22315 : โครงการ BCG โมเดลกับการพัฒนาป่าชุมชนแนวทางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 9/10/2567 15:31:02
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยโป่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2568 40,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ปิยะพิศ  ขอนแก่น
อาจารย์ ดร. อุบลวรรณ  สุภาแสน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68-2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ตั้งอยู่บนพื้นที่เลียบแม่น้ำยมฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นที่ดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดแพร่ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยโป่ง ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ท่านทรงตระหนกถึงความสำคัญของการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่อยู่ต้นลำน้ำยม ในการบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่ ต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำ เนื่องจากแม่น้ำยมไม่มีเขื่อนกักเก็บน้ำ โดยโครงการพระราชดำริอ่างเก็บน้ำห้วยโป่ง เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรแหล่งสำคัญในพื้นที่ตำบลห้วยหม้าย อีกทั้งจะเป็นแหล่งป่าเปียกในพื้นที่ด้วย รองรับการสร้างความมั่นคงของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นฐานการผลิตและการพัฒนาที่เป็นภูมิคุ้มกันอย่างดีให้กับสังคมและเศรษฐกิจของคนในพื้นที่ สัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนในตำบลห้วยหม้านยทุกระดับ อีกทั้งเป็นแนวทางหรือวิธีในการช่วยสร้างความชุ่มชื้นเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ ต้นน้ำลำธารในการคืนความอุดมสมบูรณ์ และทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ พืช สัตว์ สามารถดำรงชีพอยู่ได้ เพื่อฟื้นฟูต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มเป็นลำดับ ในการต่อยอดการพัฒนาพื้นที่ โดยประยุกต์ BCG โมเดลในการพัฒนา โดยเน้นการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับการพัฒนา 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล ทำให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน เกิดชุมชมเข้มแข็ง และมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งต่อผลประโยชน์สู่ชุมชน ผ่านการผสานพลังเอกชน ภาครัฐ มหาวิทยาลัย และชุมชน ทั้งในมิติการทำงานของนักวิจัย การบริการด้านวิชาการ องค์ความรู้ และโครงสร้างพื้นที่ เพื่อร่วมขับเคลื่อนการทำงานในรูปแบบภาคีร่วมกันระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคการศึกษา และชุมชน ตลอดจนการเสริมความเข้มแข็งของทุนทางสังคมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการทำงานแบบบูรณาการ และสร้างให้เกิดจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการจัดการของคนในพื้นที่ ตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่เข้า ได้แก่ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อการแก้ไขปัญหาให้ตรงประเด็นอย่างแท้จริง ทั้งในประเด็นการครอบครอง สิทธิ การใช้ และการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นถึงเหตุปัจจัยระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การป้องกันภัยคุกคามต่อระบบนิเวศ การสร้างฐานรากที่มั่นคงเข้มแข็งในสังคมฐานราก การใช้โอกาสและปัจจัยแวดล้อมที่มีอยู่ในสังคม เพื่อยกระดับและปรับเปลี่ยนคุณภาพชีวิต มุ่งเสริมในประเด็นการพัฒนาเชิงคุณภาพอย่างเป็นลำดับขั้น ถือเป็นการพัฒนาที่สามารถพึ่งตนเองได้ ภายใต้โครงการ BCG โมเดลกับการพัฒนาป่าชุมชนแนวทางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงจัดทำโครงการ BCG โมเดลกับการพัฒนาป่าชุมชนตามแนวทางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในโครงการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดแพร่ โดยการคำนึงถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนแนวคิดการบริหารจัดการมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการฟื้นฟูและสร้างความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญทั้งในประเด็นดิน น้ำ ป่าไม้ เพื่อให้ฐานทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต เป็นพื้นฐานของการพึ่งตนเอง การพัฒนาทางด้านอาชีพ และการเป็นผู้ประกอบการ โดยเพิ่มรายได้จากโมเดลการฟื้นฟูป่าในการขยายเชื้อเห็ดไมคลอไรซา ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดไมคลอไรซา ต้องไม่เป็นพื้นที่เผาไหม้ ปราศจากสารเคมีทุกชนิด รวมทั้งเสริมสร้างทุนทางสังคม และรักษาขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพเกี่ยวโยงอยู่ในทรัพยากรทุกอย่างและเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของระบบนิเวศ อีกทั้งให้สมาชิกในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษา และใช้ประโยชน์ร่วมกัน ร่วมกันค้นหาปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข และปกป้องทรัพยากรของชุมชน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ตาม BCG โมเดล พัฒนาป่าชุมชนแนวทางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เชื่อมโยงการฟื้นฟูป่าด้วยเห็ดไมคลอไรซา
2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยการสร้างการเป็นผู้ประกอบการ ด้วยโมเดลการเพาะเห็ดไมคลอไรซา
3 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางเกษตรอินทรีย์ ลดการเผา ลดการใช้สารเคมี เพิ่มประสิทธิภาพการขยายเชื้อเห็ดไมคลอไรซา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การประยุกต์ BCG โมเดลกับการบริหารจัดการป่าและน้ำ เพื่อการพัฒนาโมเดลการฟื้นฟูป่าด้วยเห็ดไมคลอไรซ่า
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.04 ล้านบาท 0.04
KPI 3 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 4 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 7 : จำนวนพื้นที่สีเขียว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 พื้นที่ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การประยุกต์ BCG โมเดลกับการบริหารจัดการป่าและน้ำ เพื่อการพัฒนาโมเดลการฟื้นฟูป่าด้วยเห็ดไมคลอไรซ่า
ชื่อกิจกรรม :
การถอดบทเรียนการประยุกต์ BCG โมเดลกับการบริหารจัดการป่าและน้ำ เพื่อการพัฒนาโมเดลการฟื้นฟูป่าด้วยเห็ดไมคลอไรซ่า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ปิยะพิศ  ขอนแก่น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.อุบลวรรณ  สุภาแสน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ศรายุทธ  ตรีรัตน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณา  มังกิตะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลพร  ปานง่อม (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โอฬาร  อ่องฬะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ศุกรี  อยู่สุข (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จันทร์จิรา  นันตา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ดวงพร  เพิ่มสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ธนวัฒน์  ปินตา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ศศิมินตรา  บุญรักษา (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์  ไชยมณี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศรา  วัฒนนภาเกษม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สิริยุพา  เลิศกาญจนาพร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สินีนาฏ  สองศรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 60 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 1 วัน ๆ ละ 60 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 13,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 13,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น สมุด ปากกา กระดาษพรู๊พ ปากกาเคมี สก๊อตเทป ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 7,000 บาท
2. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกปริ๊นเตอร์ แฟลชไดร์ฟ แผ่นซีดี เป็นเงิน 4,600 บาท
3. ค่าวัสดุการเกษตร เช่น เชื้อเห็ด กะละมัง ตะเกียบ เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 19,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 40000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การนำนักศึกษาไปฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน ในรายวิชา 21219501 การประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการจัดการป่าไม้ และรายวิชา 21219642 เทคโนโลยีการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ช่วงเวลา : 01/11/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล