22329 : การส่งเสริมเกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์และการเพิ่มโอกาสทางการตลาดของสินค้าอินทรีย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางสาวณัจฉรียา ชัยประภา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/10/2567 15:52:07
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
18/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เกษตรกรอินทรีย์ภายในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน จำนวน 50 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน วิทยาลัยนานาชาติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายแผนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน งบประมาณประจำปี 2568 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. กฤติยา  ทองคุ้ม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดนัยกฤต  อินทุฤทธิ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. ระพีพันธ์  แดงตันกี
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยนานาชาติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.2 การพัฒนาเทคโนโลยี และองค์ความรู้ทางวิชาการที่ทันสมัยตลอดเวลา ให้ศูนย์ความเป็นเลิศ อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร และฐานเรียนรู้ด้านเกษตร ร่วมสร้างองค์ความรู้ในวิทยาการหลากหลายสาขามาผสมผสานเป็น Cross Disciplinary Collaboration โดยมีเกษตรเป็นรากฐานเพื่อนำความรู้สู่สังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU-IC ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68 MJU-IC เป้าประสงค์ 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด 68 MJU-IC 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU-IC ส่งเสริมและผลักดันผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 1 เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง โดยมีเป้าหมายที่จะมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปสูงขึ้น ซึ่งหนึ่งในตัวชี้วัดคือการพื้นที่เกษตรอินทรีย์ เพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านไร่ และพื้นที่เกษตรท่ได้รับการรับรองตามหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านไร่ เมื่อสิ้นสุดแผน ซึ่งจากการสนับสนุนของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ทำให้มีผู้สนใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์เป็นจำนวนมาก ทั้งเกษตรผู้ที่ทำการเกษตรแบบทั่วไปที่ใช้สารเคมีต้องการเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ หรือประชาชนทั่วไปที่ทำงานในเมืองหรือนอกภาคการเกษตรก็หันมาสนใจการทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น โดยสามารถแบ่งกลุ่มคนที่สนใจการทำเกษตรอินทรีย์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ทำเกษตรอิทรีย์เพื่อการบริโภคเป็นหลักและขายผลผลิตส่วนที่เหลือให้ตลาดในชุมชน และกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่เน้นผลิตสินค้าอินทรีย์เพื่อการค้า ซึ่งจากการสำรวจและสอบถามเกษตรกรในหลายพื้นที่พบว่าประสบปัญหาใหญ่ๆอยู่ 2 ประการคือ 1 เกษตรอินทรีย์ทำยากและไม่มีองค์ความรู้ในผลิตและการจัดการในการทำเกษตรอินทรีย์ 2 ทำได้แล้วไม่รู้จะเอาไปขายที่ไหน ไม่มีที่ขาย ไม่ค่อยมีคนซื้อซึ่งเป็นปัญหาด้านการตลาด ทั้งในเรื่องราคาของสินค้าอินทรีย์ที่สูงกว่าสินค้าทางการเกษตรทั่วไปซึ่งทำให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มที่ใส่ใจสุขภาพและมีกำลังซื้อ และการตลาดในด้านการหาตลาดหรือการเข้าถึงผู้บริโภค ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวสามารถใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันมาช่วยเกษตรกรได้ โดยสอดคล้องกับนโยบาลของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมด้านเกษตรอินทรีย์ ซึ่งทำให้องค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งด้านการผลิต การตลาดและการแปรรูป และส่งเสริมให้มีการพัฒนาและต่อยอดโดยการนำผลงานจากงานวิจัยที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยภายใต้นโยบายนี้มาเผยแพร่ให้กับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจ ในการสำรวจเบื้องต้นยังพบอีกว่าเกษตรกรที่เพิ่งเริ่มมีความสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ได้ไม่นาน บางส่วนหาความรู้จากยูทูปและเว็ปไซต์ต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งก็มีทั้งที่ได้ผลจริงและเป็นโฆษณาชวนเชื่อ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว และจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ในการทำเกษตรอินทรีย์มานานและประสบความสำเร็จทั้งในด้านการผลิตและการตลาด เพื่อให้เกษตรกรรุ่นใหม่ที่สนใจการทำเกษตรอินทรีย์ได้เรียนรู้จากตัวอย่างและประสบการณ์ตรงจากผู้มากประสบการณ์ และช่วยให้ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ได้เร็วขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความเข้าใจในหลักการและกระบวนการผลิตเกษตรอินทรีย์ รวมถึงระบบการรับรองมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตลาดสินค้าอินทรีย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. เสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรในการวางแผนการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย และพัฒนาความสามารถในการใช้ช่องทางการตลาดที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้สูงสุด
3. ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความสามารถในการสร้างรายได้จากการทำเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน ด้วยการจัดการผลิตภัณฑ์และการตลาดที่เหมาะสม รวมถึงการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจในตลาดสินค้าอินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกรสามารถนำความรู้จากการอบรมเพิ่มศักยภาพในการผลิตของตนเองได้
KPI 1 : ร้อยละการใช้ประโยชน์ หรือความรู้ที่ได้รับ ของผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
KPI 4 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผลผลิต (คู่มือการอบรม) ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
60 เล่ม 60
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
95 ร้อยละ 95
KPI 8 : รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
ผลผลิต : เกษตรกรมีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้น
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกรสามารถนำความรู้จากการอบรมเพิ่มศักยภาพในการผลิตของตนเองได้
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมและกิจกรรมผู้ประกอบการพบปะเกษตรกรอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กฤติยา  ทองคุ้ม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 2 รุ่นๆละ 30 คน ๆ ละ 200 บาท 1 มื้อ 1วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 2 รุ่นๆละ 30 คน ๆ ละ 50 บาท 2 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือฝึกอบรม (40 หน้า/เล่ม) จำนวน 30 เล่ม ๆ ละ 70 บาท 2 ครั้ง/รุ่น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล จำนวน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 1 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 3 คน 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 1 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 2 คน 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 1,600 บาท 1 คน 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 แฟ้ม ปากกา ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
ผลผลิต : เกษตรกรมีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้น
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล