22432 : โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/10/2567 14:14:19
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
17/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  1) กลุ่มเกษตรกรผู้สนใจ ตำบลทุ่งแค้ว อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ จำนวน 25 คน 2) กลุ่มเกษตรกรผู้สนใจ ตำบลวังธง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 25 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2568 40,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ขวัญจรัส  เชิงปัญญา
อาจารย์ ดร. จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฉันทนา  ซูแสวงทรัพย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิรดี  เสียงสืบชาติ
อาจารย์ ดร. วันวสา  วิโรจนารมย์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68-2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เห็ดฟางและเห็ดนางฟ้าถือเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างมากของประเทศไทยเนื่องจากเป็นเห็ดที่มีการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศโดยมีผลผลิตรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณผลผลิตเห็ดทั้งหมดในประเทศ อีกทั้งเห็ดฟางและเห็ดนางฟ้าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพราะประกอบไปด้วยโปรตีนและเส้นใยเป็นจำนวนมากแต่มีไขมันเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้แล้วยังมีสรรพคุณทางยาโดยเห็ดฟางสามารถช่วยลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงโลหิต ป้องกันการเจริญเติบโตของไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยย่อยอาหาร แก้ร้อนใน ส่วนเห็ดนางฟ้านั้นสามารถช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยการไหลเวียนของโลหิต บรรเทาอาการปวด อาการตะคริว ยับยั้งเนื้อร้ายหรือมะเร็ง ได้อีกด้วย ดังนั้นเห็ดฟางและเห็ดนางฟ้าจัดเป็นอาหารที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ ในทุกๆปีประเทศไทยมีแนวโน้มในการผลิตเห็ดเพิ่มขึ้น โดยประมาณร้อยละ 95 เป็นการผลิตเห็ดเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศและประมาณร้อยละ 5 เป็นการผลิตเห็ดเพื่อการส่งออก จากตัวเลขข้างต้นแสดงให้เห็นว่าภายในประเทศยังมีความต้องการบริโภคเห็ดอยู่เป็นจำนวนมาก โดยการผลิตเห็ดในหลายๆ ชุมชนยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายใน มีการนำเข้าเห็ดจากแหล่งผลิตขนาดใหญ่ภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นการส่งเสริมการผลิตเห็ดเศรษฐกิจในระดับชุมชน เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเหมาะสมเนื่องจากเป็นการส่งเสริมเกษตรกรรมที่สร้างความมั่นคงและความยั่งยืนในด้านอาหารและยาซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 1 ที่เน้นการขจัดความยากจนในทุกรูปแบบพื้นที่ อีกทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) ในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยเน้นการเกษตรสร้างมูลค่าภายในชุมชน ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย อันเนื่องมาจากประเทศไทยกำลังมีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ประจำปี 2564 (จปฐ.64) พบว่าร้อยละของผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่เท่ากับ 32.77 ซึ่งเป็นผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งตัวเลขแสดงร้อยละของผู้สูงอายุข้างต้นเป็นตัวเลขที่มีค่าค่อนข้างมาก ดังนั้นจังหวัดแพร่จึงเป็นจังหวัดหนึ่งที่ให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวกับการจัดการผู้สูงอายุ โดยจะเห็นได้จากการมีนโยบายที่ส่งเสริมให้จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดนำร่องและเป็นเมืองต้นแบบสุขภาวะในผู้สูงวัย นอกจากนี้แล้วจังหวัดแพร่ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และไม่ก่อภาระต่อสังคม จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลพบว่าเกษตรกรในพื้นที่อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ มีกลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้สูงอายุและมีศักยภาพในการปลูกพืชผักสมุนไพรปลอดภัย อีกทั้งกลุ่มเกษตรกรดังกล่าวมีความต้องการผลิตเห็ดปลอดภัยเพื่อการบริโภคในชุมชน ดังนั้นการส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรผู้สูงอายุได้หันมาผลิตเห็ดเศรษฐกิจปลอดภัยโดยใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีตามแนวทางเกษตรปลอดภัย/อินทรีย์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จะเป็นแนวทางการเสริมสร้างอาชีพใหม่ให้เกิดรายได้ขึ้นในชุมชน อีกทั้งในอนาคตสามารถต่อยอดด้วยการขยายเครือข่ายไปสู่ตำบลข้างเคียงหรือผลิตภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์ได้ และเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเพาะปลูกและแปรรูปเห็ดในขุมชนอีกด้วย สำหรับมุมมองในเชิงสังคมผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีเวลาว่าง ดังนั้นหากมีกิจกรรมร่วมกันเช่นการผลิตเห็ดเพื่อการบริโภคในชุมชนจะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ทำให้ไม่รู้สึกเหงาและเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุ ในมุมมองเชิงเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุบางรายไม่มีรายได้โดยรับเงินรายได้จากลูกหลานที่ไปทำงานต่างจังหวัด หากผู้สูงอายุมีรายได้เสริมจากการเพาะเห็ดก็จะเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีความอดทน ประณีต และเอาใจใส่ดูแล ดังนั้นการผลิตเห็ดเศรษฐกิจจึงเป็นอาชีพที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้แรงกายมาก อาศัยความพิถีพิถันในการดูแลและเก็บเกี่ยวผลผลิต อีกทั้งการผลิตเห็ดยังเป็นการเสริมสร้างความยั่งยืนของอาหารสุขภาพเพื่อตัวผู้สูงอายุเองและคนในชุมชน จึงควรมีการส่งเสริมให้เกิดเป็นอาชีพใหม่และสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะปฏิบัติด้านการเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจภายใต้ระบบเกษตรปลอดภัย/อินทรีย์
2. เพื่อส่งเสริมการนำเศษวัสดุเหลือใช้ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์
3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างรายได้จากการเพาะเห็ดในชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาอาชีพ/สร้างรายได้ ด้านการเกษตร (เห็ดเศรษฐกิจ)
KPI 1 : จำนวนนักศึกษาที่ลงพื้นที่ชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 คน 5
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 5 : ร้อยละของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.04 ล้านบาท 0.04
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 9 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : จำนวนครั้งในการจัดอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ครั้ง 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาอาชีพ/สร้างรายได้ ด้านการเกษตร (เห็ดเศรษฐกิจ)
ชื่อกิจกรรม :
1) แต่งตั้งคณะทำงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจรัส  เชิงปัญญา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วันวสา  วิโรจนารมย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา  ซูแสวงทรัพย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
2) วางแผนการดำเนินงานร่วมกับชุมชน การเตรียมโครงการ การประชาสัมพันธ์โครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจรัส  เชิงปัญญา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา  ซูแสวงทรัพย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วันวสา  วิโรจนารมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
3) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน พื้นที่ตำบลทุ่งแค้ว อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจรัส  เชิงปัญญา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา  ซูแสวงทรัพย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วันวสา  วิโรจนารมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2x3.0 เมตร เป็นเงิน 540 บาท
4. ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง ระยะทาง ไป-กลับ ศูนย์ประสานงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ถึง อบต.ทุ่งแค้ว อ.หนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ระยะทาง 85.50 กิโลเมตร ๆ ละ 4 บาท จำนวน 2 คัน เป็นเงิน 684 บาท
5. ค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานขับรถ จำนวน 1 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 160 บาท เป็นเงิน 160 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,284.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,284.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษเอสี่ กระดาษปรู๊ฟ ปากกา ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 1,152 บาท
2. ค่าวัสดุเกษตร เช่น หัวเชื้อเห็ด ฟางข้าว ถุงเพาะเห็ด เป็นเงิน 14,000 บาท
3. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ผ้าขนหนู ถุงพลาสติกร้อน ถุงขยะ เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,152.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,152.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 28636.00
ชื่อกิจกรรม :
4) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนพื้นที่ตำบลวังธง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจรัส  เชิงปัญญา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา  ซูแสวงทรัพย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วันวสา  วิโรจนารมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
3. ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง ระยะทาง ไป-กลับ ศูนย์ประสานงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ถึง อบต.วังธง อ.เมือง จังหวัดแพร่ ระยะทาง 66 กิโลเมตร
ๆ ละ 4 บาท จำนวน 1 คัน เป็นเงิน 264 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,164.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,164.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 11364.00
ชื่อกิจกรรม :
5) การติดตามให้คำปรึกษาและแนะนำ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจรัส  เชิงปัญญา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา  ซูแสวงทรัพย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วันวสา  วิโรจนารมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
6) สรุปผลโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจรัส  เชิงปัญญา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา  ซูแสวงทรัพย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วันวสา  วิโรจนารมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล