22358 : โครงการวิจัยสถาบัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 "เหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
รองศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ พวงงามชื่น (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 31/10/2567 10:38:40
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  0  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2568 คณะผลิตกรรมการเกษตร แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานรอง : แผนงานยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ผลผลิต : ผลงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี กิจกรรมหลักการบริหารงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี แผนงานวิจัย งานวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี กองทุนเพื่อการวิจัย งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการตามแผนปฎิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2) โครงการวิจัยสถาบัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 "เหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้" 2568 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. จักรพงษ์  พวงงามชื่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยะ  พละปัญญา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.1.3 ร้อยละของบัณฑิตที่มีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.3.1 พัฒนาคุณภาพของบัณฑิตเพื่อรองรับหรือเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในตลาดแรงงานระดับอาเซียนหรือนานาชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68 AP 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 AP 2.1.3 ร้อยละของบัณฑิตที่มีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
กลยุทธ์ 68 AP 2.1.3-4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตให้มีสมรรถนะและตรงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เพื่อรองรับและสามารถปฏิบัติงานในตลาดแรงงาน และตรงต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร (Equator Line) ซึ่งถือเป็นเขตอบอุ่นที่สามารถปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้หลากหลายชนิด ดังนั้นพื้นฐานในการประกอบอาชีพและทำมาหากินจากการทำเกษตรกรรมของประชากรภายในประเทศจึงกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และมีการพัฒนาจนทำให้ผลผลิตด้านการเกษตรของไทยได้รับการยอมรับจากต่างประเทศส่งผลต่อปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นทุกปี (จักรพงษ์ พวงงามชื่น และคณะ, 2562) อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่ผลิตอาหารจากพืชและสัตว์ ทั้งที่สามารถนำไปประกอบอาหารได้โดยตรงและเป็นวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมอาหารต่างๆ ประเทศไทยจัดอยู่ลำดับที่ 45 ของโลก ในฐานะประเทศที่มีความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งวัดจากความสามารถในการผลิตและการเลี้ยงดูประชากรในประเทศ (ศรุดา นิติวรการ, 2561) ปัจจุบันโลกมีประชากรมากกว่า 7 พันล้านคน ในขณะที่ World Bank ได้คาดการอนาคตข้างหน้าว่าประชากรโลกจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 9.7 พันล้านคนโดยประมาณ ทำให้ความต้องการอาหารของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 60% แต่ในทางกลับกันพื้นที่ทำการเกษตรจะลดลง เนื่องจากการขยายตัวของเมืองและประชากร (อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ, 2562) ในขณะที่ประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรเป็น 1.21% หรือประมาณ 67.35 ล้านคน โดยปัจจุบันประเทศไทยมีประชากร 66.55 ล้านคน (ระบบสถิติทางการทะเบียน, 2562) ในทางตรงกันข้ามพบว่ามีแรงงานภาคเกษตรลดลง 7.8% จากปี พ.ศ. 2558 ที่มีแรงงานภาคเกษตรคิดเป็น 38.41% ของประชากรทั้งประเทศ (65.73 ล้านคน) (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560) การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกยุคปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการพัฒนาซึ่งเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (จักรพงษ์ พวงงามชื่น และคณะ, 2562) ส่งผลให้เกิดแนวทางของการประกอบอาชีพใหม่ๆ ขึ้นมากมาย รวมถึงบริษัทเอกชนเปิดกว้างมากขึ้นในการรับสมัครงาน ประกอบกับปัจจุบันภาคการเกษตรได้รับความนิยมในความต้องการประกอบอาชีพน้อยลง นอกจากนี้ผลของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกยังส่งผลกระทบต่อค่านิยมของบัณฑิตจบใหม่ในปัจจุบันคือนิยมประกอบอาชีพตามเพื่อน หรือตามกระแสสังคม เช่น อาชีพออนไลน์ต่างๆ อาชี่พที่ไม่ลำบาก อาชีพที่ได้เงินเดือนมากโดยไม่คำนึงว่าตนเองสำเร็จการศึกษาหรือมีทักษะพิเศษในด้านใด ประกอบกับบริษัทเอกชนหันมาให้ความสำคัญกับเงื่อนไขการจบการศึกษามากกว่าสาขาวิชาหรือความสามารถทักษะพิเศษเฉพาะทางของบัณฑิตจบใหม่ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีทางเลือกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้านการส่งเสริมและจูงใจให้บัณฑิตจบใหม่เห็นความสำคัญในการประกอบอาชีพตามสาขาวิชาที่ตนเองสำเร็จการศึกษามา ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดช่องว่างด้านการประกอบอาชีพ และเป็นการสนับสนุนให้บัณฑิตทุกคนใช้ความรู้ความสามารถตามสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษามาในการทำงานได้อย่างเต็มที่ ตลอดจนถือได้ว่าเป็นการสะท้อนถึงประสิทธิภาพกระบวนการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยอีกด้วย มหาวิทยาลัยในภาคเหนือตอนบนจำนวน 38 แห่ง มีเพียง 8 แห่ง เท่านั้น ที่มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาด้านการเกษตรเฉพาะทาง หนึ่งในนั้นคือมหาวิทยาลัยแม่โจ้จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบการเรียนการสอนที่กว้างขวางมากขึ้น ปัจจุบันประกอบไปด้วย 11 คณะ 2 วิทยาลัย และ 2 พื้นที่การศึกษาในระดับปริญญาตรี ดังนั้น การจูงใจหรือการชักนำบัณฑิตเหล่านั้นให้เข้าสู่การประกอบอาชีพที่ตรงกับสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษามาอย่างเต็มตัวจะเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่า ระบบและกระบวนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้นมีประสิทธิภาพสามารถชักจูงและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาให้มีเป้าหมายด้านการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา และประกอบอาชีพที่ตรงกับสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา อีกทั้งยังเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าทุกคณะและวิทยาลัยสามารถสร้างบัณฑิตที่ตอบสนองต่อตลาดแรงงานได้เป็นอย่างดี จากสถานการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นอาจมองว่าเป็นปัญหาเล็กๆ แต่เมื่อปัญหาเหล่านี้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นอาจส่งผลกระทบด้านลบแก่การพัฒนาแรงงาน หรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะในสถาบันการศึกษาได้ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้นำบริบทปัญหาดังกล่าวมาสรุปเป็นคำถามการวิจัยดังรายละเอียดนี้ 1. ปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ของบัณฑิตที่จบการศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นอย่างไร 2. บัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีการตัดสินใจประกอบอาชีพต่างๆ อยู่ในระดับใด 3. มีเหตุปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพในต่างๆ ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะทางเศรษฐสังคม ลักษณะทางวิชาการ และลักณะทางจิตวิทยาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้
เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้
เพื่อศึกษาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้
เพื่อศึกษาความคิดเห็นและเหตุผลในการตัดสินใจประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้
เพือวิเคราะห์แนวทางจูงใจในการประกอบอาชีพตามสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : บริบทของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระดับการตัดสินใจประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ความคิดเห็นและเหตุผลในการตัดสินใจประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แนวทางจูงใจในการประกอบอาชีพตามสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้
KPI 1 : จำนวนผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ TCI1
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลงาน 1
KPI 2 : สามารถนำผลการศึกษาจาก 5 วัตถุประสงค์ ไปใช้ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษา (AUN-QA) ในประเด็นการมีงานทำงานบัณฑิต
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ข้อมูล 1
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของโครงการตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : บริบทของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระดับการตัดสินใจประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ความคิดเห็นและเหตุผลในการตัดสินใจประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แนวทางจูงใจในการประกอบอาชีพตามสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อกิจกรรม :
วิจัยสถาบัน "เหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์  พวงงามชื่น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ  พละปัญญา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาเรียบเรียงข้อมูลเชิงคุณภาพ (3 คน x คนละ 500 บาท x 5 วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
7,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
2. ค่าจ้างเหมาจัดทำแบบสอบถามออนไลน์ (1 คน x คนละ 2,500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
3. ค่าจ้างเหมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูล (เก็บข้อมูลกับบัณฑิตในวันซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร ณ ศูนย์กาญจนาภิเษก จำนวนมากกว่า 2,000 คน โดยผู้รับจ้างเหมาต้องนำ QR Code ให้บัณฑิตทุกคนสแกนเพื่อตอบแบบสอบถามออนไลน์ (5 คน x คนละ 500 บาท x 2 วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
4. ค่าจ้างเหมาลงโค๊ด คีย์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเชิงปริมาณ (5 คน x คนละ 500 บาท x 5 วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
12,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
5. ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์และตรวจสอบความเรียบร้อยของรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (1 คน x คนละ 4,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
6. ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มวิจัยฉบับสมบูรณ์ (5 เล่ม x เล่มละ 500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
7. ค่าวัสดุสำนักงาน
7.1 ค่ากระดาษ A4 80 แกรม (10 รีม x รีมละ 150 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
7. ค่าวัสดุสำนักงาน
7.2 ค่าถ่ายเอกสาร (1,500 ชุด x ชุดละ 3 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
8. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
8.1 ค่าตลับหมึกโทนเนอร์ (4 ตลับ x ตลับละ 2,500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
อาจมีเวลาน้อยในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ขอความอนุเคราะห์คณะกรรมการฝึกซ้อมบัณฑิต ในการเก็บข้อมูล หลังจากซ้อมเสร็จแล้ว ใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
เป็นกรณีศึกษาในการทำวิจัยเชิงปริมาณ ในรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ สำหรับนักศึกษาในระดับปริญญาโท
ช่วงเวลา : 01/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล