22364 : โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์จากเมี่ยงของชุมชนบ้านน้ำจ้อมและบ้านนาตอง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/10/2567 12:43:23
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
17/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  ชาวบ้านบ้านนาตอง ชาวบ้านน้ำจ้อม และผู้ประกอบการ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2568 40,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ  กันบุตร
อาจารย์ ดร. เกษราพร  ทิราวงศ์
อาจารย์ ดร. อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง
อาจารย์ อโนชา  สุภาวกุล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68-2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

แนวทางการพัฒนาสำคัญสำหรับประเทศไทยในช่วงต่อจากนี้ไป เป็นความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทางสังคม สิ่งแวดล้อมและความร่วมมือด้านความมั่นคงในมิติต่างๆ ในทุกกรอบความร่วมมือทั้งระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และระดับโลก ทั้งการผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากกรอบความร่วมมือทวิภาคีและพหุภาคีที่มีอยู่แล้ว ในปัจจุบันและการทำข้อตกลงใหม่ๆ ในระยะต่อไปภายใต้แนวคิดการค้าเสรีและการยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือของอาเซียนกับหุ้นส่วน การพัฒนานอกอาเซียน ทั้งนี้โดยส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในทุกด้านให้เป็นบทบาทที่สร้างสรรค์ของ ประเทศไทย และการสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในอนุภูมิภาคและในภูมิภาค การขับเคลื่อนการพัฒนาภายใต้กรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมทั้งการนำกฎเกณฑ์ระเบียบปฏิบัติและมาตรฐานสากลทั้งในด้านคุณภาพสินค้าและบริการ สิทธิแรงงาน ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความมั่นคง ความโปร่งใส และอื่นๆ มาเป็นแนวปฏิบัติและบังคับใช้ สำหรับประเทศไทย แนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (Self-reliance) แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการส่งเสริมชุมชนหรือการพัฒนาชนบทที่สำคัญๆ คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนา คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก กิจกรรมและโครงการตามแนวพระราชดำริที่ดำเนินการอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศในปัจจุบันนั้นล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การพึ่งตนเองได้ของราษฎรทั้งสิ้น ในการพัฒนาทั้งด้านอาชีพและส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรสามารดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นปึกแผ่นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการแนะนำสาธิตให้ประชาชนดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาทเป็นไปตามหลักการพัฒนาสังคมชุมชนอย่างแท้จริง กล่าวคือ ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก ดังนั้น การที่ราษฎรในชนบทสามารถพึ่งตนเองได้มากยิ่งขึ้นนั้น สืบเนื่องจากแนวพระราชดำริด้านการพัฒนาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแก่เกษตรกร ในทางปฏิบัติเรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกใช้เทคนิควิธีการต่างๆ หลายประการเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายที่ทรงมุ่งหวังดังกล่าวนั้นมีหลายแนวทาง เช่น ก. การรวมกลุ่มประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาหลักของชุมชนชนบท ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาพึ่งตนเอง โดยเฉพาะการรวมตัวกันเป็นรูปของสหกรณ์ ดังนั้น ในทุกพื้นที่ที่เสด็จพระราชดำเนิน และมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นมาไม่ว่าลักษณะใด จะทรงเน้นเสมอถึงความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นให้เกิดการรวมตัวกันในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่รวมกัน หรือเพื่อให้การทำมาหากินของชุมชยโดยส่วนรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด จนเห็นได้ว่า กลุ่มสหกรณ์ในโครงการพระราชดำริที่ประสบความสำเร็จหลายโครงการนั้นพัฒนาขึ้นมาจากการรวมตัวกันของราษฎรกลุ่มเล็กๆ เช่น สหกรณ์หุบกระพงเกิดจากกลุ่มเกษตรกรที่ทำสวนผักในย่านนั้นเป็นต้น ข. การส่งเสริมโดยกระตุ้นผู้นำชุมชนให้เป็นผู้นำในการพัฒนาก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทรงใช้ในบางพื้นที่ตามความเหมาะสม ทรงพิจารณาผู้นำโดยเน้นในด้านคุณธรรม ความโอบอ้อมอารี ความเป็นคนในท้องถิ่นและรักท้องถิ่น จากนั้นทรงอาศัยโครงสร้างสังคมไทย โดยเฉพาะระบบอุปถัมภ์กระตุ้นให้ผู้นำชุมชนที่มักจะมีฐานะดี ให้เป็นผู้นำในการสร้างสรรค์ความเจริญให้กับท้องถิ่น โดยชาวบ้านที่ยากจนให้ความสนับสนุนร่วมมือ ซึ่งในที่สุดแล้วผลแห่งความเจริญที่เกิดขึ้นจะตกแก่ชาวบ้านในชุมชนนั้นทุกคน ดังพระราชดำริที่ว่า ในการทำงานทั้งปวงนั้น ทุกคนจะต้องตั้งใจจริง อดทนและขยันหมั่นเพียร ซึ่งตรงเห็นอกเห็นใจกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน มีเมตตามุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ยึดมั่นในสามัคคีธรรม ความสุจริตทั้งในความคิดและการกระทำ ถือเอาความมั่นคงและประโยชน์ร่วมกันเป็นจุดหมายสำคัญ ค. การส่งเสริมการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองนั้นจะต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบร้อนที่จะให้เกิดผลในทางความเจริญอย่างรวดเร็ว สิ่งสำคัญที่มีพระราชดำริอยู่เสมอ คือ ชุมชนจะต้องพึ่งตนเองได้ในเรื่องอาหารก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นจึงค่อยก้าวไปสู่การพัฒนาในเรื่องอื่นๆ การขยายการผลิตเพื่อการค้าใดๆ ก็ตาม ทรงมีข้อสังเกตเกี่ยวกับความพร้อมในด้านการตลาด โดยเฉพาะในด้านความรู้เบื้องตนเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีธุรกิจการเกษตรของชาวบ้านอย่างง่ายๆ อีกด้วย ซึ่งในเรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก่กรรมการ กปร. และคณะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ณ ศาลาดุสิดาลัย ความตอนหนึ่งว่า ในด้านหนึ่งที่ไม่เคยคิดกัน ในด้านการพัฒนา เช่น เจ้าหน้าที่บัญชี ถ้าหากว่าทำการเพาะปลูก ชาวบ้านทำการเพาะปลูก เมื่อมีผลแล้วเขาบริโภคเองส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็ขายเพื่อให้ได้ มีรายได้ แล้วก็เมื่อมีรายได้แล้วก็ไปซื้อของที่จำเป็นและสิ่งที่จะมาเกื้อกูลการอาชีพของตัว อย่างนี้ไม่ค่อยมีการศึกษากัน เมื่อผลิตอะไรแล้วก็จำหน่ายไปก็มีรายได้ก็ต้องทำบัญชี ชาวบ้านทำบัญชีบางที่ไม่ค่อยถูก ชุมชนบ้านน้ำจ้อมและบ้านนาตองบ้านน้ำจ้อม หมู่ที่ 8 และบ้านนาตอง หมู่ที่ 9 ตำบลช่อแฮ เป็นแอ่งที่ราบกลางขุนเขาที่โอบล้อมด้วยป่าเขียว นักท่องเที่ยวสามารถมาเที่ยวได้ทั้งแบบโฮมสเตย์และแบบเดินทางไป-กลับ ภายในหมู่บ้านมีสถานที่เที่ยว ได้แก่ ถ้ำปู่ปันตาหมี เป็นแหล่งความรู้ทางโบราณคดี เนื่องจากขุดพบโครงกระดูกอายุหลายร้อยปี และของใช้ที่ทำจากหิน และได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์บ้านนาตอง ภายในถ้ำยังมีกองหินย้อยอยู่ด้านหลังพระพุทธรูปอีกด้วย ถ้ำพระ อยู่ติดกับถ้ำปู่ปันตาหมี ปากถ้ำอยู่สูงกว่าปากถ้ำปู่ปันตาหมี ภายในถ้ำเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป และมีโพรง 2 โพรง ที่สามารถผ่านออกไปได้ทำให้ภายในถ้ำค่อนข้างสว่าง พิพิธภัณฑ์บ้านนาตอง เกิดจากความร่วมมือกันในการจัดการเรียนรู้โบราณคดีของชุมชน ระหว่างชุมชน บ้านนาตอง SPAFA และกรมศิลปากร และต่อมา พ.ศ. 2548 มีการจัดแสดงโครงกระดูก "นาตองแมน" ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ได้รับการยืนยันจากศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (SPAFA : SEAMEO Regional Centre for Archaeology and Fine Arts) ว่ามีอายุเก่าแก่ราว 4,500 ปี ชิ้นส่วนเครื่องมือที่ทำจากหินและวัตถุโบราณที่ขุดค้นพบจากถ้ำบ้านนาตองหรือถ้ำปู่ปันตาหยี และถ้ำ อื่น ๆ นอกจากนี้บ้านนาตองยังเป็นแหล่งอาศัยของ "เต่าปูลู" เป็นเต่าขนาดเล็กแต่มีหัวใหญ่จึงไม่สามารถหดหัวเข้าไปในกระดองได้ ปากงุ้มคล้ายปากนกแก้ว กระดองแข็งสีน้ำตาลแกมแดง ลำตัวสีเหลือง หางยาวกว่ากระดองมีลักษณะเป็นข้อปล้องสี่เหลี่ยม เรียงต่อกันอุ้งเท้ามีเล็บและหางช่วยค้ำยัน สามารถปีนป่ายต้นไม้และเดินขึ้นเขาได้ เมื่อโตเต็มวัยมีขนาดความยาว 20 เซนติเมตร น้ำหนักราว 500 กรัม วางไข่ปลายเดือนเมษายน ครั้งละ 3-4 ฟอง ลูกเต่าจะมีขอบกระดองคล้ายฟันเลื่อยชอบอาศัยอยู่บริเวณริมห้วยที่เย็นและชุ่มชื้นมีถิ่นกำเนิดบริเวณรอยต่อ 3 ประเทศ คือ ภาคเหนือของประเทศไทย ภาคตะวันออกของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และทางตอนใต้ของประเทศจีน เต่าปูลูจะอาศัยอยู่ในเฉพาะพื้นที่ที่มีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์และน้ำสะอาดเท่านั้น ปัจจุบันเต่าปูลูใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว สอบถามข้อมูลได้ที่ชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านนาตอง โทร. 0 5452 9060-1 ในสมัยโบราณนั้น ของว่างหลังอาหารของคนเหนือคงไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าเมี่ยง เพราะคนเหนือหลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว ก็จะพากัน “อมเมี่ยง” เพื่อให้รสและกลิ่นของอาหารที่กินเข้าไปเจือจางลง ทั้งยังช่วยคลายความเผ็ด ความเค็ม ที่ติดปากอยู่ พร้อมกันนั้นยังทำให้การคุยกันหลังอาหารระหว่างครอบครัว เพื่อนฝูง ให้ออกรสโดยเคี้ยวเมี่ยงไปคุยกันไปด้วย เป็นการย่อยอาหารไปในตัวได้อีกด้วย บ้านน้ำจ้อมและบ้านนาตองก็เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ทำเมี่ยงเป็นอาชีพเดิมอยู่แล้ว ด้วยการพัฒนาพื้นที่และคนในพื้นที่ได้ย้ายออกมาอยู่ข้างนอก มาทำอาชีพรับจ้าง ทำให้อาชีพที่ปลูกเมี่ยง เก็บเมี่ยงขายลดลง สวนเมี่ยงไม่มีคนดูแล แต่ยังมีคนที่ยังอาศัยในหมู่บ้านต้องทำเมี่ยงอยู่ไม่กี่ครอบครัว ทางทีมงานของข้าพเจ้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กันบุตร หัวหน้าโครงการต้องการเข้าไปส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเมี่ยงในพื้นที่บ้านนาตองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อที่จะเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนบ้านนาตองและลดการทำไร่ ถางป่าลงด้วย จากการที่ได้รับงบประมาณโครงการบริการวิชาการในปี 2566 ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากเมี่ยงมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้แก่ 1. เมี่ยงคานาตอง 2. เมี่ยงคุกกี้ และ 3. เกรียบเมี่ยง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เมี่ยงของชุมชนบ้านนาตองสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์และการแตกไลน์สายผลิตภัณฑ์ใหม่
2. เพื่อการจัดการช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนไปยังกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด
3. เพื่อสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผลิตภัณฑ์เมี่ยงของชุมชนบ้านนาตองอย่างยั่งยืน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาต่อยอดผลผลิต/ผลิตภัณฑ์/สินค้า ของชุมชน /กลุ่มของผู้ปลูกเมี่ยงพืชเศรษฐกิจของชุมชน
KPI 1 : จำนวนนวัตกรในชุมชนบ้านน้ำจ้อมและบ้านนาตอง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 คน 3
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้ (กลุ่มผลิตภัณฑ์) บ้านนาตอง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
200 50 คน 250
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 5 : ร้อยละรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผลผลิต/ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการดำเนินโครงการที่ได้รับมาตรฐาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 8 : จำนวนแผนการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของผลิตภัณฑ์ของชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แผน 1
KPI 9 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 10 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0201 0.0199 ล้านบาท 0.04
KPI 11 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาต่อยอดผลผลิต/ผลิตภัณฑ์/สินค้า ของชุมชน /กลุ่มของผู้ปลูกเมี่ยงพืชเศรษฐกิจของชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
1) อบรมอภิปราย/เสวนาการยกระดับผลิตภัณฑ์เมี่ยงให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ สร้างนวัตกรด้านการตลาดและการแตกไลน์สายผลิตภัณฑ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เกษราพร  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อโนชา  สุภาวกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
4. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงประสานงานกับผู้นำ บ้านน้ำจ้อมและชาวบ้านนาตอง เป็นเงิน 500 บาท
5. ค่าเช่าสถานที่อบรม เป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 3 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4, ปากกา, กระดาษบรู๊ฟ และปากกาหมึกเคมี ฯลฯ เป็นเงิน 1,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20100.00
ชื่อกิจกรรม :
2) อบรมอภิปราย/เสวนาการตลาดและสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ผลิตภัณฑ์เมี่ยงของชุมชนบ้านน้ำจ้อมและบ้านนาตองอย่างยั่งยืน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เกษราพร  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อโนชา  สุภาวกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
3. ค่าเช่าสถานที่อบรม เป็นเงิน 500 บาท
4. ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,300.00 บาท 0.00 บาท 12,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
3. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,600.00 บาท 0.00 บาท 7,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 19900.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การบูรณาการองค์ความรู้สู่การเรียนการสอนในรายวิชา 10200504 การเป็นผู้ประกอบการ จำนวน 30 คน ซึ่งในรายวิชานี้ ศึกษาความหมายและแนวคิดของการเป็นผู้ประกอบการ คุณลักษณะและแรงบันดาลใจในการเป็นผู้ประกอบการ การคัดเลือกธุรกิจที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการและการตั้งเป้าหมาย รวมถึงศึกษาภาพรวมของ
ช่วงเวลา : 16/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล