22320 : การถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตผลิตภัณฑ์หนังใบลำไย
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.พิชณิชา นิปุณะ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 20/10/2567 17:08:53
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านกระดาษสาบ้านดงป่าซาง ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ ประจำปี 2568 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธวัฒน์  สร้อยทอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปราณรวีร์  สุขันธ์
อาจารย์ ดร. เนตราพร  ด้วงสง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพานิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.1 สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.19 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ 4.1.3) ผลักดัน ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานวิจัยตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามแผนแม่บทการวิจัยที่สอดคล้องกับทิศทางมหาวิทยาลัยและของชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีการปลูกลำไยเป็นจำนวนมาก โดยลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคเหนือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รายงานข้อมูลการเพาะปลูกลำไยในปี พ.ศ. 2562-63 พบว่า ร้อยละ 78 ของผลผลิตลำไยอยู่ในภาคเหนือ โดยมีผลผลิตรวมทั้งประเทศประมาณ 1 ล้านตัน พื้นที่เพาะปลูกรวม 1.17 ล้านไร่ และคิดเป็นมูลค่ารวม 20,810 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เกษตรกรที่เพาะปลูกลำไยยังคงประสบปัญหายากจน เนื่องจากผลผลิตไม่ได้คุณภาพและมาตรฐาน การแปรรูปผลิตภัณฑ์ไม่หลากหลาย นอกจากนี้ ลำไยนิยมนำผลมารับประทาน หรือนำมาทำเป็นสารสกัดเชิงหน้าที่ในเครื่องสำอาง ในขณะที่ส่วนอื่นๆ ของต้นลำไย เช่น ใบลำไย เปลือกลำไย หรือกิ่งก้านที่เกิดจากการตัดแต่ง ยังไม่มีการนำมาประยุกต์ใช้ ทำให้เกิดเป็นวัสดุเหลือทิ้งจำนวนมาก ในการกำจัดก็นิยมใช้วิธีการเผาซึ่งทำให้เกิดฝุ่นควันและทำลายสิ่งแวดล้อม ส่วนการใช้ประโยชน์เช่น การผลิตปุ๋ยหมักหรือนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรไปใช้โดยตรงมีกระบวนการที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน และยังขาดการสนับสนุนที่เหมาะสม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านกระดาษสาบ้านดงป่าซาง ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการรวมกันของกลุ่มแม่บ้านเพื่อผลิตและแปรรูปกระดาษสาเป็นหลัก สืบเนื่องมาจากนายสิงห์คำ ต๊ะมาที่มีประสบการณ์การทำและแปรรูปกระดาษสาจากตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ นำความรู้มาเผยแพร่ให้ชาวบ้านจึงได้มีการทำกระดาษสาขึ้น โดยนำผลผลิตทางการเกษตร เช่น เมล็ดข้าวเปลือก เมล็ดถั่วเหลือง เมล็ดงา เมล็ดข้าวโพดและวัชพืช กิ่งไม้ ใบหญ้า มาประดับตกแต่งเพื่อเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์และสร้างคุณค่าแก่สิ่งที่ไร้ค่า และเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน โดยทำแผ่นกระดาษสาส่งขายที่ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง นอกจากนี้ สมาชิกในกลุ่มยังประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งโดยมากเป็นการทำสวนลำไย เก็บเกี่ยวผลลำไยได้ปีละ 1-2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ทางวิสาหกิจชุมชนมองเห็นปัญหาก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวผลลำไยว่า เมื่อมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อรอการออกผลในครั้งถัดไป ทำให้มีใบลำไยเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ประกอบกับทางวิสาหกิจชุมชนมีแนวคิดในการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าให้แก่วัสดุเหลือทิ้งอยู่แล้ว รวมทั้งสถานการณ์ปัจจุบัน ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสารพิษ และปัญหาของระบบนิเวศ ทำให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จนเกิดเป็นกระแสการรักษ์โลก ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่กลุ่มผู้บริโภคเท่านั้นที่ให้ความสนใจ บริษัทผู้ผลิตไปจนถึงนักออกแบบก็หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน "วัสดุจากธรรมชาติ" เป็นวัสดุที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานตกแต่ง ไปจนถึงผลิตเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน วัสดุเหล่านี้เป็นวัสดุที่สามารถย่อยสลายและนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีกหลายครั้ง หรือเรียกได้ว่าเป็นวัสดุจากธรรมชาติ และจากปัญหาเรื่องการใช้หนังสัตว์ในการนำไปผลิตเป็นของตกแต่ง กระเป๋า รองเท้า หรือของใช้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เพราะต้องใช้สารเคมีอันตรายในกระบวนการผลิต ไปจนถึงปัญหาเรื่องการทารุณสัตว์ จนนำการรณรงค์ไม่ใช้หนังสัตว์ เพื่อมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นำไปสู่แนวความคิดการผลิตวัสดุหนังเทียมที่แปรรูปจากใบลำไย สามารถช่วยสร้างรายได้พิเศษให้กับเกษตรกร อีกทั้ง โครงการนี้ยังน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ด้านสิ่งแวดล้อมที่ว่า “...ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสำคัญควบคู่กับการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันของทุกประเทศ กล่าวคือการพัฒนายิ่งรุดหน้า ปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและภาวะมลพิษก็ยิ่งก่อตัวและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าวอยู่ในขณะนี้...- ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๕” มาเป็นแนวคิดของโครงการที่ตะหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม และน้อมนำหลักการดำเนินงานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ว่า “การพัฒนาแบบองค์รวม โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ไปพร้อมๆ กัน โดยกลุ่มเป้าหมายจะต้องได้รับความรู้จากกิจกรรมที่ทำและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตต่อไปได้ - บทนำในหนังสือสัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” มาเป็นแนวทางการดำเนินโครงการในรูปแบบบริการวิชาการตามนโยบายของมหาวิทยาลัยโดยมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทั้งความรู้เบื้องต้นและการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และกระบวนการในการผลิตผลิตภัณฑ์จากหนังใบลำไยให้แก่ชุมชนผ่านกิจกรรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในชุมชน โดยสอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ด้านโครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
7.1 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตผลิตภัณฑ์จากหนังใบลำไยจากระดับห้องปฏิบัติการสู่ชุมชนผ่านการเรียนรู้แบบองค์รวมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
7.2 เพื่อก่อให้เกิดการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่
7.3 เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้ชุมชน
7.4 เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับใบลำไย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลการจัดกิจกรรมโครงการการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์จากหนังใบลำไย
KPI 1 : - ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : - ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.005 0.002 0.03115 0.00685 ล้านบาท 0.045
KPI 3 : - ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : - จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 5 : - ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : - ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 7 : - จำนวนต้นแบบผลิตภัณฑ์หนังใบลำไยที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ต้นแบบ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลการจัดกิจกรรมโครงการการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์จากหนังใบลำไย
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 : สำรวจปริมาณใบลำไยจากกลุ่มแม่บ้านกระดาษสาบ้านดงป่าซาง ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2567 - 31/12/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาสำรวจปริมาณใบลำไย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 : เตรียมวัตถุดิบ เช่น การปรับสภาพใบลำไยเพื่อใช้ทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2567 - 31/01/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น กลีเซอรีน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น กะละมัง ทัพพี
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 : ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากหนังใบลำไย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น หนังเทียม กระดาษสา ฟิล์มเคลือบด้าน กาวยาง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 4 : เตรียมจัดการอบรมโครงการให้กับชุมชน และผู้สนใจ เช่น การประชาสัมพันธ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2568 - 30/04/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น แผ่นพับ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 5 : จัดการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์จากหนังใบลำไย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2568 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 25 คนๆ ละ 200 บาท 1 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 25 คนๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 วันๆ ละ 2,800 บาท 1 คัน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย
จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ
จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 5 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา แฟ้ม เทปใส ไส้แม็กซ์ กรรไกร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ผ้าสปัน ถุงดำ เข็มเย็บผ้า ด้ายเย็บผ้า ทัพพี
กะละมัง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น หนังเทียม กระดาษสา ฟิล์มเคลือบด้าน กาวยาง
กลีเซอรีน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,200.00 บาท 0.00 บาท 2,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 29150.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 6 : ติดตามผลการดำเนินงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2568 - 31/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 7 : จัดเสวนาสรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 25 คนๆ ละ 200 บาท 1 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 25 คนๆ ละ 35 บาท 1 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 875.00 บาท 875.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 975.00 บาท 975.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 6850.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การนำนักศึกษาไปฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนจากรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รายวิชากระบวนการผลิตวัสดุ จำนวน 5 คน
ช่วงเวลา : 01/11/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล