22347 : โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดเพื่อเพิ่มมูลค่า
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/10/2567 10:31:39
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
16/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เกษตรกร ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป จำนวน 50 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หยาดฝน  ทนงการกิจ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญ  คงกระพันธ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด 2.3.1 EN68 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เห็ดเป็นแหล่งอาหารที่มีโปรตีนสูงสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด มีรสชาติดี เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค โดยประเทศไทยมีการผลิตเห็ดมากถึงปีละกว่า 30,000 ตัน ซึ่งเป็นมูลค่ากว่า 1,580 ล้าน บาทนอกจากเห็ดจะมีสารอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว เห็ดบางชนิดยังพบว่ามีสรรพคุณทางยาใน การป้องกันการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจ โรคอ้วน โรคไวรัส ตับอักเสบบี โรคมะเร็ง เป็นต้น อีกทั้งเห็ดแต่ละชนิดจะมีคุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของ เห็ด ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกับผัก คือ มีวิตามิน เกลือแร่ โดยโปรตีนในเห็ดจะมีคุณภาพดีกว่าในผัก แต่ก็ จัดเป็นโปรตีนพวกที่ไม่สมบูรณ์บางส่วน เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ ดังนั้น การปรุงอาหารจากเห็ดให้เกิดประโยชน์ ต่อสุขภาพ และเห็ดมีอายุการเก็บรักษาสั้น มีการเสื่อมเสียสภาพอย่างรวดเร็ว ต้องมีการเก็บรักษาในสภาพ อุณหภูมิที่พอเหมาะ จึงมีการนำผลิตผลเห็ดไปแปรรูปโดยใช้เทคโนโลยีและวิธีการแปรรูป (food processing technology) ต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการเก็บรักษานานและสามารถวางขายในท้องตลาดโดยไม่มี ข้อจำกัดด้านการเสื่อมเสียเช่นเดียวกับเห็ดสด ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีเช่น การทำแห้ง (เห็ดอบแห้ง เห็ดแดดเดียว) การหมัก (แหนมเห็ด) การดอง (เห็ดดองเกลือ เห็ดดองซีอิ๊ว) การทอด (เห็ดสามรส เห็ดสวรรค์) เป็นต้น การนำเห็ดมำปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารนอกจากจะเป็นการถนอมอาหารรูปแบบหนึ่ง ยังเป็นกรรมวิธีที่ทำให้ ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือระดับพื้นบ้านที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรให้ผ่านมาตรฐานและได้รับเครื่องหมายการรับรอง เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน อีกทั้งสนับสนุนนโยบายสำคัญของรัฐบาลในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มาพัฒนาและสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น โดยเป็นการสร้างคุณภาพที่มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ มีการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน และจากการสำรวจพื้นที่ใน อ.สันทรายและ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ พบว่ามีกลุ่มผู้ปลูกอยู่จำนวนหลายรายเช่น ฟาร์มของนางสุเทียน ใจเมคา ที่อยู่ในต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ปรีชาฟาร์ม 99 ที่อยู่ใน ต.หนองจ๊อม อ.สันทราย จ.เชียงใหม่และ จิระวัฒน์ฟาร์มเห็ด ที่อยู่ใน ต.หนองหาร อ.สันทราย นอกจากนี้ยังมีวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดและแปรรรูป บ้านดอกแดง ใน ต.สง่าบ้าน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ที่มีความสนใจที่จะพัฒนาผลิตแปรรูปจากเห็ดเพื่อเพิ่มมูลค่าและช่องทางการตลาดให้มากขึ้น และเพื่อเป็นการสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้มแข็ง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดแก่กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มแม่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดเพื่อเพิ่มมูลค่า
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : รายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 3 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 4 : จำนวนผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 6 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ช่องทางทางการตลาด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ช่องทาง 1
KPI 8 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
KPI 9 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดเพื่อเพิ่มมูลค่า
ชื่อกิจกรรม :
ดำเนินการจัดการอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยาดฝน  ทนงการกิจ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญ  คงกระพันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารกลางวัน คนละ 150 บาท จำนวน 55 คน รวมเป็นเงิน 11,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 35 บาท 2 มื้อ จำนวน 55 คน รวมเป็นเงิน 3,850 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
-ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 800 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคปฏิบัติ 2 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 800 บาท รวมเป็นเงิน 4,800 บาท
-ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน ชั่วโมงละ 25 บาท วันละ 4 ชั่วโมง จำนวน 45 วัน รวมเป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกปริ้นส์ แผ่นซีดี ตัวเก็บข้อมูลภายนอก ฯลฯ = 3,000 บาท
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น แก๊ส เกลือ น้ำปลา หัวไชเท้า แครอท แป้งมัน น้ำตาลทราย เกลือ พริกไทย หม้อสแตนเลส ถาดสแตนเลส ทัพพี กระบวย ถุงมือพลาสติก กระดาษชำระ กระดาษฟอล์ย ถุงซิปใส ขวดพลาสติก ฯลฯ =10,700 บาท
-วัสดุสำนักงาน ค่าถ่ายเอกสาร รวมเป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,700.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล