22446 : โครงการการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อชุมชนยั่งยืนด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
อาจารย์ ดร.แสงเดือน อินชนบท (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/10/2567 8:37:35
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/06/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  25  คน
รายละเอียด  เกษตรกรในตำบลสันป่าเปาและเกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียง
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ แหล่งงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี) 2568 300,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. แสงเดือน  อินชนบท
ดร. จันทร์เพ็ญ  สะระ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68 AP 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด 68 AP 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 AP 2.3.2.1 ขับเคลื่อนการสำรวจผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมายจากการให้บริการวิชาการและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นเมืองเกษตรกรรมมีการปลูกพืชหลากหลายชนิด เช่นในกลุ่มพืชผักก่อนปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตผลิตที่ดีมีคุณภาพและปลอดภัย จะต้องมีการวางแผนการปลูกเลือกชนิดผักให้เหมาะสมกับฤดูกาลปลูก ช่วงเวลาการปลูกและพื้นที่ปลูก นอกจากนี้แล้วเทคนิคการขยายพันธุ์ และการทำปัจจัยการผลิตเพื่อไว้ใช้เองในพื้นที่ยังเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการทำการเกษตรในปัจจุบัน เนื่องจากปัจจัยการผลิตที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีราคาค่อนข้างสูงมาก ทำให้ผู้ผลิตหรือเกษตรกรต้องสูญเสียเงิน ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรที่ผลิตในระบบเคมีทั่วไป ซึ่งนอกจากจะมีต้นทุนการผลิตที่สูงแล้วยังทำให้ต้องสูญเสียสุขภาพที่ด้วยเนื่องจากมีการใช้สารเคมีอยู่เป็นประจำ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วพื้นที่ปลูกพืชในชุมชนต่างๆ ของประเทศไทยมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอยู่เป็นจำนวนมาก และที่ผ่านมาเกษตรกรหรือชุมชนต่างมีวิธีกำจัดเศษซากพืชด้วยวิธีการปล่อยให้ผุสลายไปกลายเป็นปุ๋ยด้วยธรรมชาติหรืออาจใช้วิธีการเผาเป็นส่วนมาก ซึ่งเมื่อสมัยก่อนการเผาอาจมีจำนวนไม่มากนักจึงทำให้เกิดมลพิษทางอากาศเพียงเล็กๆน้อยๆไม่นานก็เข้าสู่สภาพปกติ แต่ปัจจุบันประชากรในแต่ละพื้นที่ทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น ทำให้พื้นที่ทำการเกษตรลดจำนวนลงเพื่อนำไปใช้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาการ ทำให้พื้นที่ในการทำการเกษตรถูกลดจำนวนลง ซึ่งสวนทางกับความต้องการบริโภคของประชาการที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้เศษซากพืชที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวหรือใบไม้ที่ร่วงหล่นลงถูกรีบกำจัดด้วยการเผาเพื่อความเร่งรีบในการใช้พื้นที่เพาะปลูกให้ได้มากที่สุดในแต่ละช่วงของการปลูก เนื่องจากต้องผลิตให้ได้จำนวนมากเพื่อเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค แต่ปัญหาจากการเผาปัจจุบันมีความรุ่นแรงเพิ่มขึ้นดังเห็นได้จากข่าวสารข้อมูลที่มีปรากฏอย่างมากมายตามสื่อต่าง ๆ ถึงผลกระทบที่ได้รับจากจากฝุ่น PM2.5 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยตรง ส่งผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติต่าง ๆ มากมายทำให้กระทบต่อการดำเนินชีวิต เนื่องจากมีผลต่อสุขภาพทำให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพและทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินด้านสาธารณสุขต่อปีเพิ่มขึ้น เพราะประชาการได้รับผลกระทบจากการเผาเศษซากพืชโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์กับผลเสียที่เกิดขึ้นดังกล่าว ซึ่งทางผู้จัดทำโครงการจึงเล็งเห็นความสำคัญของการลดการเผาเศษซากพืชทั่วไปและจากภาคเกษตรกรรม ปัจจุบันทางผู้จัดทำโครงการได้มีการนำปุ๋ยหมักดังกล่าวไปผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาปุ๋ยหมักให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูงด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภัณฑ์มีชีวิต ซึ่งเป็นการจัดการของเสียให้เป็นศูนย์ (ZERO WASTE) ช่วยให้ได้สูตรที่เหมาะสมสำหรับเป็นทั้งวัสดุเพาะกล้าและวัสดุปลูกผักแต่ละชนิดในระบบเกษตรอินทรีย์ (Organic) และระบบปลอดภัย (GAP) และเมื่อหลังการปลูกพืชผักต่างๆ แล้วสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการดูแลรักษาพืชผักที่ปลูกไม่ให้มีศัตรูพืชเข้ามารบกวนหรือทำลาย ซึ่งปัจจุบันจะพบว่ามีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชในปริมาณที่สูง โดยจากรายงานพบว่าประเทศไทยนำเข้าสารเคมีมาใช้ในประเทศอยู่ในลำดับที่ 7 ของโลก และมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แต่การใช้สารเคมีทางการเกษตรดังกล่าวมีผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อได้รับสารกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกาย รวมไปถึงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งการแพร่กระจายสู่อากาศ สะสมในแหล่งน้ำและในดิน มีผลต่อแมลงหรือสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ จากข้อมูลข้างต้นชี้ให้เห็นว่าการทำเกษตรที่มีการใช้สารเคมีทำให้เกิดการสะสมของโลหะหนักที่มาจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งส่งผลทำให้ต้นพืชดูดซับสารเคมีที่มากจากการสะสมสารเคมีในดินที่ปนเปื้อน จึงพบว่าปัจจุบันประชากรในประเทศไทยมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้นทุกปี ดังนั้นในการผลิตพืช เกษตรกรจึงควรหันมาใช้ปัจจัยการผลิตที่ปลอดภัยเช่น การใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชซึ่งมีความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ดังนั้นผู้จัดทำโครงการจึงมีความร่วมมือแบบบูรณาการระหว่างคณาจารย์ระหว่างคณะต่างๆเพื่อนำองค์ความรู้ที่ผ่านการศึกษาวิจัยจากทางมหาวิทยาลัยลงไปสู่ชุมชุน ในด้านต่างๆ ได้แก่ การวางแผนการผลิตพืชผักให้เหมาะสมในแต่ละฤดูกาลและพื้นที่การผลิต การขยายพันธุ์ การทำปัจจัยการผลิตต่างๆ การช่วยลดการเผา ทำให้สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ และผลผลิตที่ได้สามารถสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ให้กับครอบครัวและชุมชนซึ่งทำให้ช่วยสร้างอาชีพเสริมหรือเป็นอาชีพหลักให้กับคนในชุมชน โดยโครงการนี้ได้นำเอาองค์ความรู้ด้านการผลิตพืชผักและการทำปัจจัยการผลิตภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์ร่วมถ่ายทอดสู่กลุ่มเกษตรกร ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนองงานโครงการพระราชดำริ ด้านโครงการการพัฒนาทางการเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับ SCGs : เป้าหมายที่ 1: ขจัดความยากจน ; เป้าหมายที่ 2: ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการสำหรับทุกคนในทุกวัย ; เป้าหมายที่ 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และ เป้าหมายที่ 12: แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักคุณภาพสูงด้วยจุลินทรีย์มีชีวิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยระบบเกษตรอินทรีย์
เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาวัสดุเพาะกล้าและวัสดุปลูกจากปุ๋ยหมักคุณภาพสูงด้วยระบบอินทรีย์
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิคการเลือกชนิดผักสวนครัวเพื่อปลูกให้เหมาะตามฤดูกาล เทคนิคเพาะกล้าและการปลูกผักสวนครัวด้วยระบบเกษตรอินทรีย์
เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและเทคนิคการขยายพันธุ์พืชผักด้วยเทคนิคสร้างต้นพืชผักหลากหลายพันธุ์ (ผักแฟนซี)
เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสารชีวภัณฑ์มีชีวิตเพื่อควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชในระบบเกษตรอินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการลดต้นทุนการผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์
KPI 1 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
25 25 คน 25
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณี่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
201250 98750 บาท 300000
KPI 5 : จำนวนชุมชน/ท้องถิ่นที่มหาวิทยาลัยเข้าไปช่วยพัฒนา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ชุมชน 2
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนโครงการบริการวิชาการเพื่อสนองงานตามพระราชดำริ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 โครงการ 1
KPI 8 : ความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการลดต้นทุนการผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 1 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักคุณภาพสูงด้วยจุลินทรีย์มีชีวิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.จันทร์เพ็ญ  สะระ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 25 คน จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,750.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 25 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 120 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น มูลวัว บัวรดน้ำ สายยาง จอบ คราด พลั่ว กากน้ำตาล รำละเอียด ป้ายพลาสติก ถุงดำ เชื้ออีเอ็ม เชื้อไตรโคเดอร์มา เชื้อไมคอร์ไรซา ฟางข้าว เป็นต้น เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 55,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 55,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงขยะ ถังน้ำ ไม้กวาดแข็ง ไม้กวาดอ่อน มีด เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน ได้แก่ กระดาษ A4 ไม้บรรทัด สมุด ปากกา ซองเอกสาร แฟ้มห่วง แฟ้มหนีบ ปากกาเมจิก กระดาษแข็ง ฟิวเจอร์บอร์ด เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 145,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 145,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 212250.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 2 ถ่ายทอดความรู้และเทคนิคการเตรียมพื้นที่ปลูกพืชผัก การเลือกชนิดผักเพื่อปลูกตามฤดูกาล การเพาะกล้า และการปลูกผักสวนครัว ภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.จันทร์เพ็ญ  สะระ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 25 คน จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,750.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 25 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 120 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ปุ๋ยหมักอินทรีย์ บัวรดน้ำ สายยาง จอบ คราด พลั่ว กากน้ำตาล รำละเอียด ป้ายพลาสติก เชื้ออีเอ็ม เชื้อไตรโคเดอร์มา เชื้อไมคอร์ไรซา ฟางข้าว เชื้อไมคอร์ไรซ่า สะเดา(ชนิดผง/น้ำ) เป็นต้น เชือกฟาง ตลับเมตร เมล็ดพันธุ์ผัก ถาดเพาะกล้า วัสดุเพาะ ป้ายแท็ค เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 60,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถังน้ำ(มีหูหิ้ว) ถังน้ำ(มีฝาปิด) ไม้กวาดแข็ง เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 69750.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 3 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเปลี่ยนยอดผักเพื่อต้านทานโรคและความหลากหลายของสายพันธุ์ (ผักแฟนซี)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.จันทร์เพ็ญ  สะระ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 25 คน จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,750.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 25 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 120 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ถุงดำ กระถาง มีคัดเตอร์ กรรไกรตัดแต่งกิ่ง มีตอนกิ่ง เทปพันกิ่ง กิ๊บหนีบกิ่ง วัสดุปลูก ปุ๋ยหมักอินทรีย์ ดินดำ แกลบเผา แกลบดิน บัวรดน้ำ สายยาง จอบ คราด พลั่ว กากน้ำตาล ป้ายพลาสติก ปุ๋ยน้ำหมัก ไม้ไผ่ พลาสติกใส ผ้าปูคลุมหญ้า(antiroot) เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 40,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ตะกร้าสี่เหลี่ยม กะละมัง มีดทำครัว เขียงไม้ กระติกน้ำ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 49750.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 4 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสารชีวภัณฑ์มีชีวิตเพื่อควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชผัก

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2568 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.จันทร์เพ็ญ  สะระ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 25 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 120 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาร หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา หัวเชื้อ บิววาเรีย หัวเชื้อไมคอร์ไรซา หัวเชื้อเมธาไรเซียม ถุงพลาติก ยางรัด ถุงดำ ถุงดำ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ตะกร้าสี่เหลี่ยม กะละมัง หม้อหุงข้าว ทัพพี ไม้พายข้าว กระติกน้ำ ถังมีฝาปิด เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 25 คน จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 49750.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 5 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาวัสดุเพาะกล้าและวัสดุปลูกจากปุ๋ยหมักคุณภาพสูงและจุลินทรีย์มีชีวิต ภายใต้ระบบอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2568 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.จันทร์เพ็ญ  สะระ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 25 คน จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 25 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 120 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ลังพลาสติก ถุงพลาสติก ตะกร้าพลาสติก ไม้กวาดแข็ง ไม้กวาดอ่อน ถังหิ้ว เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,250.00 บาท 0.00 บาท 4,250.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ถาดเพาะ เชื้อไตรโคเดอร์มา เชื้อไมคอร์ไรซา เมล็ดพันธุ์ผัก บัวรดน้ำ สายยาง เปลผสมพลาติก พลั่ว จอบ ไบโอชา แกลบดำ ปุ๋ยมูลไส้เดือน น้ำส้มควันไม้ ช้อนปลูก ฝักบัวสแตนเลส สายยาง เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 49000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ผักสวนครัว
ช่วงเวลา : 15/11/2567 - 14/02/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล