22428 : การประเมินความพร้อมในการพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามมาตรฐานความปลอดภัย (ESPReL Checklist)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
ดร.ณิชมน ธรรมรักษ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/10/2567 15:51:55
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  150  คน
รายละเอียด  1. ผู้บริหารมหาวิทยาลัย 2. ผู้บริหารและบุคลากรของหน่วยงายที่มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้เพื่อการเรียนการสอน หรือการทดลอง หรืองานวิจัย หรือกิจกรรมบริการวิชาการต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้แก่ 1) คณะวิทยาศาสตร์ 2) คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร 3) คณะผลิตกรรมการเกษตร 4) คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ 5) คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี 6) วิทยาลัยพลังงานทดแทน 7) สำนักงานมหาวิทยาลัย 8) สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ 9) อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้ แผนงานยุทธศาสตร์
แผนงานรอง: แผนงานยุทธศาสตร์การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม
ผลผลิต: ผลงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี
กิจกรรมหลักการบริหารงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี
แผนงานวิจัย / งานวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี / กองทุนเพื่อการวิจัย
งบเงินอุดหนุน / เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการตามแผนมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2) โครงการวิจัยสถาบัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
2568 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ดร. ณิชมน  ธรรมรักษ์
นาย พงศกร  ศิริ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิลาศลักษณ์  ศรแก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์
งานบริการวิชาการและวิจัย
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านโครงสร้าง
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.2 สร้างผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีการบูรณาการศาสตร์ โดยใช้เกษตรเป็นรากฐาน และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.2.1 จำนวนเงินวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลยุทธ์ 68 MJU 2.2.1.1 ผลักดันการวิจัยตามแผนแม่บทการวิจัยระยะ 15 ปี ที่สอดคล้อง กับทิศทางม.และของชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3. การสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยงานวิจัย และนวัตกรรม นำสู่การใช้ประโยชน์
เป้าประสงค์ 3.1 มีการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์เพื่อผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์
ตัวชี้วัด 14. จำนวนเงินวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการ และผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ความปลอดภัยถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งของการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เนื่องจากห้องปฏิบัติการนั้นมีความเสี่ยงและอันตรายด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากสารเคมี สารก่อมะเร็ง สาร กัมมันตภาพรังสี เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค และสารพันธุกรรม ที่สามารถแพร่กระจายออกสู่ภายนอกห้องปฏิบัติการ ทำให้สิ่งแวดล้อมปนเปื้อน หรือเกิดจากโครงสร้างพื้นฐานที่มีการออกแบบ และการจัดการด้านความปลอดภัยที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องได้ (ปวีณา และคณะ, 2556) ในประเทศที่พัฒนาแล้วการทำงานด้วยความปลอดภัยนั้นได้ถือปฏิบัติจนเกิดเป็นวัฒนธรรมของการทำงานที่ผู้ปฏิบัติมีความตระหนักรู้อยู่เสมอ ได้มีการออกกฎระเบียบพร้อมทั้งมาตราการกำกับดูแลความปลอดภัยต่าง ๆ รวมทั้งมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการออกมาอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันเหตุอันไม่ควรเกิดขึ้น เช่น การประกาศใช้ Occupational Health Guidelines for Chemical Hazards (OSHA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเป็นกฎหมายด้านความปลอดภัยและสุขภาพในการประกอบอาชีพของสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นยังมีมาตรฐานในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Good Laboratory Practice (GLP) ซึ่งระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติ เพื่อให้การศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ และได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะมีส่วนในการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพความน่าเชื่อถือของข้อมูลในการศึกษาวิจัยได้ ในระบบการศึกษาก็ได้มีการปลูกฝังวิธีทำงานอย่างปลอดภัยในทุกระดับ ผู้สำเร็จการศึกษาจึงได้รับการสร้างความตระหนักรู้ และเป็นพื้นฐานแนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (พรเพ็ญ, 2558) ปัจจุบัน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้พยายามผลักดันให้เกิดระบบการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 ภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory in Thailand (ESPReL) ซึ่งเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและเสนอแนวปฏิบัติในการยกระดับมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของ วช. ซึ่งมีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาความปลอดภัยทั้งในด้าน กระบวนการพัฒนา และการมีส่วนร่วมของห้องปฏิบัติการ ร่วมกับการใช้เครื่องมือในการพัฒนาความปลอดภัย ด้วยแนวปฏิบัติห้องปฏิบัติการปลอดภัย (Safety Guideline) และเครื่องมือสำรวจประเมินสถานภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ (ESPReL Checklist) ในการขับเคลื่อนการพัฒนาความปลอดภัย (ฉัตรชัย, 2558) พร้อมทั้ง วช. ยังได้ประกาศนโยบายส่งเสริมความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีและการขับเคลื่อน (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญหลัก เพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบการจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการและเกิดห้องปฏิบัติการปลอดภัยที่เป็นตัวอย่างในสถาบันอุดมศึกษา และเพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม วช. ได้พัฒนาระบบการสำรวจสภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ESPReL Checklist) เพื่อเป็นเครื่องมือให้หน่วยงานใช้ประเมินความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการด้วยตนเอง โดยใช้กลไกเครือข่ายระดับภูมิภาค (Network) และมหาวิทยาลัยแม่ข่าย (Node) ที่กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค ทำหน้าที่ขับเคลื่อนพัฒนาความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องให้กับมหาวิทยาลัย (Sub Node) ให้มีความครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ สำหรับการดำเนินงานยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการในภาคเหนือตอนบนนั้น วช. ได้สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถาบันแม่ข่าย เพื่อบริหารจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และเพื่อให้การยกระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการครอบคลุมเครือข่ายสถาบันการศึกษาในภาคเหนือตอนบนอย่างมีระบบ โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อเข้าร่วมเป็นมหาวิทยาลัยลูกข่ายด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ และมอบหมายให้คณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมในการดำเนินงานยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการในภาคเหนือตอนบน ซึ่งมีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วม เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานความปลอดภัย (ESPReL Checklist) จำนวน 4 ห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการศูนย์บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ห้องปฏิบัติการกลาง 3307 ห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ 2309 และห้องปฏิบัติการกลาง 2409 ซึ่งมีห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองมาตรฐานในรูปแบบ Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จำนวน 2 ห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการศูนย์บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และห้องปฏิบัติการกลาง 3307 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คณะกรรมการผู้นำกลุ่มชุมชนปฏิบัติ (คุณอำนวย) ด้านการพัฒนาบุคลากร กลุ่มงานช่วยวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “การจัดทำระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL Checklist ห้องปฏิบัติการการเรียนการสอน และห้องปฏิบัติการบริการวิชาการ” เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์ นำไปปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง ในการจัดการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ เกิดความปลอดภัยในการใช้งานสำหรับการเรียนการสอน การวิจัยของบุคลากรและนักศึกษา ตลอดจนการบริการให้กับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยผลจากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า สามารถสร้างความตระหนักถึงการนำระบบความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ESPReL Checklist) ให้ผู้ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานแล้ว ยังมีความเห็นว่า สามารถช่วยสนับสนุนภารกิจด้านการเรียนการสอน และการวิจัยของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวของมหาวิทยาลัย และรองรับการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มที่ 2 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมได้ โดยหลังการจัดกิจกรรมมีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมโครงการซึ่งสมัครใจเข้าร่วมการพัฒนาหลังจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 5 ห้องปฏิบัติการ ซึ่งน้อยกว่าจำนวนห้องปฏิบัติการตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (8 ห้องปฏิบัติการ) เนื่องจากเป็นกระบวนการใหม่ที่มีการนำเข้ามาใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงาน และส่วนใหญ่พิจารณาว่า ยังต้องใช้เวลาในการศึกษาเพิ่มเติม และอาจใช้งบประมาณในปรับปรุงห้องปฏิบัติการ แสดงให้เห็นว่า จะต้องมีการทบทวนองค์ความรู้ และกระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญอย่างต่อเนื่อง และผลักดันให้เกิดการเตรียมพร้อมให้ทันกับข้อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ เพื่อรองรับการเรียนการสอน วิจัย และบริการวิชาการของแต่ละหน่วยงานต่อไป ดังนั้น เพื่อเป็นสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของแต่ละหน่วยงานในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่รองรับการเรียนการสอน การทำงานวิจัย ต่าง ๆ มีลักษณะการใช้งานที่มีความหลากหลายตั้งแต่ ด้านปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เคมี วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์ทางด้านการเกษตรอื่น ๆ แต่ยังไม่มีมาตรการในการป้องกันและบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม คณะผู้วิจัย จึงมีความเห็นว่า ผลจากการสำรวจ และประเมินองค์ประกอบด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานความปลอดภัย (ESPReL Checklist) จะทำให้ทราบสถานภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ และสามารถนำข้อมูลจากการสำรวจมาวิเคราะห์ เพื่อหามาตรการ และแนวปฏิบัติในการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการของแต่ละคณะ เพื่อให้แต่ละคณะสามารถพิจารณาแนวทางการสนับสนุน และพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ รวมถึงการจัดสรรงบประมาณและสิ่งสนับสนุนให้เหมาะสมต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสำรวจ และประเมินสถานภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามมาตรฐานความปลอดภัย (ESPReL Checklist) ของวช.
เพื่อประเมิน และจัดทำข้อมูลแนวทางการขยายผลการพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้สอดคล้องมาตรฐานความปลอดภัย (ESPReL Checklist) ของวช.
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : สถานภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
KPI 1 : ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของแต่ละหน่วยงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 5 หน่วยงาน 9
KPI 2 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 50 ร้อยละ 50
KPI 3 : รายงานผลการประเมินสถานภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของแต่ละหน่วยงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 5 ฉบับ 9
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : สถานภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อกิจกรรม :
การให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 18/12/2567 - 30/04/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายพงศกร  ศิริ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิลาศลักษณ์  ศรแก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย
(จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม
(จำนวน 100 คน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 7300.00
ชื่อกิจกรรม :
การจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตาม ESPReL Checklist

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/12/2567 - 28/02/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิลาศลักษณ์  ศรแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายพงศกร  ศิริ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5000.00
ชื่อกิจกรรม :
การสำรวจ และเก็บข้อมูลสถานภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของแต่ละหน่วยงานเป้าหมาย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/10/2567 - 30/04/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายพงศกร  ศิริ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิลาศลักษณ์  ศรแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม
(จำนวน 20 คน ๆ ละ 35 บาท 9 ครั้ง เป็นเงิน 6,300 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,300.00 บาท 0.00 บาท 6,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบันทึกข้อมูล (จำนวน 150 ชุด x 40 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15300.00
ชื่อกิจกรรม :
การวิเคราะห์ ประเมิน และจัดทำแผน/แนวทางการยกระดับห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในแต่ละหน่วยงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิลาศลักษณ์  ศรแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายพงศกร  ศิริ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม
(จำนวน 100 คน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 100 คน ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 18500.00
ชื่อกิจกรรม :
การรายงานผลการประเมินความพร้อมของห้องปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายพงศกร  ศิริ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิลาศลักษณ์  ศรแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม
(จำนวน 100 คน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 400.00 บาท 400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3900.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล