22437 : โครงการการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการหนี้และการลงทุนภาคครัวเรือนของเกษตรกรในพื้นที่ ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.เบญจวรรณ จันทร์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/10/2567 9:34:51
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/12/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  60  คน
รายละเอียด  - สมาชิกในครัวเรือนของเกษตรกรในพื้นที่บ้านแม่ยางส้าน ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ จำนวน 60 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4) 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิมพ์ชนก  สังข์แก้ว
น.ส. เบญจวรรณ  จันทร์แก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69ECON 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69ECON2-4 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับ
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-4.1 งบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-4.6.2 สนับสนุนการให้บริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-4.6 จำนวนโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-4.6.2 สนับสนุนการให้บริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ความยากจน เป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพราะความยากจนส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการพัฒนาทุนมนุษย์และความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งความยากจน ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนมากอยู่ในสภาพเปราะบาง ทั้งนี้เพราะความยากจนเป็นต้นเหตุของความอ่อนด้อยในหลายๆ ด้าน เช่น ครอบครัวที่ยากจนมักอยู่บ้านเรือนและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มีสุขภาพที่ไม่ดี รวมถึงการได้รับการศึกษาหรือฝึกทักษะทางอาชีพน้อยกว่า ต้องทำงานที่หนักและเสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่า โดยความยากจนมักมีความ “ส่งต่อ” จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งถือเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยความยากจนอาจมีปัจจัยมาจาก 1.ลักษณะทางธรรมชาติและสุขภาพร่างกาย 2.การเป็นชนกลุ่มน้อย ต่างเชื้อชาติและต่างวัฒนธรรม 3.การถูกจำกัดอิสรภาพหรือกักขังจองจำ และ 4.ความไม่เป็นธรรมทางโครงสร้างของสังคม เป็นต้น แม้ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา สถานการณ์สัดส่วนความยากจนของคนไทยจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสามารถลดสัดส่วนคนจนจากปี 2559 ร้อยละ 8.16 เป็นร้อยละ 6.24 ในปี 2562 ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้มีมาตรการในการช่วยเหลือจากภาครัฐในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบาง จากการข้อมูลการวิเคราะห์ลักษณะของครัวเรือนข้ามรุ่น พบว่า ครัวเรือนที่ยากจนส่วนใหญ่ไม่มีเงินออม การศึกษาอยู่ในระดับต่ำ และมีภาวะการพึ่งพิงสูง โดยอาชีพของครัวเรือนที่มีภาวะยากจนข้ามรุ่นส่วนใหญ่ คือ เกษตรกรรม จากสภาพพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลอาจส่งผลให้ขาดโอกาสในการเข้าถึงการพัฒนาทักษะความรู้ที่จำเป็นต่องการประกอบอาชีพในอนาคตของเด็กจากครัวเรือนยากจนข้ามรุ่น ทำให้ต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานทักษะต่ำหรือแรงงานกึ่งมีทักษะเท่านั้น ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับรายได้และคุณภาพชีวิต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมของประเทศ บ้านแม่ยางส้าน ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าผา บนเส้นทางหลวงหมายเลข 1192 ตามเส้นทางแม่แจ่ม - ดอยอินทนนท์ สภาพพื้นที่ชุมชนเป็นพื้นที่สูงเฉลี่ย 840 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และพื้นที่ทำกินอยู่ระดับ 800-1000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ อาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ คือ การทำข้าวไร่ ข้าวโพด และพืชผัก ซึ่งเป็นพืชเชิงเดี่ยว จากรายงานรายได้เฉลี่ยของประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม มีรายได้เฉลี่ย 19,195 บาท/คน/ปี จากข้อมูลปี 2560 เกษตรกรในอำเภอแม่แจ่มเป็นหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวมกันประมาณ 1,400 ล้านบาท และหนี้กองทุนหมู่บ้านอีกประมาณ 300 ล้านบาท (ไม่รวมหนี้อื่นๆ และหนี้นอกระบบ) (www.https://thecitizen.plus/thaiPBS) มีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การถือครองที่ดินทำกิน สภาพเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ ไม่มีความมั่นคงทางไฟฟ้า และการไม่ได้รับการบริการขั้นพื้นฐานจากภาครัฐ ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ยังคงมีฐานะยากจนและคุณภาพชีวิตต่ำ ผู้รับผิดชอบโครงการจึงตระหนักถึงความสำคัญในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการบริหารจัดการหนี้ของครัวเรือน การพัฒนาทักษะอาชีพที่ช่วยเพิ่มรายได้ กลุ่มครัวเรือนมีการจัดการการเงินที่ดี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการออมและการลงทุน ในพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในครัวเรือนในดียิ่งขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการจัดการด้านการเงินเพื่อมุ่งสู่การบริหารจัดการหนี้ในครัวเรือนเกษตรกร
เพื่อส่งเสริมอาชีพ ในการสร้างรายได้และพฤติกรรมการออมแก่ครัวเรือนเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ครัวเรือนเกษตรกรมีความรู้และทักษะในการบริหารจัดการหนี้ของครัวเรือนได้ดีขึ้น รวมถึงมีแนวทางในการลงทุนและการออมในอนาคต
KPI 1 : ครัวเรือนต้นแบบในการบริหารจัดการหนี้ การออมและการลงทุน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ครัวเรือน 5
KPI 2 : คัวเรือนเกษตรกรมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0152 ล้านบาท 0.0152
KPI 4 : จำนวนผู้เข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
ผลผลิต : ครัวเรือนเกษตรกรมีทักษะอาชีพเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยในการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนของตนเอง
KPI 1 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0298 ล้านบาท 0.0298
KPI 2 : โครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : โครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ครัวเรือนที่สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ (60 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 5 : ความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ครัวเรือนเกษตรกรมีความรู้และทักษะในการบริหารจัดการหนี้ของครัวเรือนได้ดีขึ้น รวมถึงมีแนวทางในการลงทุนและการออมในอนาคต
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมอบรมความรู้การประเมินศักยภาพครัวเรือนด้านการบริหารจัดการทางเงิน การจัดการหนี้สินและการออม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 03/02/2568 - 20/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ชนก  สังข์แก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.เบญจวรรณ  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 1 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษบรุ๊ฟ กระดาษ A4
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15200.00
ผลผลิต : ครัวเรือนเกษตรกรมีทักษะอาชีพเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยในการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนของตนเอง
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาทักษะอาชีพเพื่อลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง และพัฒนาต้นแบบครัวเรือนด้านการบริหารจัดการหนี้สิน และการออม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/06/2568 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.เบญจวรรณ  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ชนก  สังข์แก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,600.00 บาท 0.00 บาท 5,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 1 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 1 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ผัก วัสดุเพาะกล้า ถาดเพาะ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงขยะ กล่องโฟม ถุงมือ ถาดพลาสติก
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 29800.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ชุมชนมีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงและชาติพันธุ์ อาจส่งผลต่อการรับรู้และความเข้าใจต่อประเด็นอบรม
ช่วงเวลาการจัดกิจกรรมอาจไม่สอดคล้องกับชุมชน เช่น เป็นฤดูกาลเพาะปลูกพืชเป็นต้น
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประสานกับวิทยากรที่มีความสามารถในการอธิชายให้ผู้สูงอายุเข้าใจได้โดยง่าย
ประสานกับทางผู้นำชุมชน เพื่อนัดหมายเวลาในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกัน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การนำนักศึกษาไปฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา ศส422 บัญชีเพื่อการจัดการสหกรณ์ (Accounting for Cooperative Management) และรายวิชา 10503114 พุทธเศรษฐศาสตร์กับการพัฒนา (Buddhist Economics and Development) โดยนำนักศึกษาตัวแทนจำนวน 5 คน เข้าร่วมประชุมในการเตรียมการก่อนลงพื้นที่ และเตรียมองค์ความรู้ที่จะร่วมถ่ายทอดสู่ชุมชน ทั้งเป็นวิทยากรร่วมในการปฏิบัติด้านการคำนวณ
ช่วงเวลา : 03/02/2568 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล