมาะสมและแม่นยำขึ้น นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีช่วยด้านการจัดการข้อมูลเพื่อตรวจเช็คสภาพภูมิอากาศ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในแปลงปลูกและฟาร์มเลี้ยงสัตว์ช่วยให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงพื้นที่ทางการเกษตรได้อย่างทั่วถึง สามารถควบคุมคุณภาพของการผลิตพืชและสัตว์ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนั้นการลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานและเชื้อเพลิงด้านการเกษตรก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นหากมีการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานทดแทนก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถช่วยเกษตรกรลดต้นทุนในการผลิตได้ ประกอบกับในปัจจุบันราคาของเทคโนโลยีและอุปกรณ์มีราคาถูกลงอย่างมากตามเทคโนโลยีในการผลิตจึงเริ่มได้รับความนิยม เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล และพลังงานชีวภาพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามเกษตรกรอาจยังขาดความรู้ความเข้าใจทำให้ยังไม่พร้อมที่จะนำเทคโนโลยีพลังงานทดแทนมาใช้งาน ในการนี้วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานด้านการศึกษาที่มีองค์ความรู้ด้านพลังงานและระบบควบคุมอัจฉริยะ มีอาจารย์และนักวิจัยที่มีประสบการณ์ในการวิจัยและทำงานร่วมกับชุมชนในเรื่องการการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและงานระบบควบคุมในงานด้านเกษตรกรรมมาอย่างต่อเนื่อง และผ่านการทำงานร่วมกับชุมชนหลายโครงการผ่านโครงการบริการวิชาการ ประกอบกับมีสถานที่ฝึกปฏิบัติการ และเทคโนโลยีพลังงานทดแทนรูปแบบต่างๆ ที่สามารถใช้เผยแพร่องค์ความรู้ผ่านการฝึกอบรมแก่เกษตรกรได้ ดังนั้นในปีงบประมาณ 2568 นี้ วิทยาลัยพลังงานทดแทน จึงมีแนวคิดที่ทำโครงการอบรมเผยแพร่การใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนและระบบสมาร์ทฟาร์มสำหรับการทำเกษตรกรรมยุคใหม่ โดยกลุ่มเป้าหมายจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ระบบควบคุมอัจฉริยะที่ใช้กับสมาร์ทฟาร์ม และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถนำไปช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชและการเลี้ยงสัตว์ และ/หรือลดค่าใช้จ่ายในการทำเกษตรกรรมและในครัวเรือนได้ โดยรูปแบบการอบรมแบ่งหัวข้อออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มเทคโนโลยีพลังงานทดแทนเพื่อการเกษตร ได้แก่ การประยุกต์ใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในภาคเกษตรกรรม 2. กลุ่มเทคโนโลยีระบบสมาร์ทฟาร์ม ประกอบด้วย โรงเรือนปลูกพืชอัจฉริยะ (Smart Greenhouse) ระบบบริหารจัดการน้ำและปุ๋ยอัจฉริยะสำหรับการปลูกพืช และระบบตรวจวัดและควบคุมอัจฉริยะ โดยประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจำทำให้กลุ่มเป้าหมายเช่น เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไปสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำเกษตรกรรมของตนเองให้ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตามยุค อีกทั้งวิทยาลัยพลังงานทดแทนสามารถใช้ทรัพยากรบุคคลและองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังสามารถดำเนินงานเพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและเกษตรอัจฉริยะแก่ผู้สนใจและหน่วยงานทั่วไป ที่สอดคล้องกับแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ที่เน้นการทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้โดยเฉพาะในด้านอาหาร ที่ทรงเห็นว่าการพัฒนาการเกษตรที่จะได้ผลจริงนั้น จะต้องลงมือทดลองค้นคว้า ต้องปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังพระราชดำรัส ว่า "เกษตรกรรมนี้ หรือ ความเป็นอยู่ของเกษตรนั้น ขอให้ปฏิบัติ ไม่ใช่ถือตำราเป็นสำคัญอย่างเดียว"

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนและระบบสมาร์ทฟาร์มแก่เกษตรกร และผู้สนใจให้มีทักษะ ความรู้ และความเข้าใจในการเลือกใช้องค์ความรู้ของเทคโนโลยี
เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการแปรรูป พัฒนาบรรจุภัณฑ์ และสร้างช่องทางการตลาดแก่เกษตรกร และผู้สนใจ
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและระบบสมาร์ทฟาร์มของวิทยาลัยพลังงานทดแทนผ่านการดำเนินงานบริการวิชาการ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และเข้าใจในเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ระบบควบคุมอัจฉริยะทางการเกษตร และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ 2. กลุ่มเป้าหมายสามารถเผยแพร่ และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมให้กับประชาชนในชุมชนหรือในกลุ่มเกษตรกรรม อีกทั้งยังสามารถใช้ศักยภาพทางด้านพลังงานทดแทนภายในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 6 : หลักสูตรฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและระบบสมาร์ทฟาร์ม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 หลักสูตร 1
KPI 7 : ร้อยละของผู้รับการอบรมที่มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากผ่านการฝึกอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และเข้าใจในเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ระบบควบคุมอัจฉริยะทางการเกษตร และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ 2. กลุ่มเป้าหมายสามารถเผยแพร่ และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมให้กับประชาชนในชุมชนหรือในกลุ่มเกษตรกรรม อีกทั้งยังสามารถใช้ศักยภาพทางด้านพลังงานทดแทนภายในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม: การจัดฝึกอบรมทางด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและระบบสมาร์ทฟาร์ม
- ติดต่อประสานงานและเชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม และการเตรียมงาน
- จัดฝึกอบรมทางด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและระบบสมาร์ทฟาร์ม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุลักษณา  มงคล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ  พลวงษ์ศรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย  มณีชูเกตุ (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.ชวโรจน์  ใจสิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.อัครินทร์  อินทนิเวศน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา  นาเทเวศน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 54 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,100.00 บาท 0.00 บาท 8,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 54 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,780.00 บาท 0.00 บาท 3,780.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย
จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 2 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ
จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 2 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น เช่น กระดาษ ค่าถ่ายเอกสาร ปากกา สมุด แฟลชไดรฟ์ และอื่น ๆ เป็นเงิน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้า เช่น สายไฟ ปลั๊กไฟ เซ็นเซอร์ และอื่น ๆ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก ท่อพีวีซี กาว อะลูมิเนียม และอื่น ๆ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,720.00 บาท 0.00 บาท 8,720.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล