22448 : โครงการเพาะเริ่มรายได้ด้วยไมโครกรีน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 21/10/2567 11:38:50
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
21/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เกษตรกร แม่บ้าน ผู้สนใจอบรมพัฒนาสินค้าเกษตรเพื่อต้องการมีรายได้
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2568 40,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. พัชรณัฐ  ดาวดึงษ์
อาจารย์ ดร. ละออทิพย์  นะโลกา
อาจารย์ ดร. ศิริโสภา อินขะ  วรรณวงศ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68-2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ความต้องการในอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้คนกำลังมองหาวิธีที่ดีกว่าในการดูแลสุขภาพของตน ซึ่งทำให้พืชไมโครกรีน, ต้นอ่อนทานตะวัน ผักบุ้ง และผักอื่นๆ มีโอกาสที่จะได้รับความสนใจจากตลาด การปลูกไมโครกรีน ไม่ต้องการพื้นที่มากและสามารถทำได้ในพื้นที่จำกัด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นโครงการทางการเกษตรโดยไม่ต้องลงทุนมาก สามารถปลูกได้ในพื้นที่จำกัด เช่น บนระเบียงหรือที่ว่างในบ้าน ทำให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นที่ใหญ่ ไมโครกรีน มีการใช้งานในอาหารและเครื่องปรุงรสที่หลากหลาย น่าสนใจในการนำไปใช้ในอาหารที่แตกต่างกัน มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ผู้ปลูกสามารถปรับปรุงกระบวนการปลูกและการผลิตได้ตามความต้องการของตลาด สามารถเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืชหรือวิธีการปลูกเพื่อตอบสนองตลาดได้ในระยะเวลาสั้น ในกระบวนการงอกของเมล็ดพืช จะมีกระบวนการเพื่อให้ได้สารอาหารและพลังงานต่าง ๆ จำนวนมากอย่างรวดเร็ว กระตุ้นให้พืชงอก และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อการแข่งขันและโน้มหาแสงเพื่อสังเคราะห์อาหาร ซึ่งในกระบวนการนี้จะมีเอนไซม์ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เอนไซม์ในต้นงอกมีหลากหลาย ชนิดด้วยกัน ในผักงอกช่วงหลังจากปลูกแล้วประมาณ 2-7 วัน มีเอนไซม์และ ปริมาณสารอาหารสูงที่สุด เอนไซม์ที่มีความสำคัญในต้นงอก และมีประโยชน์ ต่อร่างกายของมนุษย์คือ ซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (Superoxide dismutase =S.O.D.) ซึ่งเป็นเอนไซม์ในระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นตัวทำลายอนุมูลอิสระ และ โคเอนไซม์คิวเทน ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้น การบริโภคผักงอกที่มีเอนไซม์ทั้งสองนี้จึงเป็นประโยชน์กับสุขภาพ แต่มีข้อควรคำนึงคือ ความร้อนในการปรุงอาหารให้สุกจะทำลายเอนไซม์ที่มีอยู่ ในอาหาร โดยเอนไซม์จะถูกทำลายได้เมื่อความร้อนเกิน 45 องศาเซลเซียส นอกจากนี้เอนไซม์ยังอาจถูกทำลายหรือลดปริมาณลงได้ในสภาพความเย็น ผักงอก นอกจากจะมีเอนไซน์ที่มีประโยชน์แล้ว ยังมีการศึกษาว่ามีวิตามินและสารอาหาร สูงกว่าพืชชนิดเดียวกันที่เจริญเต็มที่แล้ว เช่น ต้นอ่อนข้าวสาลีมีวิตามินบี12 เพิ่มขึ้น 4 เท่า วิตามินบีอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 3-12 เท่า วิตามินอีเพิ่มขึ้น 3 เท่า ถั่วงอก มีวิตามินเอมากกว่าเมล็ดถั่วแห้ง 2.5 เท่า (การเพาะผักงอก,กรมส่งเสริมการเกษตร,2559) ดังนั้น เพาะเริ่มรายได้ด้วยไมโครกรีน เพิ่มโอกาสในการขายผลผลิตที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ตอบสนองตลาดที่กำลังเติบโต และเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นโครงการทางการเกษตรโดยไม่ต้องลงทุนมาก ดังนั้น โครงการการสร้างรายได้ด้วยไมโครกรีนมีความสำคัญเนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ตอบสนองตลาดที่กำลังเติบโต และเป็นทางเลือกสำหรับการเพิ่มรายได้ในช่วงเวลาสั้นๆ อีกทั้งยังสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีทรัพยากรมากมายในการเริ่มต้นโครงการ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนและผู้ที่สนใจ ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้และเสริมสร้างธุรกิจเพาะปลูกพืชจิ๋วไมโครกรีนที่ยั่งยืนและสร้างรายได้
2. เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพื้นที่จำกัดโดยการเพาะปลูกไมโครกรีน ซึ่งเป็นทางเลือกในการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนและปลอดภัย
3. เพื่อสร้างพื้นที่เรียนรู้และการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความเข้าใจในกระบวนการเพาะปลูกและการดูแลไมโครกรีน รวมถึงการบริหารจัดการธุรกิจเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาอาชีพ/สร้างรายได้ ด้านสินค้าเกษตร
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.04 ล้านบาท 0.04
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 7 : จำนวนผลผลิต / ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
75 กิโลกรัม 75
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาอาชีพ/สร้างรายได้ ด้านสินค้าเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
1) ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของเกษตรกรผู้สนใจ ในพื้นที่บ้านวังหงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พัชรณัฐ  ดาวดึงษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ศิริโสภา อินขะ  วรรณวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
2) เตรียมโครงการ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และสื่อการสอนรู้เพื่อการถ่ายทอดความรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พัชรณัฐ  ดาวดึงษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ศิริโสภา อินขะ  วรรณวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าวัสดุเกษตร เช่น เมล็ดพันธุ์ ถาดเพาะ ขุยมะพร้าว แกลบดำ ดินปลูก ฯลฯ เป็นเงิน 14,600 บาท
3. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ทิชชู ผ้าขาวบาง ถุงพลาสติก ตะกร้า กระบอกฉีดน้ำ เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 19,600.00 บาท 0.00 บาท 19,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 19600.00
ชื่อกิจกรรม :
3) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเพาะงอกพืชไมโครกรีน อาหารปลอดภัยเพิ่มรายได้และติดตามประเมินผลหลังจากอบรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พัชรณัฐ  ดาวดึงษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ศิริโสภา อินขะ  วรรณวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 58 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 130 บาท เป็นเงิน 7,540 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 58 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 4,060 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลพร้อมขาตั้ง (ขนาด 80cm.x 120 cm.) จำนวน 2 ป้าย ๆ ละ 700 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 13,000.00 บาท 0.00 บาท 13,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
3. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 1 วัน ๆ ละ 5 คน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,400.00 บาท 0.00 บาท 7,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20400.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชสวนเศรษฐกิจ (ทพ 320) และวิชา ธุรกิจเกษตร (ทพ333) ของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช ชั้นปีที่ 2 และ 3 จำนวน 30 คน พท461 เทคโนโลยีการเกษตร
ช่วงเวลา : 18/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล