22346 : โครงการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อส่งเสริมชีววิถีและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/11/2567 15:19:07
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
06/11/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  เกษตรกร ประชาชน คนในชุมชน จำนวน 30 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทิพาพร  คำแดง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนศิษฏ์  วงศ์ศิริอำนวย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด 2.3.1 EN68 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันถ่านชีวภาพหรือไบโอชาร์ได้มีบทบาทสำคัญต่อภาคเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร ในด้านการกักเก็บคาร์บอนลงในดินและปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน หากเป็นการแยกสลายอย่างช้า (Slow Pyrolysis) การกักเก็บคาร์บอนในดินด้วยการแยกสลายชีวมวลด้วยความร้อนจะได้คาร์บอนถึง 50% ของคาร์บอนที่มีอยู่ในชีวมวล คาร์บอนที่ได้จากการเผาชีวมวลจะเหลือเพียง 3% และจากการย่อยสลายโดยธรรมชาติหลังจาก 5-10 ปี จะได้คาร์บอนน้อยกว่า 20% ปริมาณของคาร์บอนที่ได้จะขึ้นอยู่กับชนิดของชีวมวล สำหรับอุณหภูมิจะมีผลน้อยมากถ้าควบคุมให้อยู่ในช่วงระหว่าง 350-500°C รูพรุนตามธรรมชาติของไบโอชาร์ เมื่อใส่ลงในดินจะช่วยการระบายอากาศ การซึมน้ำ การอุ้มน้ำ ดูดยึดธาตุอาหาร เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ลดความเป็นกรดของดิน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยให้สูงขึ้น ทำให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุน เพิ่มรายได้เพิ่มผลผลิต เป็นเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่ระดับเกษตรกร ครัวเรือน ชุมชนและองค์กรส่วนท้องถิ่น จากประโยชน์ของไบโอชาร์ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น การผลิตไบโอชาร์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ฟางข้าว แกลบ ต้น/ตอ/ซังข้าวโพด เป็นต้น สามารถช่วยลดขยะชีวมวล และหากนำไบโอชาร์มาใช้เป็นส่วนผสมของปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อใช้ในการเกษตรกรรม สามารถช่วยเพิ่มธาตุคาร์บอนให้แก่ดิน ช่วยในการบำรุงดิน เพิ่มความสมบูรณ์ให้ดิน ปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพิ่มอาหารปลอดสารพิษ เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร อีกทั้งยังช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ลดปัญหาหมอกควันและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศอันเป็นตัวการหนึ่งของภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน สร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย จากการนำยุทธศาสตร์ด้านการจัดการและเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่มิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยการบริหารจัดการเศษวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตร ด้วยการนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรกรรมตั้งแต่ระดับเกษตรกร ครัวเรือน ชุมชน และองค์กรส่วนท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างฐานการพัฒนาของประเทศให้มั่นคงแข็งแรง นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยทรงยึดหลักในการดำเนินโครงการว่าต้องเป็นการพัฒนาที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ดังโครงการตามแนวพระราชดำริ เช่น โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาด้านการเกษตร เป็นต้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม เพื่อส่งเสริมชีววิถีและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เพื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวกับการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นไบโอชาร์และอินทรีย์สารสำหรับเกษตรอินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการแปรรูปไบโอชาร์และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
KPI 1 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของผู้รับบริการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากฐานข้อมูลเดิม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
45000 บาท 45000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการแปรรูปไบโอชาร์และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปไบโอชาร์และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/11/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาพร  คำแดง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนศิษฏ์  วงศ์ศิริอำนวย (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 30 คน ๆ ละ 120 บาท 1 มื้อ 1 วัน = 3,600 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน = 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย
จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 3 คน 1 วัน = 3,600 บาท
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ
จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 3 คน 1 วัน = 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้มใส่เอกสาร ปากกา กระดาษ A4 แม็กเย็บกระดาษ = 3,800 บาท
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น CD, External Hard disk, Pointer = 5,000 บาท
วัสดุเกษตร เช่น ซังข้าวโพด แกลบ ฟางข้าว =17,300 บาท
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงมือ ถุงบรรจุ ภาชนะบรรจุ = 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
31,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 31,100.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 42200.00
ชื่อกิจกรรม :
สรุปผลการดำเนินงานและการจัดทำรายงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/11/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาพร  คำแดง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ผลและจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2800.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล