22444 : โครงการยกรับการบริหารจัดการน้ำตามแนวทางพระราชดำริต้นแบบตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ปีที่ 2
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วิรุญรัตน์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/11/2567 13:38:57
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/06/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  ประชาชนและเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ หรือสถานศึกษาอื่น หรือบุคคลที่สนใจเทคโนโลยีฯและมีจิตสาธารณะ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ แหล่งงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เงินกันไว้เบิกเหลือมปี) 2568 300,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วาสนา  วิรุญรัตน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68 AP 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด 68 AP 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 AP 2.3.2.1 ขับเคลื่อนการสำรวจผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมายจากการให้บริการวิชาการและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

น้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งการอุปโภคบริโภค การทำเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ การคมนาคมขนส่งทางน้ำ รวมทั้งยังมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสัตว์และการรักษาระบบนิเวศ ในอดีตประเทศไทยเคยมีน้ำใช้อย่างไม่จำกัด แต่สถานการณ์ปัจจุบันจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทุกปี การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการใช้น้ำมีมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังมีการทำลายป่าไม้ต้นน้ำอย่างต่อเนื่อง มีการชะล้างพังทลายของดิน แหล่งน้ำตื้นเขินเก็บกักน้ำได้น้อยลงส่งผลให้ประเทศเกิดภาวะขาดแคลนน้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนำมาซึ่งปัญหาน้ำหลากในฤดูฝน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชุมชนและพื้นที่เพาะปลูก ตลอดจนการขยายตัวของชุมชนและอุตสาหกรรมยังส่งผลให้เกิดปัญหามลภาวะทางน้ำ ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงการใช้ประโยชน์น้ำในทุกมิติ (สภาปฏิรูปแห่งชาติ, 2558) สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปรากฏการณ์ของเอลนีโญสร้างความเสียหายไปทั่วโลก กรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า ผิวน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ย ซึ่งจะมีผลกระทบแผ่กระจายไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่เท่ากัน ทั้งนี้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นคือ ดัชนีชี้วัดของขนาดเอลนีโญ (EI Nino-Southern Qscillation: ENSO) ที่สำคัญและชัดเจนตัวหนึ่ง ยิ่งอุณหภูมิสูงขึ้น ปรากฏการณ์ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น (สุโชติ, 2562) จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ปรากฏการณ์เอลนิโยจะปรากฏและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ปริมาณฝนที่ตกจะมีแนวโน้มต่ำกว่าปกติ ทำให้ประเทศต่าง ๆ ยังคงมีภาวะภัยแล้งเกิดขึ้นต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา บราซิล เกาหลีเหนือ รวมถึงประเทศไทยอีกด้วย (เกรียงศักดิ์, 2558) ภัยแล้งและน้ำท่วมขังสร้างความเสียหายให้กับประเทศและประชาชนอย่างมาก โครงการ “ธนาคารน้ำใต้ดิน” เป็นการดำเนินงานแก้ปัญหาภัยแล้งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยศาสตร์พระราชา เป็นการพัฒนาและแก้ไขการบริหารทรัพยากรน้ำด้วยการมีส่วนร่วม ที่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้งได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างการประสบความสำเร็จในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่น จังหวัดอุบลราชธานี ในอำเภอน้ำยืน อำเภอเขื่องใน สามารถแก้ปัญหาได้โดยที่เกษตรกรชาวนาสามารถทำนาในหน้าแล้งได้ใช้น้ำที่กักเก็บไว้ใต้ดินมาทำการเกษตรได้เป็นอย่างดี “ธนาคารน้ำใต้ดิน” เป็นทางเลือกหนึ่งที่รัฐบาลสามารถร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาชน เพื่อลดแก้ปัญหาภัยแล้งได้ในระดับหนึ่ง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการขยายผลการดำเนินการไปทั่วประเทศ ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสู่ความสำเร็จคือ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของภาครัฐ และแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในภาพรวมอย่างแท้จริง พื้นที่เทศบาลตำบลสันป่าเปา แบ่งเป็น 6 หมู่บ้าน มีประชากรจำนวน 4,706 คน 2,415 ครัวเรือน (กรมการปกครอง, 2565) มีความหนาแน่นเฉลี่ยของประชากรประมาณ 701 คน/ตารางกิโลเมตร ตำบลสันป่าเปามีเนื้อที่ทั้งหมด 4,037 ไร่ หรือประมาณ 6.46 ตารางกิโลเมตร เนื้อที่ทางเกษตรประมาณ 2,535 ไร่ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะพื้นที่มีความลาดเอียงจากทางทิศเหนือไปทางทิศใต้ สภาพดินโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีแหล่งน้ำธรรมชาติคือ แม่น้ำ 1 สาย ได้แก่ แม่น้ำกวง และมีลำเหมือง 3 สาย คือ ลำเหมืองริน ลำเหมืองกอน และลำเหมืองเฟยไฮ บึง หนอง และอื่น ๆ 2 แห่ง ได้แก่ หนองต้นสาร และหนองขัวโก แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ได้แก่ ฝายหนองอึ่ง บ่อน้ำบาดาล 562 แห่ง และประปาหมู่บ้าน บ้านพยากน้อย เทศบาลตำบลสันป่าเปาประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร ไม่เพียงพอกับความต้องการของชุมชน อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำที่นำมาใช้อุปโภคบริโภค เนื่องจากปริมาณน้ำใต้ดินแบบตื้นลดลง เพราะมีการขุดเจาะบ่อบาดาลและนำน้ำมาใช้ด้านการเกษตรจำนวนมากในพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน การเกิดปรากฏการณ์เอลนิญโญรุนแรงและชัดเจนในช่วงปี 2558 และปี 2562-2563 ส่งผลกระทบให้เกิดภัยแล้งขาดน้ำทั้งประเทศไทย ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวหน่วยงานท้องถิ่นยังไม่มีระบบการบริหารจัดการน้ำ และปะชาชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคภาคครัวเรือนและในการใช้น้ำทางการเกษตรที่มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติให้ถูกต้อง ซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงพอสำหรับการเกษตร ทำให้เกิดปัญหาการแย่งน้ำ อย่างไรก็ตามมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำ แต่เนื่องจากพื้นที่ของเทศบาลฯอยู่ในเขตเมืองมีจำกัดจึงควรเน้นการกักเก็บน้ำฝนที่ไหลหลากหรือท่วมขังเก็บไว้ใต้ดิน และสามารถนำมาใช้ในช่วงวิกฤตที่มีฤดูแล้งยาวนานได้ ทั้งในแง่ของการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ในการดำเนินงานยกระดับการบริหารจัดการน้ำเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารตามแนวทางพระราชดำริต้นแบบตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในปีที่ผ่านมา 2566 ซึ่งได้จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำและถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำชุมชนด้วยหลุมธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิดเพื่อเก็บน้ำลงดินจำนวน 49 หลุม เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังในฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง อย่างไรก็ตามในการติดตามผลของการดำเนินการในช่วงฤดูฝนหลังจากจัดทำหลุมธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิดเสร็จสิ้นในเดือนกรกฎาคม ปี 2566 ชุมชนแจ้งว่า สามารถช่วยให้น้ำที่เคยท่วมขังเป็นระยะเวลาหลายวันในบริเวณบ้านแห้งเร็วขึ้น แต่ในแง่ของผลในช่วงฤดูแล้งยังไม่ทราบผล เนื่องจากไม่มีการเก็บข้อมูลก่อนหน้าดำเนินการในช่วงแล้งเพื่อเปรียบเทียบ สำหรับ key success คือ การเพิ่มจำนวนหลุมฯให้กระจายเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ที่ปัญหาน้ำท่วมขัง และตรวจสอบและปรับปรุงหลุมธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิดเดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหลุมฯ ให้ดีขึ้น อีกทั้งจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนน้ำชุมชนได้แก่ แผนที่น้ำ แผนปรับปรุงแหล่งน้ำ ข้อมูลข้อเท็จจริง และแผนบำรุงรักษาแหล่งน้ำ ร่วมกับชุมชนเพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
ติดตามผลและดูแลรักษาหลุมธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิดเติมน้ำลงใต้ดินเดิมเพื่อรักษาประสิทธิภาพของหลุม
ถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำชุมชนด้วยการทำหลุมธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิดเติมน้ำลงใต้ดินกระจายเพิ่มเติมยังจุดที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขังและแล้ง
จัดทำแผนน้ำชุมชนเพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เจ้าหน้าที่เทสบาล ชุมชนและผู้เข้าร่วมอบรมฯมีความรู้ความเข้าใจ สามารถดูแลรักษาหลุมธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิดฯเพื่อรักษาประสิทธิภาพของหลุมฯได้ และการจัดทำแผนที่น้ำชุมชนตำบลสันป่าเปาเพื่อให้สามารถนำไปวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
KPI 1 : จำนวนหลุมธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิดเติมน้ำลงดินในครัวเรือน และพื้นที่สาธารณะปีที่ 2
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 หลุม 5
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
300000 บาท 300000
KPI 3 : ต้นแบบชุมชนการบริหารจัดการน้ำด้วยการจัดทำธนาคารน้ำ ใต้ดินแบบปิด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุมชน 1
KPI 4 : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจในการทำและดูแลรักษา หลุมธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิด
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 5 : แผนที่น้ำชุมชน แผนที่น้ำท่วม แผนที่น้ำแล้ง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ชุดข้อมูล 3
KPI 6 : ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
9 เดือน 9
KPI 7 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 ราย 30
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เจ้าหน้าที่เทสบาล ชุมชนและผู้เข้าร่วมอบรมฯมีความรู้ความเข้าใจ สามารถดูแลรักษาหลุมธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิดฯเพื่อรักษาประสิทธิภาพของหลุมฯได้ และการจัดทำแผนที่น้ำชุมชนตำบลสันป่าเปาเพื่อให้สามารถนำไปวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 1 ติดตามผลและดูแลรักษาหลุมธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิดเติมน้ำลงใต้ดินเดิมเพื่อรักษาประสิทธิภาพของหลุมฯ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา  วิรุญรัตน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าจ้างเหมาเตรียมอุปกรณ์ซ่อมแซมบำรุงหลุมธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิด (48 หลุม x 2,300 บาท x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
110,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 110,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-เอกสารประกอบการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจฯ (40 ชุด x 70 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม (30 คน x1 มื้อ ×1 วัน x มื้อละ 150 บาทx 2 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
9,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม (30 คน x 2 มื้อ ×1 วัน x มื้อละ 35 บาท x 2 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าชดเชยพาหนะส่วนตัว (50 กิโลเมตร ละ 4 บาทx 1 วัน x 2 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากรอบรมในพื้นที่ (ภายใน) (1 คนx 6 ชั่วโมง x600 บาทx2ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 134000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 2 จัดทำแผนน้ำชุมชนเทศบาลชุมชนสันป่าเปาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำของชุมชนตำบลสันป่าเปา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา  วิรุญรัตน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- เป็นค่าชดเชยพาหนะส่วนตัว (50 กิโลเมตร ละ 4 บาทx 7 วัน x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-จ้างเหมาสำรวจและจัดเก็บข้อมูลพื้นที่แหล่งน้ำผิวดินและใต้ดินในชุมชน ข้อมูลอุทกวิทยา (ท่วมแล้ง) เพิ่มเติมจากปีที่ 1 (จำนวน 6 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 10,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
60,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม (30 คน x1 มื้อ ×1 วัน x มื้อละ 150 บาทx 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม (30 คน x 2 มื้อ ×1 วัน x มื้อละ 35 บาท x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำแผนที่น้ำชุมชน (6 หมู่บ้าน x 10,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
60,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 128000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 3 ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยการสาธิตจัดทำระบบธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดเพื่อเติมน้ำลงใต้ดินเพิ่มเติม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา  วิรุญรัตน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าชดเชยพาหนะส่วนตัว (50 กิโลเมตร ละ 4 บาท x 2 วัน x 2 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม (30 คน x 1 มื้อ × 1 วัน x มื้อละ 150 บาทx 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม (30 คน x 2 มื้อ ×1 วัน x มื้อละ 35 บาท x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาออกแบบและจัดทำชุดสาธิตธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิดที่เหมาะสำหรับพื้นที่สาธารณะ ( 9 ชุด x 3,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 27,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 27,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากรภาคปฏิบัติภายใน (1 คนx 6 ชั่วโมง x 600 บาท x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 38000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล