22337 : พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “Leaning by doing”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางสาวณัจฉรียา ชัยประภา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/10/2567 15:56:38
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  ผู้ประกอบการ ประชาชน และผู้ที่สนใจชุมชนบ้านถวาย ที่สนใจเรื่องการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 50 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน วิทยาลัยนานาชาติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายแผนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน งบประมาณประจำปี 2568 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. สุธีรา  สิทธิกุล
อาจารย์ ดร. วินิตรา  ลีละพัฒนา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. ระพีพันธ์  แดงตันกี
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยนานาชาติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.2 การพัฒนาเทคโนโลยี และองค์ความรู้ทางวิชาการที่ทันสมัยตลอดเวลา ให้ศูนย์ความเป็นเลิศ อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร และฐานเรียนรู้ด้านเกษตร ร่วมสร้างองค์ความรู้ในวิทยาการหลากหลายสาขามาผสมผสานเป็น Cross Disciplinary Collaboration โดยมีเกษตรเป็นรากฐานเพื่อนำความรู้สู่สังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU-IC ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68 MJU-IC เป้าประสงค์ 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด 68 MJU-IC 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU-IC ส่งเสริมและผลักดันผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวได้อย่างหลากหลายและเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก เนื่องจากมีความโดดเด่นทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี มีความงดงามทางประเพณีวัฒนธรรมอันเป็นอารยะ อีกทั้งความมีไมตรีจิตของคนไทย อันเป็นที่ยอมรับจนได้สมญานามว่า สยามเมืองยิ้ม เป็นแรงดึงดูดการท่องเที่ยวต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วโลก (อมรรัตน์ วงศ์เป็ง, 2552) แต่สืบเนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันเกิดการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่เชื้อไวรัส COVID –19 ที่ก่อให้เกิดผลกระทบกระจายไปทั่วทุกมุมโลก ผู้คนได้รับความเดือดร้อน เจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคระบาดดังกล่าวเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization, 2021) ปัญหาที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID – 19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการท่องเที่ยวของไทย บางบริษัทจำเป็นต้องปิดตัวลงเพราะไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่าย อันเนื่องมาจากไม่สามารถเปิดดำเนินธุรกิจได้ อีกทั้งรูปแบบและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากธุรกิจไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาและการฟื้นตัวกลับสู่สภาวะปกติได้ยากและใช้เวลามากกว่าธุรกิจที่มีความพร้อมที่จะรับมือและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงในทุกสถานการณ์ จากสภาวะการณ์ที่เปลี่ยนไปภายหลังวิกฤติโควิด 19 ทั้งรูปแบบของการเดินทางและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจเลือกเดินทางท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างแน่นอน ดังนั้นธุรกิจจำเป็นจะต้องมองหาโอกาสและช่องทางในปรับปรุงและพัฒนาสินค้าและบริการของตนให้มีความน่าสนใจ มีความโดดเด่นและแตกต่าง เพื่อสร้างความท้าทายตลอดจนสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันได้ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นการมีส่วนร่วมทางความคิด การแสดงออกและการลงมือปฏิบัติเพื่อ“เติมเต็มคุณค่าประสบการณ์ใหม่" ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันกับคนในท้องถิ่น ได้รับความรู้ที่สนุก ได้ลงมือทำในสิ่งที่อาจไม่เคยได้ทำมาก่อน และได้เรียนรู้เข้าใจถึงความหมายของความสุขที่ยั่งยืน ชุมชนบ้านถวาย หมู่บ้านหัตถกรรมสร้างสรรค์ ถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ขึ้นชื่อที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เป็นแหล่งกำเนิดของงานแกะสลักไม้ในจังหวัดเชียงใหม่ จนผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งด้านคุณค่า และคุณภาพของสินค้า จุดรวมความหลากหลายของงานหัตถศิลป์ที่โดดเด่น เช่น งานแกะสลักไม้, งานเดินเส้น-แต่งลาย, งานลงรัก-ปิดทอง, แอนติค,เครื่องเงิน, เครื่องเขิน, ผ้าทอ, เครื่องจักรสาน และเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานที่มีองค์ความรู้แบบบูรณาการ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ เช่น สาขาเกษตรอินทรีย์ สาขาการจัดการการท่องเที่ยว รวมไปถึงสาขาเศรษฐศาสตร์ดิจิตอลและนวัตกรรมการจัดการ และเป็นแหล่งฝึกอบรมให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มชุมชนและกลุ่มเกษตรกร ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ครอบคลุมทุกองค์ความรู้แบบบูรณาการร่วมกัน และมองเห็นศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้นโยบายของภาครัฐ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ตามโครงการการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และมีพัฒนามาสู่การส่งเสริมการนำวิถีภูมิปัญญามาผสานการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสของตลาดการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดในยุค 4.0 เพื่อพัฒนาในพื้นที่ชุมชนบ้านถวาย ให้เกิดการฟื้นฟูและขับเคลื่อนต่อไปได้ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ใหม่ จากการเดินทางท่องเที่ยวผ่านกิจกรรมและการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กรหรือแหล่งท่องเที่ยวนั้น เพื่อเสริมสร้างคุณค่า ความประทับใจและประสบการณ์ที่ดี บนพื้นฐานของความยั่งยืนสืบต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ผู้ชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “Leaning by doing”
เพื่อออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “Leaning by doing”
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้ประกอบการ ประชาชนและผู้ที่สนใจในชุมชนบ้านถวาย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมการ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “Leaning by doing”
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “Leaning by doing”
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผลผลิต / กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “Leaning by doing”
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 กิจกรรม 5
KPI 3 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
95 ร้อยละ 95
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : - ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
ผลผลิต : ผู้ประกอบการ ประชาชนและผู้ที่สนใจในชุมชนบ้านถวาย สามารถออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “Leaning by doing”
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้ประกอบการ ประชาชนและผู้ที่สนใจในชุมชนบ้านถวาย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมการ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “Leaning by doing”
ชื่อกิจกรรม :
อบรมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “Leaning by doing”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.สุธีรา  สิทธิกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 50 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 1 วัน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 50 คน ๆ ละ 40 บาท 2 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือฝึกอบรม ( 30 หน้า/เล่ม)
จำนวน 50 เล่ม ๆ ละ 40 บาท 1 ครั้ง/รุ่น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง
จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,500 บาท 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย
จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 2 คน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 แฟ้ม ปากกา ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 26200.00
ผลผลิต : ผู้ประกอบการ ประชาชนและผู้ที่สนใจในชุมชนบ้านถวาย สามารถออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “Leaning by doing”
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “Leaning by doing”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.สุธีรา  สิทธิกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 50 คน ๆ ละ 40 บาท 2 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง
จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,500 บาท 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ
จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 2 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 50 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 18800.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล