22426 : โครงการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ด้วยอาหารอินทรีย์พื้นบ้าน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/10/2567 10:01:59
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักศึกษา ศิษย์เก่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนเป้าหมาย
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดาพร  ตงศิริ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดารชาต์  เทียมเมือง
น.ส. น้ำเพชร  ประกอบศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ขจรเกียรติ์  ศรีนวลสม
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-68-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-68-2.3 ส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด FT-68-2.3.1.(1) ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่น
กลยุทธ์ FT-68-2.3.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
ตัวชี้วัด FT-68-2.3.2.(2) จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ FT-68-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตัวชี้วัด FT-68-2.3.4.(4) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FT-68-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผู้บริโภคมีความใส่ใจในความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น มีความต้องการสินค้าสัตว์น้ำที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยทำให้ต้องผลิตสัตว์น้ำที่ดี และพัฒนามาตรฐานการเลี้ยงมุ่งสู่อินทรีย์ ประกอบกับแผนพัฒนาประเทศปี พ.ศ.2560-2564 รัฐได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรสู่ความเป็นเลิศด้านอาหารที่ครอบคลุมประเด็นปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเพียงพอและความหลากหลายต่อความต้องการในการบริโภคมีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล และมีความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง พื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 ไร่ในปี 2564 โดยการเร่งพัฒนาและขับเคลื่อนการผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านอาหาร มีหลักประกันมั่นคงด้านอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง (คณะกรรมการเกษตรอินทรีย์ แห่งชาติ, 2560) ซึ่งในระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์นั้นต้องใช้อาหารอินทรีย์สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ ซึ่งมีมาตรฐานการผลิตอาหารอินทรีย์สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ตามข้อกำหนดของเกษตรอินทรีย์ (สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์, 2560) ดังนี้คือ องค์ประกอบของอาหารได้จากวัตถุดิบธรรมชาติหรือเกษตรอินทรีย์หรือได้รับการยินยอมจากกรมประมง ให้มีส่วนประกอบที่ได้จากวัตถุดิบธรรมชาติหรือเกษตรอินทรีย์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และได้รับการอนุโลมจากกรมประมงให้มีส่วนประกอบอาหารสัตว์ที่ได้จากวัตถุดิบธรรมชาติหรือเกษตรอินทรีย์ ปริมาณที่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ในช่วงเวลาที่จำกัดช่วงหนึ่ง การใช้วิตามินหรือแร่ธาตุสังเคราะห์ในส่วนผสมของอาหาร ต้องได้รับการยินยอมจากกรมประมง และไม่ใช้สารเคมีและวัสดุต่อไปนี้ในอาหารสัตว์น้ำ คือ เคมีภัณฑ์กลุ่มเบตาอะโกนิสท์ เคมีภัณฑ์ชนิดคลอแรมเฟนิคอล ฟูราโซลิโดน อะโวพาร์ซิน ไนโตรฟูราโซน ยูเรีย กรดอะมิโนบริสุทธิ์ สารสังเคราะห์ที่กระตุ้นการกินอาหาร วัสดุหรือผลผลิตที่มีการดัดแปรพันธุกรรม สีผสมอาหารสังเคราะห์ และ สารที่ห้ามใช้ในอาหารสัตว์น้ำตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมอาหารสัตว์ ในขณะที่ ถ้าเป็นวัตถุดิบอาหารที่มีการจับมาจากธรรมชาติหรือรวบรวมวัตถุดิบจากธรรมชาติจะต้องมีความรับผิดชอบ โดยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาป่นที่มีการจับเพิ่มมากขึ้น แต่ปริมาณกลับลดลงทุกปี และข้อกำหนดอีกข้อคือ องค์ประกอบอย่างน้อยร้อยละ 50 ของโปรตีนต้องมาจากส่วนเหลือใช้หรือวัสดุอื่นที่ไม่เหมาะสมสำหรับการบริโภคของมนุษย์ จากหลักการที่กล่าวมาจึงทำให้การผลิตอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์อยู่ในรูปแบบของการสร้างอาหารธรรมชาติให้มีเพียงพอแก่ความต้องการของสัตว์น้ำ แต่อย่างไรก็ตาม การเกษตรอินทรีย์ และ ใช้วัตถุดิบพืชที่มาจากการเกษตรทั่วไปหรือเก็บจากธรรมชาติได้ แต่ต้องไม่เกิน 15% ของน้ำหนักแห้ง (โดยคำนวณจากน้ำหนักแห้งของอาหารทั้งปี) ก็จะมีส่วนทำให้การเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเพิ่มสูงขึ้น จากข้อกำหนดดังกล่าวทำให้มีการหาแนวทางเพื่อเพิ่มวัตถุดิบอินทรีย์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแนวทางในการดำเนินการนี้เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับหลักที่ทำให้เกิดความยั่งยืนในการทำการเกษตร และ เกิดแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการใช้วัตถุดิบอินทรีย์เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำ สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์
เพื่อทำให้เกิดรายได้ของชุมชนเพิ่มขึ้นจากผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกรได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แบบอินทรีย์ และ สามารถผลิตอาหารเพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์เพื่อเป็นอาชีพได้
KPI 1 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
KPI 2 : รายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ร้อยละ 5
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : สูตรอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงปลาในรูปแบบอินทรีย์ ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 สูตร 1
KPI 5 : ร้อยละของผู้นำไปใช้ประโยชน์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 8 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 10 : สนับสนุนงานด้านการเรียน การสอนในคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รายวิชา 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกรได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แบบอินทรีย์ และ สามารถผลิตอาหารเพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์เพื่อเป็นอาชีพได้
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรม เรื่อง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ด้วยอาหารอินทรีย์พื้นบ้าน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดาพร  ตงศิริ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารชาต์  เทียมเมือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.น้ำเพชร  ประกอบศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 55 คนๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,250.00 บาท 0.00 บาท 8,250.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 55 คนๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,850.00 บาท 0.00 บาท 3,850.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือฝึกอบรม ( 50 หน้า/เล่ม) จำนวน 50 เล่มๆละ 70 บาท 1 ครั้ง/รุ่น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 2 คน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 3 คน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม ปากกา กระดาษ A4
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ handy drive
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ปลาป่น กากถั่วเหลือง ปลายข้าว ข้าวโพด รำ อาหารเม็ด น้ำมันพืช
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 13,000.00 บาท 0.00 บาท 13,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น กาละมัง น้ำยาล้างจาน ฟองน้ำ ถังดำ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่สามารถติดต่อประสานงานกับพื้นที่ได้
จำนวนเกษตรกร หรือ ผู้สนใจน้อย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เร่งดำเนินการตั้งแต่เริ่มปีงบประมาณ
เพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล