22375 : โครงการศูนย์เรียนรู้ปัจจัยสนับสนุนการผลิตพืชอินทรีย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/10/2567 15:22:43
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
16/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เกษตรกรและผู้สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2568 40,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ประกิตต์  โกะสูงเนิน
อาจารย์ ดร. ละออทิพย์  นะโลกา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68 MJU 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.6 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.6.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-1.การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68-1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68-1.1.6 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ 68-1.1.6.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งติดตาม ประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักซึ่งปัจจุบันคนไทยรุ่นใหม่หันมาสนใจเรื่องของเกษตรกรรมมากขึ้น ซึ่งไม่มีความรู้ด้านการเกษตรใช้สารเคมีในการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นแต่กลับก่อให้เกิดผลเสียต่อการผลิตผลที่ได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ นอกจากนี้ยังได้รับสารปนเปื้อนในสินค้าเกษตรทำให้ผู้บริโภครวมถึงเกษตรกรได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกษตรสู่ความเป็นเลิศด้านอาหารที่ครอบคลุมด้านปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยเพื่อสร้างความหลากหลาย ความต้องการในการบริโภคและมีความปลอดภัยรวมทั้งการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนผลผลิตทางการเกษตร ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างโอกาสเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาด้านการเกษตรมากขึ้น จากรายงานของสถาบันยุทธศาสตร์การค้า (2559) ที่ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์ทั่วโลก พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์มากเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจากจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ซึ่งพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์ทั่วโลกเท่ากับ 839,463 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์ในจีนร้อยละ 44.7 อินโดนีเซียร้อยละ 19.4 ฟิลิปปินส์ร้อยละ 10.5 เกาหลีใต้ร้อยละ 8.0 และไทยร้อยละ 6.2 อย่างไรก็ตามไทยก็ยังเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอินทรีย์มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก เนื่องจากทั้งจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้นั้นมีการส่งออกข้าวอินทรีย์น้อยมาก โดยผลผลิตข้าวอินทรีย์เกือบทั้งหมดบริโภคในประเทศเพราะความต้องการบริโภคข้าวอินทรีย์ในประเทศมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะทางพื้นที่ทางตะวันออกของประเทศจีนที่มีความต้องการบริโภคข้าวอินทรีย์เพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากผู้บริโภคเริ่มหันมาสนใจความปลอดภัยในการบริโภคอาหารมากขึ้นและผู้บริโภคมีรายได้สูงขึ้นทำให้มีความสามารถซื้อข้าวอินทรีย์บริโภคได้มากขึ้น นอกจากนั้น สถาบันยุทธศาสตร์การค้า (2559) ได้รายงานว่า ข้าวอินทรีย์ที่ประเทศไทยผลิตได้ร้อยละ 96 ส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ โดยปริมาณการส่งออกข้าวอินทรีย์ในปี 2550 เท่ากับ 14,400 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,500 ล้านบาท หรือทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 เมื่อเทียบกับในปี 2549 ซึ่งตลาดหลักสำคัญคือประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ซึ่งมีความต้องการข้าวอินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15-20 ต่อปี นอกจากนี้ตลาดข้าวอินทรีย์มีแนวโน้มที่ผู้ส่งออกข้าวอินทรีย์ของไทยจะสามารถเจาะขยายตลาดได้มากขึ้นคือ ตลาดสหรัฐ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ระบบเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญ ไม่เพียงแต่ข้าวเท่านั้น ยังมี พืช และสัตว์อื่นๆ ทั้งสัตว์บก และสัตว์น้ำ ที่ควรได้รับการพัฒนาและยกระดับการผลิตให้ได้ตามมาตรฐานการผลิตทั้งในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานเกษตรปลอดภัย การส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย จะเป็นการพัฒนาเกษตรกรให้สามารถผลิตด้านการเกษตรบบปลอดภัยทั้งต่อตนเอง ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิต และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้เกษตรกร ให้สามารถเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืนการใช้สารเคมีของเกษตรกรในภาคเหนือในปัจจุบันมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี และสารเคมีก็อันตรายและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากความเคยชินของเกษตรกรที่ได้รับคำแนะนำจากร้านขายสารเคมี และอีกประการหนึ่งความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับอันตรายและความรู้พื้นฐานที่มีน้อยส่งผลให้มีการใช้สารเคมีมากขึ้น ซึ่งนอกจากเป็นอันตรายแล้วยังทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรมากขึ้นด้วย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการให้ความรู้แก่เกษตรกรในกระบวนการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีทางเกษตร โดยการพัฒนาทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ การพัฒนาคุณภาพพื้นที่ดิน การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืช การจัดการศัตรูพืชโดยใช้สารชีวภัณฑ์ การพัฒนาสู่มาตรฐานการผลิตอาหารปลอดภัย ตั้งแต่ GAP พัฒนาไปสู่ระบบการผลิตแบบอินทรีย์ ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่ปลอดภัย และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างยั่งยืน ในการผลิตพืชจะมีระบบการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นหลัก ซึ่งเมื่อปุ๋ยเคมีมีราคาแพง ทำให้มีปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิต ทำให้เป็นหนี้สิน เมื่อมองประโยชน์ของการอนุรักษ์ดินแล้ว ชุมชนสามารถปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการทำการเกษตรกรรมได้ โดยการใส่อินทรียวัตถุลงสู่ดิน ซึ่งปุ๋ยหมักเป็นสารอินทรีย์ที่มีความสำคัญมาก สามารถผลิตได้เอง เป็นการใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ และสามารถเพิ่มผลผลิตจากกดินได้ ดังนั้น การส่งเสริมการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดินเพื่อนำปุ๋ยมูลไส้เดือนดินไปใช้ในการเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน และเป็นการปรับสภาพโครงสร้างดินให้เหมาะสมกับการผลิตพืชด้วย พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรกรรม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชพิธีพืชมงคล ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นประจำ รวมทั้งทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านเกษตรกรรมแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาโดยตลอด และทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการชลประทาน การสร้างเขื่อนต่าง ๆ โดยพระราชทานแนวพระราชดำริให้กรมชลประทานแก้ปัญหาตามที่ชาวบ้านกราบทูล ทำให้มีน้ำใช้ในการเกษตรอย่างอุดมสมบูรณ์และช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน นอกจากนี้ พระองค์ยังเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนเกษตรกร อาทิ ทรงเป็นประธานในการทำนาสาธิตโดยใช้ ปุ๋ยหมัก ณ ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙ ซึ่งในการนี้ ยังทรงปฏิบัติการสาธิตการทำนาด้วยพระองค์เอง ทรงถอดฉลองพระบาท ถลกพระสนับเพลา ทรงพระดำเนินลุยโคลน หว่านพันธุ์ข้าวปลูกและปุ๋ยหมักในแปลงนาสาธิต โดยมิได้มีกำหนดการไว้ก่อน นำพาความชื่นชม ปลาบปลื้มปีติและซาบซึ้งในพระราชจริยวัตรแก่บรรดาข้าราชการและประชาชนเป็นอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราโชบาย หลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นความรู้แก่พศกนิกรชาวไทย ซึ่งทำให้ประเทศไทยรอดพ้นวิกฤติการณ์ต่างๆหลายครั้งหลายครา โดยหลักของเศรษฐกิจพอเพียงจะนำไปสู่ระบบการเกษ๖รแบบยั่งยืน โดยหัวใจสำคัญ คือ การอนุรักษ์ดินและระบบนิเวศน์ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและเทคโนโลยีที่เหมาะสม การอนุรักษ์สังคมชนบทและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งทั้งหมดนั้นหมายรวมถึงระบบการเกษตรที่เป็นที่ยอมรับทั้งเกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อจัดทำฐานเรียนรู้ปัจจัยสนับสนุนระบบเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
2. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปัจจัยสนับสนุนในระบบเกษตรอินทรีย์ แก่เกษตรกรและผู้สนใจในการทำเกษตรอินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาอาชีพ/สร้างรายได้ ด้านเกษตรอินทรีย์
KPI 1 : ร้อยละของเกษตรกรที่นำองค์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
60 ร้อยละ 60
KPI 2 : เกษตรกรสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 6 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.02136 0.01864 ล้านบาท 0.04
KPI 8 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาอาชีพ/สร้างรายได้ ด้านเกษตรอินทรีย์
ชื่อกิจกรรม :
1) การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ปัจจัยสนับสนุนการผลิตพืชอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ประกิตต์  โกะสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เช่น พันธุ์ไส้เดือน มูลสัตว์ กากน้ำตาล เป็นเงิน 21,360 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
21,360.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 21,360.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 21360.00
ชื่อกิจกรรม :
2) ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตและการใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยมูลไส้เดือน เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในการผลิตพืชอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ประกิตต์  โกะสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 52 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 7,800 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 52 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,640 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 11,440.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,440.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 18640.00
ชื่อกิจกรรม :
3) ติดตามและประเมินผลผู้เข้าร่วมฝึกอบรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ประกิตต์  โกะสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชา ทพ 310 เทคโนโลยีการผลิตไร่เศรษฐกิจ รายวิชา ทพ330 เทคโนโลยีการผลิตพืชอัจฉริยะ รายวิชา ทพ 260 ปฐพีศาสตร์เบื้อลต้น รายวิชา ทพ130 ปฏิบัติงานฟาร์ม 1 รายวิชา ทพ131 ปฏิบัติงานฟาร์ม 2
ช่วงเวลา : 17/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล