22318 : โครงการการส่งเสริมศักยภาพการใช้สมุนไพรและพืชพื้นถิ่นเพื่อการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มเพียงดิน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
อาจารย์ ดร.กุลชา ชยรพ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/10/2567 18:21:23
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/06/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพียงดินสันป่าเปา ต.สันป่าเปา อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ แหล่งงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี) 2568 300,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. กุลชา  ชยรพ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68 AP 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด 68 AP 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 AP 2.3.2.1 ขับเคลื่อนการสำรวจผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมายจากการให้บริการวิชาการและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย คือ สังคมสูงวัย (aging society) เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2566 ทำให้อัตราส่วนการพึ่งพิงของผู้สูงอายุต่อวัยแรงงานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองจึงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 2 ของแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทาย และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม โดยยุทธศาสตร์นี้มุ่งผลลัพธ์สำคัญ คือ ผู้สูงอายุไทยที่สามารถพึ่งตนเองได้ มีคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคม ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ พืชสมุนไพร เป็นพืชที่มีบทบาทต่อการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนมาอย่างยาวนาน สะท้อนให้เห็นถึงองค์ความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิมในการใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต ตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท ร้อยละ 61 ของพื้นที่เป็นพื้นที่การเกษตร ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำกวงไหลผ่าน ดินเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม คนในชุมชนส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกร และเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ พื้นที่ตำบลสันป่าเปาจึงมีความหลากชนิดของพืชพรรณธรรมชาติสูง รวมถึงมีพืชพื้นถิ่นและพืชสมุนไพรที่นิยมปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือนหลากหลายชนิด ในปีงบประมาณ 2566 ได้มีการดำเนินโครงการบริการวิชาการเรื่อง “การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่นเพื่อเพิ่มศักยภาพการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มเพียงดิน” ผู้ร่วมกิจกรรมเป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพียงดินสันป่าเปา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุนั้น พบว่ามีการปลูกพืชสมุนไพรและพื้นถิ่นเพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือนกว่า 50 ชนิด โดยนิยมนำมารับประทานคู่กับอาหารประเภท ลาบ น้ำพริก หรือนำไปประกอบอาหารประเภทแกง ยำ ส้า เช่น ผักแปม ดีปลากั้ง เพี้ยฟาน หูเสือ ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้มีการนำพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือที่ขึ้นเป็นวัชพืชมาใช้ประโยชน์ เช่น ปืนนกไส้ โดยนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ได้แก่ ปืนนกไส้ดอง และยำปืนนกไส้ ในกลุ่มเพียงดินสันป่าเปา นอกจากจะมีผู้ที่มีองค์ความรู้ในการใช้พืชเป็นอาหารแล้ว ก็ยังมีผู้สูงอายุที่ยังคงมีองค์ความรู้ในการนำพืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่นไปใช้เป็นยาตามภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเขตเมืองอาจส่งผลทำให้ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการผลิตในภาคการเกษตรแล้ว ก็ยังส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่น ทำให้ชุมชนสูญเสียความมั่นคงทางอาหารและยา ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นและภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรอาจถูกลดความสำคัญและค่อย ๆ เลือนหายไป และเนื่องจากสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งในวัยนี้โดยทั่วไปจะมีความเสื่อมถอยของสภาพร่างกายเกิดขึ้น จึงต้องการกิจกรรมที่จะสามารถช่วยส่งเสริมด้านสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง นอกจากนี้ จากการดำเนินโครงการบริการวิชาการในปีงบประมาณ 2566 พบว่า ทางชุมชนมีความต้องการที่จะเรียนรู้วิธีการดูแลสุขภาพด้วยพืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่นเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ยังขาดองค์ความรู้ในการใช้สมุนไพรและพืชพื้นถิ่นในการดูแลสุขภาพตามภูมิปัญญา และต้องการทราบข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรที่ไม่ได้เป็นการกล่าวอ้างเกินจริง (over claim) นอกจากนี้ยังต้องการทราบวิธีการแปรรูปสมุนไพรเพื่อนำไปต่อยอด เพิ่มมูลค่า และสร้างรายได้ให้กับตนเองเพิ่มมากขึ้น โครงการบริการวิชาการครั้งนี้ มีแผนที่จะดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพด้วยพืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่น และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพร เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดจากการรับทราบข้อมูลเท็จหรือข้อมูลที่กล่าวอ้างเกินจริง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ รวมถึงวิธีการแปรรูปสมุนไพรเบื้องต้นซึ่งจะนำไปสู่การใช้สมุนไพรเพื่อพึ่งพาตนเอง และต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ในใช้สมุนไพรและพืชพื้นถิ่นของชุมชนในการดูแลสุขภาพตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในด้านการใช้เป็นอาหารและยา
เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีการนำสมุนไพรและพืชพื้นถิ่นมาใช้ประโยชน์ ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น และอ้างอิงจากข้อมูลงานวิจัยที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพึ่งพาตนเองในด้านการดูแลสุขภาพ โดยใช้พืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่นในครัวเรือน ที่จะนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพ และสามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ในอนาคต
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การใช้สมุนไพรและพืชพื้นถิ่นเพื่อการพึ่งพาตนเอง
KPI 1 : จำนวนผู้สูงอายุและสมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 20 20 คน 20
KPI 2 : ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 3 : ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาและกำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
95 ร้อยละ 95
KPI 4 : ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความรู้เกี่ยวกับการเก็บรักษาและแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าร่วมประกวดการเบลนด์ชาสมุนไพร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 กลุ่ม 3
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.3 ล้านบาท 0.3
KPI 7 : ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณและการใช้ประโยชน์สมุนไพรและพืชพื้นถิ่นเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 8 : ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำลูกประคบเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การใช้สมุนไพรและพืชพื้นถิ่นเพื่อการพึ่งพาตนเอง
ชื่อกิจกรรม :
1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ภูมิปัญญาการใช้พืชสมุนไพร และพืชพื้นถิ่นเพื่อการดูแลสุขภาพ"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/12/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กุลชา  ชยรพ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าป้ายไวนิล
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 คน ๆ ละ 200 บาท 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษบรู๊ฟ ปากกาเคมี คลิปหนีบกระดาษ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
3,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 18500.00
ชื่อกิจกรรม :
2. ถ่ายทอดองค์ความรู้ (2.1 สรรพคุณพืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่นที่สำคัญของชุมชน, 2.2 การดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย, 2.3 การใช้ประโยชน์สมุนไพรตามงานวิจัยในปัจจุบัน, 2.4 หลักการเก็บรักษาและแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กุลชา  ชยรพ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 4 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
9,000.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 4 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,200.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 4 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,600.00 บาท 5,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าถ่ายเอกสารประกอบการบรรยาย จำนวน 20 ชุด ๆ ละ 80 บาท 4 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
3,200.00 บาท 3,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักวิทยากร (เฉพาะกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ 2.3 การใช้ประโยชน์สมุนไพรตามงานวิจัยในปัจจุบัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเดินทางวิทยากร (ต่างจังหวัด) โดยเครื่องบิน ไปกลับ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (เฉพาะกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ 2.3 การใช้ประโยชน์สมุนไพรตามงานวิจัยในปัจจุบัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 คน ๆ ละ 200 บาท 4 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,000.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 4 คน คนละ 1 วัน (รวม 4 วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
7,200.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ฟิวเจอร์บอร์ด คลิปบอร์ด หมึกปริ้น ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
9,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 75800.00
ชื่อกิจกรรม :
3. อบรมเชิงปฏิบัติการ (3.1 การทำลูกประคบสมุนไพร, 3.2 การแปรรูปชาสมุนไพรและการเบลนด์ชา)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2568 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กุลชา  ชยรพ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,500.00 บาท 4,500.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,100.00 บาท 2,100.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,800.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 5,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักวิทยากร (กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 3.2 การแปรรูปชาสมุนไพรและการเบลนด์ชา)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเดินทางวิทยากร (ต่างจังหวัด) โดยเครื่องบิน ไปกลับ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 3.2 การแปรรูปชาสมุนไพรและการเบลนด์ชา)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 คน ๆ ละ 200 บาท 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,000.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน (กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 3.1 การทำลูกประคบสมุนไพร)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ไม่ใช่บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท 1 คน 1 วัน 1 ครั้ง (กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 3.2 การแปรรูปชาสมุนไพรและการเบลนด์ชา)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น หม้อ กะละมัง ชะลอม ฟิล์มยืด ตะกร้า บรรจุภัณฑ์ ซองชา ที่กรองชา อุปกรณ์เบลนด์ชา ขวดโหล ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 82,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 82,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น ถุงซิปล็อค กล่องสแตนเลส แผ่นรองตัด คัตเตอร์ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 125000.00
ชื่อกิจกรรม :
4. ประกวดเบลนด์ชาสมุนไพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2568 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กุลชา  ชยรพ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าปริ้นส์และเข้าเล่มรายงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 3 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 คน ๆ ละ 200 บาท 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น หม้อ กะละมัง ผ้าขาวบาง มีด เขียง ครก สาก ซองเยื่อ ที่กรองชา ถาดสแตนเลส ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 52,000.00 บาท 0.00 บาท 52,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษปรู๊ฟ สกอตช์เทป ไม้บรรทัด ปากกาเคมี ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,500.00 บาท 0.00 บาท 6,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 80700.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สมาชิกชุมชนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เนื่องจากติดธุระหรือมีกิจกรรมอื่นที่ต้องเข้าร่วมหลายกิจกรรม
จำนวนผู้เข้าร่วมการประกวดสูตรชาสมุนไพรไม่ครบตามเป้าหมาย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
วางแผน นัดหมายวันและเวลาในการจัดกิจกรรมล่วงหน้า และประชาสัมพันธ์ผ่านกลุ่มไลน์ของชุมชน
กำหนดรางวัลสำหรับการประกวดสูตรชาสมุนไพรโดยสอบถามจากความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล