22423 : โครงการ "ฐานการเรียนรู้สวนสมุนไพรแม่โจ้ชุมพรเพื่อการบริการวิชาการและพัฒนาผลิตภัณฑ์"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
อาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/11/2567 14:10:28
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักเรียน ประชาชนทั่วไป (เกษตรอินทรีย์ชุมชนบ้านในดวดตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร, เกษตรกรกลุ่มบ้านทุ่งทรายขาว ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร และเกษตรหมู่ 7 บ้านเขาชวาลา ตำบลคันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบโครงการบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์
นาย รังสิวุฒิ  สิงห์คำ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
นาย ชัยวิชิต  เพชรศิลา
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.68 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.68 : 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดียั่งยืน รักษ์โลก ไร้โรค (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.68 : 1.1.4 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 1.1.4.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรมรวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.68 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.68 : 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.68 : 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ฐานการเรียนรู้สวนสมุนไพร ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ถือเป็นอีกฐานการเรียนรู้หนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่น่าสนใจในการเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับนักเรียนนักศึกษาและบริการวิชาการให้แก่คนทุกระดับ ซึ่งฐานการเรียนรู้ได้จัดตั้งในปี พ.ศ.2559 และปี พ.ศ.2560 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการบริการวิชา งบประมาณแผ่นดิน โดยตั้งอยู่ ณ บริเวณป่ากระท้อน ของมหาวิทยาลัย และด้วยพื้นที่บริเวณฐานการเรียนรู้เป็นดินปนทราย ดังนั้นในการปลูก ขยายพันธุ์และการดูแล จะต้องได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ และใส่ใจมากเป็นพิเศษ แต่เนื่องด้วยไม่ได้มีการของบประมาณสนับสนุนในการดูแลฐานการเรียนรู้ให้มีความต่อเนื่อง และด้วยระยะเวลาที่ล่วงเลยไปจึงส่งผลให้ ต้นสมุนไพรตาย ขาดปุ๋ย ระบบน้ำชำรุดเสียหายจากการใช้งาน ชำรุดตามกาลเวลา รวมทั้งจากกิ่งกระท้อนหักร่วงหล่นทับ ส่วนป้ายสื่อความหมายชำรุดเสียหาย ซึ่งการดูแลฐานการเรียนรู้ควรได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องการการช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และสอดคล้องกับงานสนองโครงการในพระราชดำริให้มีความต่อเนื่อง รวมทั้งการตระหนักเห็นความสำคัญการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในปัจจุบันมีแนวโน้มนำมาใช้งานในรูปแบบสารสกัดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งพืชสมุนไพรไทยนอกจากนำมาเป็นอาหารแล้ว ยังมีการนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ใช้ด้านปศุสัตว์ ทางด้านการเกษตร เป็นต้น คุณสมบัติที่ทำให้สมุนไพรมีความโดดเด่นและหลากหลายในการนำมาใช้ประโยชน์ สิ่งที่สำคัญคือ สารสำคัญหรือองค์ประกอบทางเคมี ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น การยับยั้งจุลินทรีย์ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ มีประสิทธิภาพ (Efficacy) และความปลอดภัย (Safety) ในการใช้งานอย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จึงส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สมุนไพรมายาวอย่างนาน จากการเก็บรวบรวมข้อมูลสมุนไพรที่สามารถใช้งานตามประโยชน์ได้หลากหลายและคนทั่วไปสามารถนำมาใช้ปรุงยาได้ง่าย ที่เคยได้นำสมุนไพรปลูกลงแปลงและขยายพันธุ์ ในสวนสมุนไพรมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีมากกว่า 50 ชนิด ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย และสนองต่อวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่มุ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการเกษตรสุขภาวะระดับชาติ (well-being) และให้การดำเนินงานของฐานการเรียนรู้สวนสมุนไพรมีความต่อเนื่อง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสมุนไพรไทย สมุนไพรในท้องถิ่น การทำงานมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐ (แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกโรงพยาบาลละแม), หมอพื้นบ้านตำบลนาพญา และองค์ความรู้ทางด้านเคมี มาใช้ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพร สมุนไพรท้องถิ่นตามภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ประโยชน์ของสารสกัดจากพืชสมุนไพรให้มีการแพร่หลายเพิ่มมากขึ้น มีการบูรณาการกับการเรียนการสอน การบริการวิชาการให้กับชุมชน ซึ่งโครงการมีความสอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ ได้แก่ 1. โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงจากเสม็ดขาว จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2560 2. โครงการ สมบัติการต้านอนุมูลอิสระและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากใบเสม็ดเพื่อเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ภายใต้ชุดโครงการ การอนุรักษ์และพัฒนาต้นเสม็ดอย่างยั่งยืน จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2563 3. โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเสม็ดเพื่อใช้ประโยชน์ในการสลบสัตว์น้ำและเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2565

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาฐานการเรียนรู้สวนสมุนไพร ให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์พืชสมุนไพรในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ บางชนิด ที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์ในรูปแบบสารสกัด
เพื่อสร้างคุณค่าฐานการเรียนรู้สวนสมุนไพรมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทุกระดับ
เพื่อนำสารสกัดจากสมุนไพรมาเป็นส่วนผสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการตลาด
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาฐานการเรียนรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการตลาด
KPI 1 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 6 : ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาฐานการเรียนรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการตลาด
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนาฐานการเรียนรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 24/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายรังสิวุฒิ  สิงห์คำ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายชัยวิชิต  เพชรศิลา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาคนงานเกษตรดูแลฐานเพื่อเพาะขยายพันธุ์สมุนไพร กำจัดวัชพืช ตกแต่งแปลงจำนวน 1 คน 1 งาน เป็นเงิน 13,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
13,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 13,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 1 คน ๆ ละ 200 บาท 25 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,500.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ต้นสมุนไพร มูลสัตว์ ดินปลูก ขุยมะพร้าว ปุ๋ยอินทรีย์ สปริงเกอร์ ฯลฯ เป็นเงิน 4,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 22400.00
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการตลาด

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 24/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายชัยวิชิต  เพชรศิลา (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายรังสิวุฒิ  สิงห์คำ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน (เจ้าหน้าที่และผู้เข้าอบรม) จำนวน 29 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 80 บาท 2 วัน เป็นเงิน 4,640 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (เจ้าหน้าที่และผู้เข้าอบรม) จำนวน 29 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท 2 วัน เป็นเงิน 2,030 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,670.00 บาท 0.00 บาท 6,670.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 800 บาท 2 คน 2 วัน เป็นเงิน 6,400 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 800 บาท 2 คน 2 วัน เป็นเงิน 6,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,800.00 บาท 0.00 บาท 12,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุงานบ้าน เช่น ขวดพลาสติก น้ำยางล้างจาน กระดาษอเนกประสงค์ ถุงขยะดำถาดสแตนเลส ฯลฯ เป็นเงิน 2,630 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารตลอดทั้งโครงการ เป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,630.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท 3,130.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 22600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ดูแลขยายพันธุ์ ใส่ปุ๋ย การบำรุงดิน การจัดแต่งแปลงสมุนไพรในฐานการเรียนรู้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
นักวิชาการเกษตรร่วมปรับปรุงและหาวิธีการจัดการความเสี่ยงแก้ไขตามสถานการณ์แต่ละช่วงต่อไป ปรับปรุงดินให้มีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
สมุนไพรไทย สรรพคุณ สารสำคัญ และการใช้ประโยชน์ รายวิชาเคมีทั่วไป วิชาชีวเคมีเบื้องต้น วิชาเคมีอินทรีย์ ชีวเคมีเพื่อการเกษตร เคมีเพื่อการเกษตร
ช่วงเวลา : 01/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล