22325 : โครงการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสี และการประยุกต์ใช้งานทางการเกษตร อาหาร และสุขภาพ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.พิชณิชา นิปุณะ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 24/10/2567 19:00:42
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  คณาจารย์ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย บุคลากรสายสนับสนุน นักวิจัย ผู้ปฏิบัติงานด้านรังสี ผู้ประกอบการ วิสาหกิจ และเกษตรกรที่มีโอกาสในการประยุกต์ใช้งานเทคนิครังสีเพื่อการเกษตร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ ประจำปี 2568 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. พัชรี  กองภาค
อาจารย์ ดร. กีรติญา  จันทร์ผง
อาจารย์ ดร. สุรีย์พร  สราภิรมย์
อาจารย์ ดร. กิตติคุณ  พระกระจ่าง
รองศาสตราจารย์ ดร. วิรันธชา  เครือฟู
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพานิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.1 สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.19 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ 4.1.3) ผลักดัน ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานวิจัยตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามแผนแม่บทการวิจัยที่สอดคล้องกับทิศทางมหาวิทยาลัยและของชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้นเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางการเกษตร โดยเน้นการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็น University of Life ภายใต้กรอบการพัฒนาด้าน Organic University ด้าน Green University และด้าน Eco. University การเตรียมความพร้อมในด้านกำลังคนและเทคโนโลยีให้สอดรับกับโครงสร้างการพัฒนาของมหาวิทยาลัยนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการวางแผนในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว โดยทางหลักสูตรฟิสิกส์ประยุกต์นั้นได้เล็งเห็นความสำคัญด้านการพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นผู้นำทางด้านการเกษตร อาหาร และสุขภาพปลอดภัย ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค การนำเอาเทคโนโลยีทางด้านฟิสิกส์มาใช้พัฒนาการเกษตรที่ลดการใช้สารเคมี รวมทั้งการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยเพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุงหาพันธุ์พืชต่าง ๆ ใหม่ ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน และพืชสมุนไพรตามแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร รวมถึงพัฒนาด้านอาหารปลอดเชื้อ สุขภาพปลอดโรค ดังนั้นจึงจะต้องมีการเริ่มต้นและวางแผนการพัฒนาในระยะเวลา 20 ปี ไปพร้อม ๆ กับนโยบายของประเทศและมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังได้น้อมนำเอาโครงการพระราชดำริเข้ามาเป็นแนวทางและแบบแผนในการริเริ่มที่จะนำความรู้เข้าไปเพื่อพัฒนาชุมชนรอบ ๆ มหาวิทยาลัย โดยโครงการในพระราชดำริที่ทางหลักสูตรฯ นั้นได้นำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานได้แก่ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลโป่ง อำเภอสันทราย พระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. 2535 และ โครงการทดสอบและขยายพันธุ์พืชเมืองหนาวแม่สาใหม่ บ้านดอยแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 โดยเริ่มจากระยะแรกเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีที่จะเป็นเทคโนโลยีอนาคต เพื่อให้ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคเกิดความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง และสร้างความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบการเกษตรปลอดภัย อาหารปลอดภัย สุขภาพปลอดโรคอย่างไร รวมถึงความเข้าใจในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งาน ทั้งผลต่อเกษตรกรและผลต่อผลิตภัณฑ์ พร้อมกันนี้การพัฒนางานวิจัยทางด้านการนำเอาเทคโนโลยีทางฟิสิกส์ที่มีการประยุกต์ด้านกายภาพก็เป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีในระยะกลาง และแผนการพัฒนาในระยะยาวนั้นควรจะเป็นการขยายกำลังการผลิตจากระดับห้องปฏิบัติการไปสู่การพัฒนาในระดับอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่มีการรวมกลุ่ม ชุมชน รัฐวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น เพื่อผลักดันให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ ประชาชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อนำไปแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันสูงได้ ซึ่งมุ่งเน้นในกลุ่มสินค้าระดับที่มีความปลอดภัยสูง ราคาดีก่อน เมื่อเทคโนโลยีเกิดความแพร่หลายและนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรมแล้ว จะทำให้สินค้าทางการเกษตรทุกอย่างลู่สู่ความเป็นเกษตรปลอดภัยทั้งหมดในที่สุด ทั้งนี้การนำเทคนิคใหม่ ๆ เข้ามาประยุกต์งานทางด้านการเกษตร อาหาร และสุขภาพนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะเทคนิคทางด้านกายภาพ เพื่อลดบทบาททางด้านการใช้สารเคมี เทคนิคทางด้านรังสีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมนำมาใช้งาน เช่น รังสีแกรมมา รังสีเอ็กซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการประยุกต์ใช้งาน ในการปรับปรุงพันธุ์พืช การฆ่าเชื้อ การถนอมอาหาร เป็นต้น เทคนิคทางด้านรังสีนั้นนอกจากจะมีแหล่งกำเนิดมาจากสารรังสีอย่างที่เรารู้จักกัน เทคนิคไอออนบีม อิเล็กตรอนบีม และพลาสมานั้นยังเกี่ยวรวมอยู่ในกลุ่มทางด้านเทคนิครังสีนี้อีกด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการประยุกต์ใช้งานนั้นมีความหลากหลายยิ่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้นมีเครื่องฉายรังสีที่เป็นเพียงหนึ่งเดียวในเขตภาคเหนือนั้น การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้กับทั้งบุคคลภายนอก นักศึกษา และบุคคลากรในมหาวิทยาลัยให้ได้รับความรู้และร่วมใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่นั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง นอกจากนั้นเทคโนโลยีนิวเคลียร์มีบทบาทที่สำคัญในกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งทางการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม และการศึกษาวิจัยในการนำเอาเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาบูรณาการในงานนั้น ผู้ปฏิบัติงานบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการนำสารกัมมันตรังสีมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นการสร้างองค์ความรู้ และความเข้าใจจึงมีบทบาทสูงมากในการสร้างทัศนคติที่ดีต่อเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสี อีกทั้งยังสามารถขยายขอบเขตของการนำไปประยุกต์ใช้ในงานของตนเอง แต่เนื่องด้วยการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจึงต้องสร้างมาตรการการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานบางส่วนมีความหวาดกลัวอันตราย และบางส่วนเกิดความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงาน อันอาจจะส่งผลให้ได้รับอันตรายจากรังสีในที่สุด สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์จึงเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว อีกทั้งบุคลากรมีองค์ความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีที่พร้อมจะให้ความรู้ความเข้าใจ และมีเครื่องกำเนิดรังสี ที่พร้อมให้การสาธิตวิธีการและวิธีป้องกันตนเองได้ ทางคณะผู้จัดอบรมจึงได้กำหนดโครงการขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องของเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสี รวมถึงสร้างกำลังคนเพื่อรองรับการเป็นศูนย์ฉายรังสีประจำภาคเหนือในอนาคต อีกทั้งยังสามารถป้องกันอันตรายขณะที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับวัสดุกัมมันตรังสีแก่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับผิดชอบ และควบคุมการปฏิบัติงานด้านการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานในหน่วยงานต้นสังกัดให้เป็นไปด้วยความปลอดภัย และพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ยกระดับมาตรฐานสินค้าภาคอุตสาหกรรมเกษตร และอาหารให้มีอำนาจการแข่งขันเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ด้านโครงการพัฒนาด้านการเกษตร

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
7.1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านนิวเคลียร์และรังสีสำหรับบุคคลทั่วไป อาจารย์ โดยมุ่งเน้นกลุ่มเกษตรกร บริษัท รัฐวิสาหกิจชุมชน ผู้นำกลุ่มเกษตรกรหัวก้าวหน้า เป็นต้น เพื่อให้เปิดมุมมองและนำไปถ่ายทอดต่อไป
7.2 เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไป ได้เรียนรู้งานด้านรังสี การปฏิบัติงานทางรังสี และการฝึกหัดการตรวจวัดรังสี
7.3 เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ของประเทศให้มีทัศนคติและมุมมองที่ดีในงานด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ และเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
7.4 เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้รังสีจากต้นกำเนิด เครื่องกำเนิดรังสีและผู้สนใจการใช้ ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสีในทางสันติ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลจากการจัดกิจกรรมโครงการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสี และการประยุกต์ใช้งานทางการเกษตร อาหาร และสุขภาพ
KPI 1 : - ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0002 0.0226 0.0222 0 ล้้านบาท 0.045
KPI 2 : - ร้อยละของผู้รับบริการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 3 : - ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : - ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 5 : - ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 ร้อยละ 50
KPI 6 : - ร้อยละของผู้รับบริการมีแนวทางการหารายได้จากความรู้ที่ได้รับ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ร้อยละ 5
KPI 7 : - ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : - จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลจากการจัดกิจกรรมโครงการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสี และการประยุกต์ใช้งานทางการเกษตร อาหาร และสุขภาพ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 : วางแผนดำเนินการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/12/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พัชรี  กองภาค (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กีรติญา  จันทร์ผง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สุรีย์พร  สราภิรมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.กิตติคุณ  พระกระจ่าง (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.วิรันธชา  เครือฟู (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าถ่ายเอกสาร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 : ประชาสัมพันธ์โครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/12/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พัชรี  กองภาค (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กีรติญา  จันทร์ผง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สุรีย์พร  สราภิรมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.กิตติคุณ  พระกระจ่าง (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.วิรันธชา  เครือฟู (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าถ่ายเอกสาร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 : จัดเตรียมเอกสารและวัสดุปฏิบัติการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พัชรี  กองภาค (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กีรติญา  จันทร์ผง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สุรีย์พร  สราภิรมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.กิตติคุณ  พระกระจ่าง (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.วิรันธชา  เครือฟู (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร กระดาษ ปากกา โฟมแผ่น การดาษแข็ง กระดาษสี
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกปริ้นท์ แผ่นซีดี
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น เมล็ดพันธุ์พืช ดินสำหรับปลูก กระถาง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงดำ แก้วน้ำ กระดาษชำระ ถุงมือยาง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เช่น สายไฟฟ้า เซนเซอร์สำหรับวัดรังสี แผงวงจรควบคุม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องแก้ว ถุงมือวิทยาศาสตร์ ถุงมือกันร้อนกันเย็น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 22600.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 4 : จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2568 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พัชรี  กองภาค (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กีรติญา  จันทร์ผง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สุรีย์พร  สราภิรมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.กิตติคุณ  พระกระจ่าง (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.วิรันธชา  เครือฟู (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 55 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,250.00 บาท 0.00 บาท 8,250.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 55 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,850.00 บาท 0.00 บาท 3,850.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย
จำนวน 1 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 4 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ
จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 400 บาท 4 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน
จำนวน 10 คน ๆ ละ 200 บาท 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 22100.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 5 : ติดตามและประมวลผล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พัชรี  กองภาค (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กีรติญา  จันทร์ผง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สุรีย์พร  สราภิรมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.กิตติคุณ  พระกระจ่าง (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.วิรันธชา  เครือฟู (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าถ่ายเอกสาร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 100.00 บาท 0.00 บาท 100.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
จำนวนผู้เข้าร่วมอบรมจะมากกว่าที่ลงทะเบียนไว้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. พยายามประชาสัมพันธ์และเร่งรัดการลงทะเบียนอย่างเป็นทางการก่อนปิดสมัคร 2. เตรียมเอกสารและอาหารเพิ่มเติมมากกว่าจำนวนที่ต้องการ ร้อยละ 10
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ได้แก่ การนำนักศึกษาไปฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน (โดยขอให้ระบุรายวิชา ตาม มคอ. และระบุจำนวนคน) รายวิชา 10309260 เทคโนโลยีรังสีและการป้องกันอันตรายจากรังสี จำนวน 10 คน รายวิชา 10309261 ปฏิบัติการเทคโนโลยีรังสีและการป้องกันอันตรายจากรังสี จำนวน 10 คน รายวิชา 10309341 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์เบื้องต้น จำนวน 10 คน รายวิชา 10309342 รังสีสำหรับเกษตร จำนวน 10 คน รายวิชา 10309343 ไบโอพลาสมา จำนวน 10 คน
ช่วงเวลา : 01/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
โครงการนำองค์ความรู้/ผลงานวิจัย เรื่อง ความปลอดภัยทางด้านรังสี และวิชาทางด้านการประยุกต์ใช้งานรังสีเพื่อการเกษตร มาบริการวิชาการ ผลงานวิจัยที่นำไปบริการวิชาการ เช่น P. Thana, C. Kuensaen, P. Poramapijitwat, S. Sarapirom, L.D. Yu and D Boonyawan, (2020), “A compact pulse-modulation air plasma jet for the inactivation of chronic wound bacteria: Bactericidal effects & host safety”. Surface & Coatings Technology, 126229. S. Wongke, L.D. Yu, S. Natyanun, S. Unai, S. Sarapirom, N. Pussadee, and U. Ti
ช่วงเวลา : 01/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล