22340 : โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน บ้านผาหมู ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/10/2567 9:23:50
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
16/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  ประชาชนบ้านผาหมู ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2568 40,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. เกษราพร  ทิราวงศ์
อาจารย์ ดร. อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ  กันบุตร
อาจารย์ อโนชา  สุภาวกุล
นาย สิทิไวกูล  ทิราวงศ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68-2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวถือเป็นรายได้หลักให้ประเทศไทยมาอย่างยาวนาน มีชื่อเสียงติดในระดับโลก ทั้งในด้านความสวยงาม ทางเลือกของสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ดึงดูด อย่างไรก็ตามพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมรวม ทั้งเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมเกิดขึ้น เช่น การระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 ซึ่งทำให้ทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ให้บริการใน ธุรกิจท่องเที่ยวต้องปรับตัว สร้างสรรค์รูปแบบการท่องเที่ยวและบริการใหม่ๆ เพื่อตามให้เท่าทันกับความต้องการที่เปลี่ยนไปของนักท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐซึ่งมีบทบาทในการกำกับดูแลพึงมีความเท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และวางแนวทางการกำกับดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมกรรมการท่องเที่ยวของไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), 2564) แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้ระบุถึง การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่มีการพัฒนาในเรื่องการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการด้วยการผลักดันและนำประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ของรัฐบาลโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสร้างความสมดุลระหว่าง การเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การใช้ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว และการสร้างความพึงพอใจ ให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชนเพื่อวางรากฐานการดำเนินงาน ให้เกิดการเติบโตอย่างมีคุณภาพในระยะยาว ให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศโดยเกื้อหนุนกันไปทั้ง ด้านการส่งเสริมตลาดด้านการพัฒนาสินค้าและบริการและด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยมุ่งเน้นการบูรณาการกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง แม้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะนำมาซึ่งการสร้างรายได้และมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของสถานที่ท่องเที่ยวนั้น หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี จึงได้เกิดแนวความคิดในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือการพัฒนาการท่องเที่ยวต้องสามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เป็นเจ้าของท้องถิ่น และเป็นการตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม และความงามทางสุนทรียภาพ ในขณะเดียวกันจะต้องรักษาและอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศไว้ให้คนรุ่นหลังด้วย ดำเนินการท่องเที่ยวโดยเกิดผลกระทบต่อทรัพยากรการท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม น้อยที่สุด และจะต้องเกิดการกระจายรายได้และการจ้างงานของคนในชุมชนท้องถิ่นด้วย ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน รักษาวัฒนธรรมระบบนิเวศ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นนั้น โดยเกิดผลกระทบน้อยที่สุดเพื่อที่จะใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว (ชูสิทธิ์ ชูชาติ, 2555) และการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism) เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มุ่งสร้างพลังให้ชุมชน โดยให้อำนาจแก่ชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยวได้บริหารจัดการ ดำเนินงาน นำเสนอประเพณีท้องถิ่น วิถีชีวิต อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม และส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นประโยชน์ร่วมกัน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชน รวมถึงเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นการให้บริการสินค้าและบริการให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือน โดยนำผลิตภัณฑ์และบริการในท้องถิ่นมาสู่กระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว (The Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), 2016) เป็นการท่องเที่ยวทางเลือกที่บริหารจัดการโดยชุมชนอย่างสร้างสรรค์ และเป็นเครื่องมือพัฒนาชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนก่อให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่ดี (องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน), 2558) บ้านผาหมู หมู่ที่ 8 ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มี การตั้งรกรากแต่ดั้งเดิมของชุมชนบ้านผาหมู เป็นการอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากเขมรตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พออยู่มาเรื่อย ๆ ก็ได้ผสมผสานกับวิถีชีวิตของชาวล้านนา โดยที่มาของชื่อหมู่บ้าน “ผาหมู” นั้นเกิดจากในอดีต แถบนี้มีภูเขาที่หน้าตาคล้ายหมูป่า และเป็นป่าไม้หนาทึบมีภูเขาล้อมรอบ ในปีพ.ศ 2475 ได้มีชาวบ้านย้ายเข้ามาอยู่กันเพิ่มมากขึ้น เลยตั้งชื่อหมู่บ้านตามรูปลักษณะของภูเขา ที่มีรูปร่างคล้ายหมู จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าผาหมูตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป และทำเกษตรกรรม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขา และที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับทำการเกษตรกรรม สามารถทำการเกษตรได้เฉพาะฤดูฝน ในฤดูแล้งสามารถทำการเกษตรได้บางส่วนเฉพาะที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ การเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่เป็นเป็ด ไก่ รูปแบบการเลี้ยงเป็นตามธรรมชาติ ประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ จึงมีการอนุรักษ์และสืบทอดประเพณีต่างๆ ไม่ให้สูญหายและยึดถือตามประเพณีดั่งเดิม เช่น ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ งานปอย ประเพณีลอยกระทง ประเพณีเข้าพรรษา ออกพรรษา แห่เทียนพรรษา ทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ ประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ตลอดจนบุคคลที่ให้ความเคารพนับถือ ประเพณีเท้าทั้งสี่ ประเพณีเอาขวัญ ประเพณีส่งเคราะห์ ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีสืบชะตา และเลี้ยงผีเจ้าบ้าน บวชป่า บ้านผาหมู มีพื้นที่ห่างจากตัวอำเภอร้องกวางประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดแพร่ 32 การคมนาคมในหมู่บ้านมีถนนลาดยางตลอดเส้นทาง ซอยต่างในหมู่บ้านจะเป็นคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ การเดินทางเข้าในตัวเมืองแพร่ หรืออำเภอร้องกวาง ถ้าใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ส่วนตัวจะสะดวกมาก แต่ถ้าไม่มีรถส่วนตัวก็สามารถเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง สถานที่สำคัญในชุมชนได้แก่ ถ้ำผานางคอย วัดผาหมูสามัคคี ป่าสงวนชุมชน หรือป่าชุมชน ด้วยทรัพยากรทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมในพื้นที่ บ้านผาหมู ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ถ้าเราพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน โดยมีเป้าหมาย เพื่อสร้างโมเดลรายได้จากการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับชุมชนขนาดเล็กที่ไม่มีต้นทุนทรัพยากรการท่องเที่ยวช่วยสร้างตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ๆ สร้างโอกาสให้ชุมชน มีรายได้เพิ่มจากการท่องเที่ยวเพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้อย่างเข้มแข็งยั่งยืน พัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่เหมาะสมกับชุมชนขนาดเล็ก เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ออกแบบมาสำหรับชุมชน โดยการนำ ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม กิจกรรม ศิลปะ อัตลักษณ์ วิถีชีวิตในชุมชน มาออกแบบให้เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนจะช่วยส่งเสริมให้ชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างอาชีพ-สร้างรายได้อย่างยั่งยืนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมจากการท่องเที่ยว เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน ได้อย่างยั่งยืน ในกระแสโลกและในบริบทไทยที่ให้ความสำคัญ กับการพัฒนาที่มีดุลยภาพ ทั้งในมิติเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนนำเสนอการพัฒนาที่มั่นคง ยั่งยืน ตามรอยพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 นั้นคือความยั่งยืน ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาคนและสังคม และการพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวชุมชนพร้อมสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชน
2. เพื่อพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน
3. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และของที่ระลึกของชุมชน
4. เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาอาชีพ/สร้างรายได้ ด้านการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนของบ้านผาหมู
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : โปรแกรมการท่องเที่ยวในชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 โปรแกรม 2
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวของชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0307 0.0093 ล้านบาท 0.04
KPI 7 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 8 : คณะกรรมการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวชุมชนบ้านผาหมู
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุด 1
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาอาชีพ/สร้างรายได้ ด้านการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนของบ้านผาหมู
ชื่อกิจกรรม :
1) อบรมให้ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวชุมชนพร้อมสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เกษราพร  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อโนชา  สุภาวกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสิทิไวกูล  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 140 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,500.00 บาท 0.00 บาท 10,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร กระดาษA4 กระดาษบรูฟ ปากกาลูกลื่น ปากกาเมจิก ฯลฯ เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 16600.00
ชื่อกิจกรรม :
2) อบรมการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เกษราพร  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อโนชา  สุภาวกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสิทิไวกูล  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 140 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,500.00 บาท 0.00 บาท 10,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 14100.00
ชื่อกิจกรรม :
3) อบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และของที่ระลึกของชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เกษราพร  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อโนชา  สุภาวกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสิทิไวกูล  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 140 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,300.00 บาท 0.00 บาท 6,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 9300.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ทท230 วัฒนธรรม และมรดกภูมิปัญญาไทยเพื่อการท่องเที่ยว ทท270 การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทท333 ประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว ทท410 การสำรวจและวิจัยทางการท่องเที่ยว ทท323 การสื่อความหมายธรรมชาติและวัฒนธรรม ทท334 การวางแผนและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ช่วงเวลา : 01/11/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล