22442 : โครงการการสร้างรายได้เพิ่มจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยการใช้เทคโนโลยีต้นทุนต่ำของกลุ่มกองทุนหมุนเวียนเมล็ดพันธุ์ข้าวประจำตำบลสันป่าเปา
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/10/2567 13:16:04
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/06/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  สมาชิกกลุ่มกองทุนหมุนเวียนเมล็ดพันธุ์ข้าวประจำตำบลสันป่าเปา
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ แหล่งงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี) 2568 300,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรสุดา  เผือกใจแผ้ว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เจนจิรา  หม่องอ้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาวิกา  กอนแสง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68 AP 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด 68 AP 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 AP 2.3.2.1 ขับเคลื่อนการสำรวจผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมายจากการให้บริการวิชาการและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น หรือเศรษฐกิจฐานราก จะต้องมีแนวทางการพัฒนาและการจัดการโดยชุมชนท้องถิ่น ให้ครบวงจรมากที่สุด มีการผลิต การแปรรูป การบริการ การตลาด มีการผลิตอาหารและของใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เมื่อมีผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมาก ก็ทำการจำหน่ายหรือแปรรูปต่อไปได้ ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการพัฒนาด้านอื่น ๆ ในพื้นที่ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ผู้คน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากจำเป็นต้องใช้ทั้งความรู้ที่สั่งสมมาในพื้นที่หรือที่เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของพื้นที่ และมีการพัฒนาให้ทันสมัยสอดรับกับความต้องการของชุมชน และเหมาะสมกับสถานการณ์ทีเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ผู้คนและชุมชนท้องถิ่น สามารถพึ่งพาตัวเองได้ มี รายได้มากกว่ารายจ่าย และสามารถพัฒนาเป็นผู้ผลิต ผู้สร้างงานบริการต่าง ๆ จากท้องถิ่นที่เข้มแข็ง สร้างสรรค์งานที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์ ทันสมัยและเชื่อมโยงกับระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีการนำแนวคิดด้านระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทชุมชุน เพื่อออกแบบเศรษฐกิจให้หมุนเวียนเป็นวงจรไม่รู้จบ โดยนำแนวคิดแบบองค์รวมที่ครอบคลุมหลักการสำคัญ 3 ข้อ คือ 1) ออกแบบสินค้าและบริการที่เน้นการรักษาต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ 2) เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการหมุนเวียนวัตถุดิบและสินค้า และ 3) ลดการเกิดของเสียและผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ซึ่งมีความสอดคล้องกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มีเป้าประสงค์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นโดยใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่เป็นประเทศเกษตรกรรมเกษตรยุคใหม่ แนวคิด Bio – Circular – Green Economy หรือ BCG Model เป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศรูปแบบใหม่ ที่มุ่งเน้น “การเติบโตเชิงคุณภาพ” สร้างความสมดุลของเศรษฐกิจที่เน้นการสร้างมูลค่า (Value-based Economy) การเติบโตที่เน้นการมีส่วนร่วม (Inclusive Growth) และสังคมที่มีการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากร (Circular Society) การสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เน้นการแปลงของเหลือใช้ทางการเกษตรหรือขอเสียให้เป็นแหล่งรายได้ในอนาคต สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการเดิมในระบบ รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาปิดช่องว่างให้การใช้ ทรัพยากรของประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม การลดการเผาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอันเป็นสาเหตุหลักของปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 และการสร้างความมั่นคงทางอาหารภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การนำแนวทางทฤษฎีใหม่ไปใช้ในการจัดการด้านการเกษตรและการจัดการที่ดิน การใช้เทคโนโลยีต้นทุนต่ำที่เหมะสมกับบริบทชุมชน การส่งเสริมการจัดสรรงบประมาณ และการกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในระดับครัวเรือน เป็นต้น จากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ผ่านแผนงานบริการวิชาการ “แม่โจ้โมเดลเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่” (TOWS Matrix) พบว่าชุมชนต้องการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันในตลาดให้ดียิ่งขึ้น ต้องการการส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีต้นทุนต่ำ การผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ทั้งพืชและสัตว์ และการใช้สารเคมีอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีความตระหนักรู้ในด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านปัญหาหมอกควันจากการเผา ผลตกค้างของสารเคมีทางการเกษตร หรือความต้องการในด้านอาหารปลอดภัย เมื่อได้นำข้อมูลจากกระบวนการดังกล่าวผสานกับแนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อพัฒนาชุมชนฐานรากให้มีความยั่งยืน สังเคราะห์ร่วมกับความต้องการของชุมชนในกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ต้องการการสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบเหลือทิ้งทางการเกษตรในชุมชน มาใช้ในอุตสาหกรรมและพลังงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ต้องการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ลดการเผาวัสดุเหลือใช้ และส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตและพลังงานชีวมวล อาทิ การไถกลบวัสดุทางการเกษตรหรือเศษซากพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทดแทนปุ๋ยเคมี การใช้เศษวัสดุการเกษตรมาใช้เลี้ยงสัตว์ การใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทน หรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานชีวมวล เป็นต้น จึงก่อให้เกิด โครงการบริการวิชาการ “การสร้างรายได้เพิ่มจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยการใช้เทคโนโลยีต้นทุนต่ำของกลุ่มกองทุนหมุนเวียนเมล็ดพันธุ์ข้าวประจำตำบลสันป่าเป่า” เพื่อตอบสองต่อความต้องการของชุมชนอันเป็นพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการพัฒนามหาวิทยาลัยไปพร้อมกับชุมชน สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิตที่ยึดถือการเกษตรเป็นฐานรากของการพัฒนาชีวิตที่เคารพและให้ความสำคัญกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรในชุมชนตำบลสันป่าเปาใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รวมถึงการพัฒนาแนวทางการจัดการวัสดุเหลือใช้ให้เกิดการหมุนเวียนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผลักดันให้เกษตรกรและชุมชนมีส่วนร่วมในการดาเนินงานจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ เพื่อสร้างทางเลือกในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดมูลค่าที่เหมาะสมกับพื้นที่ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างรายได้จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีต้นทุนต่ำ
2) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตสารชีวภัณฑ์และปุ๋ยหมักด้วยเทคโนโลยีอย่างง่าย
3) เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การสร้างรายได้เพิ่มจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยการใช้เทคโนโลยีต้นทุนต่ำของกลุ่มกองทุนหมุนเวียนเมล็ดพันธุ์ข้าวประจำตำบลสันป่าเปา
KPI 1 : ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
95 ร้อยละ 95
KPI 3 : วิธีการผลิตสารชีวภัณฑ์และปุ๋ยหมัก
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 วิธีการ 2
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.3 ล้านบาท 0.3
KPI 5 : สมาชิกกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 6 : รายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การสร้างรายได้เพิ่มจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยการใช้เทคโนโลยีต้นทุนต่ำของกลุ่มกองทุนหมุนเวียนเมล็ดพันธุ์ข้าวประจำตำบลสันป่าเปา
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 1 การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างรายได้จากวัสดุเหลือทิ้งในนาข้าวด้วยเทคโนโลยีต้นทุนต่ำ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรสุดา  เผือกใจแผ้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิรา  หม่องอ้น (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาวิกา  กอนแสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 1 วัน 3 ครั้ง เป็นเงิน 8,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 30 ชุด ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน ๆ ละ 200 บาท 1 วัน เป็นเงิน 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ฟางข้าวแปรรูป กระสอบ คราด เป็นเงิน 48,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 48,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 48,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษปรู๊ฟ เทปใส ไม้บรรทัด ปากกาเคมี เป็นเงิน 6,040 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,040.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,040.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 74640.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 2 การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างรายได้จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง สูตรวิศวกรรมแม่โจ้ 1

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรสุดา  เผือกใจแผ้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิรา  หม่องอ้น (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาวิกา  กอนแสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 1 วัน 3 ครั้ง เป็นเงิน 8,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 30 ชุด ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน ๆ ละ 200 บาท 1 วัน เป็นเงิน 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ เศษข้าวโพด ปุ๋ยยูเรีย สายยาง บัวรดน้ำ เป็นเงิน 44,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 44,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 44,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 65400.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 3 การส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตสารชีวภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีอย่างง่าย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรสุดา  เผือกใจแผ้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิรา  หม่องอ้น (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาวิกา  กอนแสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 1 วัน 3 ครั้ง เป็นเงิน 8,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 30 ชุด ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน ๆ ละ 200 บาท 1 วัน เป็นเงิน 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น หัวเชื้อ อาหารเลี้ยงเชื้อ เข็มเขี่ย ถุงใส เป็นเงิน 16,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 16,500.00 บาท 0.00 บาท 16,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ข้าวสาร ข้าวเปลือก เมล็ดข้าวโพด เมล็ดข้าวฟ่าง เป็นเงิน 36,500
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 36,500.00 บาท 0.00 บาท 36,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 73600.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 4 คลินิกพืช: ศัตรูข้าวและการจัดการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรสุดา  เผือกใจแผ้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิรา  หม่องอ้น (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาวิกา  กอนแสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 1 วัน 3 ครั้ง เป็นเงิน 8,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 30 ชุด ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาปริ้นส์และเข้าเล่มรายงาน เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน ๆ ละ 200 บาท 1 วัน เป็นเงิน 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ชุดพ่นสาร หัวพ่นยา ถังพ่นยา สารกำจัดศัตรูพืช เป็นเงิน 39,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 39,000.00 บาท 0.00 บาท 39,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ชุดตรวจดินภาคสนาม สวิง เป็นเงิน 20,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 20,500.00 บาท 0.00 บาท 20,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ฟิวเจอร์บอร์ด คลิปบอร์ด หมึกปริ้น เป็นเงิน 4,760 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,760.00 บาท 0.00 บาท 4,760.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 86360.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เครื่องมือ/วิธีการไม่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
เครื่องมือเกิดการเสียหายหลังจากใช้งาน
วัสดุเหลือทิ้งในนาข้าวไม่เพียงพอต่อการทำปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมักมีธาตุอาหารไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด
ขาดวัตถุดิบสำหรับผลิตสารชีวภัณฑ์
กลุ่มเกษตรกรไม่สามารถเข้ารับฟังการชี้แจงได้ครบตามจำนวนที่ตั้งไว้ อาจมีสาเหตุจากเป็นฤดูกาลเกี่ยวข้าว
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
สอบถามความต้องการจากกลุ่ม และจัดหาเครื่องมือที่มีคุณสมบัติตรงตามทักษะของสมาชิกกลุ่ม สามารถแกะซ่อมบำรุงในเบื้องต้นได้
แนะนำให้กลุ่มออมเงินสำหรับบำรุงรักษาเครื่องมือ
ให้ความรู้เพิ่มเติมในการเลือกวัสดุเหลือทิ้งประเภทอื่นๆ ในการทำปุ๋ยหมัก และกระบวนการหมักที่สอดคล้องกับวัตถุดิบที่มี
ปรับเป็นวัสดุปรับปรุงดินหรือผสมเป็นดินปลูกสูตรต่าง ๆ
โครงการเข้าไปให้คำปรึกษาหรือจัดหาวัตถุดิบที่ทางห้องปฏิบัติการของสาขาอารักขาพืชสามารถผลิตได้
ทำการประสานงานไปยังเกษตรตำบลและผู้นำกลุ่มก่อนเบื้องต้น และเข้าทำกิจกรรมตามวันและเวลาที่กลุ่มกำหนด ไม่ว่าจะเป็นช่วงเย็น – ค่ำ
แจ้งให้เกษตรนำดินในแปลงมาตรวจคุณภาพ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล