22343 : โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้และเสริมสร้างทักษะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยร IOT เพื่อการพัฒนาเกษตรกรสมัยใหม่อย่างยั่งยืน (Smart Farming Sustainable Development Goals (SDGs))
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 6/11/2567 14:22:31
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
25/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักในระบบเกษตรอินทรีย์ จำนวน 50 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โชติพงศ์  กาญจนประโชติ
รองศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร  สืบค้า
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด 2.3.1 EN68 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสว่า การส่งเสริมหรือสร้างเสริมสิ่งที่ชาวชนบทขาดแคลน และเป็นความต้องการอย่างสำคัญ คือ ความรู้ ด้านต่างๆ ชาวชนบทควรจะมีความรู้ในเรื่องของการทำมาหากิน การทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี ตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ในเรื่องการพึ่งตนเอง ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฎรในชนบทได้มีโอกาสได้รู้ได้เห็นถึงตัวอย่างของความสำเร็จนี้ และนำไปปฏิบัติได้เองซึ่งทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ตัวอย่างของความสำเร็จทั้งหลายได้กระจายไปสู่ท้องถิ่นต่างๆ ทั่งประเทศ วิธีการให้ความรู้แก่ประชาชนนั้น ทรงมีพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาว่า ...การใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยในงานต่างๆ นั้น ว่าโดยหลักการควรจะให้ผลมาก ในเรื่องประสิทธิภาพ การประหยัดและการทุ่มแรงงาน แต่อย่างไรก็ตามก็คงยังจะต้องคำนึงถึงสิ่งอื่นเป็นพื้นฐานและส่วนประกอบของงานที่ทำด้วย อย่างในประเทศของเราประชาชนทำมาหาเลี้ยงตัวด้วยการกสิกรรมและการลงแรงทำงานเป็นพื้น การใช้เทคโนโลยีอย่างใหญ่โตเต็มรูปหรือเต็มขนาดในงานอาชีพหลักของประเทศย่อมจะมีปัญหา เช่นอาจทำให้ต้องลงทุนมากมายสิ้นเปลืองเกินกว่าเหตุ หรืออาจก่อให้เกิดการว่างงานอย่างรุนแรงขึ้น เป็นต้น ผลที่เกิดก็จะพลาดเป้าหมายไปห่างไกลและกลับกลายเป็นผลเสีย ดังนั้น จึงต้องมีความระมัดระวังมากในการใช้เทคโนโลยีที่ปฏิบัติงานคือ ควรพยายามใช้ให้พอเหมาะพอดีแก่สถานะของบ้านเมืองและการทำกินของราษฎรเพื่อให้เกิดประสิทธิผลด้วย เกิดความประหยัดอย่างแท้จริงด้วย ดังนั้นนายกรัฐมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการโดยกำหนดนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลที่มีต่อภาคการผลิตทางด้านการเกษตร มุ่งเน้นการขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมด้วยนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการทำการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในขณะนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอาการ อาทิ อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ประสบภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง เกิดภาระขาดแคลนอาหาร ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพจากโรคและแมลง ดังนั้นหากการผลิตพืชผลเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคเหนือมีการทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดก็จะเป็นการส่งเสริมการขาย เพิ่มศักยภาพในการส่งออกไปยังประเทศที่มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรปลอดภัยที่สามารถพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรปลอดภัยในปัจจุบันมีการปนเปื้อนสารเคมีต่าง ๆ มากมายทั้งทางตรงซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีเอง หรือทางอ้อม อาทิเช่นการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ เป็นสาเหตุทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัยขาดความน่าเชื่อมั่นจากผู้บริโภคและไม่สามารถทำการตลาดได้อย่างที่ควรจะเป็น กระแสการบริโภคอาหารปลอดภัย อาหารกรีน อาหารคลีน อาหารอินทรีย์จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่การผลิตอาหารดังกล่าวต้องใช้ทั้งความเชี่ยวชาญ และความใส่ใจเป็นอย่างสูง ทำให้เกษตรกรจำนวนมากยังคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการผลิตแบบเดิม ๆ มาเป็นการผลิตอาหารปลอดภัยได้ การยกระบบการเพาะปลูกพืชเพื่อผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรปลอดภัยด้วยวัตกรรมและเทคโนโลยีการทำฟาร์มด้วยระบบการเกษตรแบบแม่นยำ (Precision Agriculture) และเทคโนโลยีการทำฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farming) ที่เหมาะสมกับบริบทเกษตรกรไทยด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่อาทิเช่น เทคโนโลยีเซ็นเซอร์เพื่อการเกษตร เทคโนโลยี IOT ระบบควบคุมปัจจัยการเพาะปลูกอัตโนมัติ ระบบบันทึกข้อมูลฟาร์มอิเล็กทรอนิกส์และการตรวจสอบย้อนกลับที่มีความน่าเชื่อถือและแม่นยำ ระบบการเฝ้าติดตามแปลงเพาะปลูกเข้ามาบูรณาการเข้ากับการผลิตแบบดั้งเดิมที่เกษตรกรมีองค์ความรู้และความชำนาญอยู่ก่อนแล้ว ครอบคลุมทุกกระบวนการในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตลอดจนการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในภาคเกษตรเน้นการเสริมสร้างฐานการผลิตการเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร ส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยให้ปรับไปสู่รูปแบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและรวมกลุ่มเกษตรกรในการพัฒนาอาชีพ ตลอดจนการพัฒนาสินค้าเกษตรและอาหารที่มีศักยภาพในการแข่งขัน ที่ได้กล่าวมาข้างต้นสอดคล้องกับการขับเคลื่อนแนวทางด้านเกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัย ทั้งการพัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้ได้คุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย จนนำไปสู่การขับเคลื่อนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยอย่างจริงจัง รวมถึงการพัฒนาระบบการรับรองแบบชุมชนมีส่วนร่วม (PGS) ให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น โครงการนี้มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีตลอดจนองค์ความรู้ด้านกระบวนการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในระบบเกษตรปลอดภัย/อินทรีย์ คือพืชผัก นาข้าว จากผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อสร้างต้นแบบการจัดการฟาร์มอย่างปราดเปรื่อง สำหรับเป็นศูนย์เรียนรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรในประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบ smart farm เพื่อยกระดับระบบการเพาะปลูกให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ สำหรับการเกษตรที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัล นวัตกรรม รวมถึงเก็บข้อมูลการเกษตร การผลิตและการเพาะปลูกพืชที่เหมาะสม (Smart Farm) ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรและชุมชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์การนำองค์ความรู้เทคโนโลยี IoT และนวัตกรรมด้านการทำการเกษตรสมัยใหม่มาช่วยแก้ไขปัญหา อีกทั้งยังสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานสำหรับการดำรงชีวิตต่อไปได้ และเชื่อมโยงการจัดการเรียนการสอนแบบ Stem Education ซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาที่ได้บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆเช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Science) ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี (Technology) ความรู้ทางด้านวิศวกรรม (Engineering) และความรู้ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) รวมเข้าด้วยกัน แล้วนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ด้านการเกษตร กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่าการนำเทคโนโลยีการทำการเกษตรแบบแม่นยำ (Precision Agricultural) และฟาร์มอัจฉริยะ (Smart farming) ตลอดจนเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรปลอดภัยเป็นการตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล สนับสนุนการมุ่งสู่ความสำเร็จด้วยการผสมผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อให้ได้สินค้าตามจำนวนที่ต้องการอย่างมีคุณภาพเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาความมั่นคงด้านอาชีพเกษตรกรรมไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IOT ทางการเกษตรจำนวน 2 องค์ความรู้ซึ่ง ประกอบด้วย 1. ระบบควบคุมการจ่ายน้ำแบบแม่นยำสำหรับการเกษตรสมัยใหม่ 2. ระบบบันทึกกระบวนการเพาะปลูกผักด้วยเทคโนโลยี Near Field Communication (NFC)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ให้หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนและให้องค์ความรู้กับเกษตรกรสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร
ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร IoT สมัยใหม่ไปเผยแพร่สู่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อยกระดับทักษะและองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้จริง
สร้างแนวทางและรูปแบบนิเวศการทำการเกษตรสมัยใหม่แบบยั่งยืน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรู้เทคโนโลยี IoT สำหรับการบริหารจัดการฟาร์มเกษตรสมัยใหม่แบบยั่งยืนสำหรับการเกษตรสมัยใหม่
KPI 1 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 2 : ร้อยละความรู้ความเข้าใจและการยอมรับองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี IoT สำหรับการบริหารจัดการฟาร์มเกษตรสมัยใหม่แบบยั่งยืน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.45 ล้านบาท 0.45
KPI 4 : การขายผลผลิตในตลาดออนไลน์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ช่องทาง 1
KPI 5 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : องค์ความรู้ เรื่องเทคโนโลยี IoT สำหรับการบริหารจัดการฟาร์มเกษตรสมัยใหม่แบบยั่งยืนสำหรับการเกษตรสมัยใหม่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 องค์ความรู้ 2
KPI 8 : ต้นแบบแปลงผักที่ได้รับการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ IoT สำหรับแปลงผักสมัยใหม่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 พื้นที่ 1
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรู้เทคโนโลยี IoT สำหรับการบริหารจัดการฟาร์มเกษตรสมัยใหม่แบบยั่งยืนสำหรับการเกษตรสมัยใหม่
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมเรื่องเทคโนโลยี IoT สำหรับการบริหารจัดการฟาร์มเกษตรสมัยใหม่แบบยั่งยืน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 25/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 250 บาท จำนวน 50 คน = 12,500 บาท
ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 50 บาท จำนวน 50 คน = 5,000 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 17,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 17,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย
จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 1 คน 1 วัน = 2,400 บาท
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ
จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 1 คน 1 วัน = 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเวอร์เตอร์ ไดโอด ไมโครคอนโทรลเลอร์ วงจรแผ่นพิมพ์ควบคุมปิด-เปิดวาล์ว ชิปควบคุมแรงดันไฟฟ้า field sever/gateway ฯลฯ 6,500 บาท
วัสดุสำนักงาน ได้แก่ กระดาษ A4 ปากกา 6,600 บาท
ค่าถ่ายเอกสาร 3,000 บาท
วัสดุคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หมึกเครื่องปริ้นเตอร์ เมาส์ไร้สาย 6,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 22,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 22,700.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล