22294 : การพัฒนาต้นแบบแปลงสาธิตการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองเพื่อการค้า ในเขตพื้นที่อำเภอ สันทราย และอำเภอพร้าว จ.เชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นายธนภัทร เย็นมาก (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/10/2567 13:58:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  200  คน
รายละเอียด  เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง นักศึกษา และผู้สนใจการผลิตพืชอินทรีย์
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน ฟาร์มมหาวิทยาลัย หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบอุดหนุนโครงการบริการวิชาการแก่สังคม 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย ธนภัทร  เย็นมาก
นาย ณัฏฐชัย  อัฐวงศ์ชยากร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
ฟาร์มมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ยึดถือแนวทางปฏิบัติทางด้านการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในด้านเกษตรกรรมยั่งยืน หรือเกษตรธรรมชาติ เป็นแนวปฏิบัติในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในไร่นาให้เกิดประโยชน์โดยสามารถลดอันตรายจากใช้สารเคมีในไร่นา เช่น การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด การปลูกพืชหมุนเวียน จะช่วยตัดวงจรการระบาดของโรคแมลงในพืช การปลูกพืชตระกูลถั่วช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน การไถเตรียมดินเพียงครั้งเดียวโดยไม่ไถพรวน ถางแล้วปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและความขึ้น การปลูกตะไคร้หอม เพื่อไล่แมลง การใช้เมล็ดสะเดาบดแล้วแช่น้าในอัตรา ๑ กิโลกรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ใช้รดต้นไม้เพื่อป้องกันหนอนด้วง ผีเสื้อ ตั้กแตน หนอนซอนใบ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน แมลง หวีขาว ที่อยู่ในพืชผักจําพวกพริก กวางตุ้ง คะน้า ผักกาดหัว แครอท ผักบุ้ง โดยการปลูกผักในมุ่งและนอกมุ้ง โดยที่พืชผักจากแปลงเกษตรกรรมยั่งยืน สามารถสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค ถึงแม้ว่าผักเหล่านั้นจะมีลักษณะเป็นรูจากการถูกหนอน และแมลงกัดกินบ้างก็ตาม สามารถสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค ถึงแม้ว่าผักเหล่านั้นจะมีลักษณะ เป็นรูจากการถูกหนอน และแมลงกัดกินบ้างก็ตาม ในปัจจุบัน มีการทดสอบวิธีการเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่ศูนย์สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี จังหวัดเพชรบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขา หินซ้อนฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ฯ เป็นต้น คาดว่าในอนาคตวิธีการดังกล่าวจะได้รับการยอมรับในหมู่เกษตรกรและ ผู้บริโภคในวงกว้างขึ้น(https://www.moac.go.th/king-dev_agri) ผลที่ตามมาก็คือเกษตรกรต้องหันมาพึ่งปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับพืชและป้องกันความเสียหายของพืชจากโรคและแมลง และมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณการใช้ที่มากขึ้นในทุกๆ จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองเป็นอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งเกษตรกรจะมีการใช้สารเคมีภายในพื้นที่ปลูกเป็นบริเวณกว้าง และใช้กันอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานปี รวมถึงต้นทุนการผลิตในทุกกระบวนการสูงขึ้น อาทิ ราคาปุ๋ย สารป้องกันกำจัดโรคและแมลง ค่าจ้างแรงงาน ฯลฯ อีกทั้งยังส่งผลกระทบโดยตรงในด้านสุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร จากการได้รับสารพิษจากเคมีภัณฑ์ ในสถานณ์ปัจจุบัน ยอดสั่งซื้อตลาดจากต่างประเทศรับซื้อไม่อั้น ทั้งเกาหลี, จีน, ญี่ปุ่น และมีตลาดใหม่เพิ่มมาอีก 2 ประเทศ คือ สิงคโปร์ และไต้หวัน โดยเกรดที่ส่งออกจะคัดน้ำหนักที่ 300-500 กรัม สำหรับราคาขายที่หน้าสวนจะรับซื้อในกิโลกรัมละ 60 บาท ขายปลีกเกรดพรีเมียมกิโลกรัมละ 70-80 บาท มีการควบคุมคุณภาพตั้งแต่การปลูก จนถึงการเก็บเกี่ยวและส่งออก ลดละและเลิกใช้สารเคมี ที่กระทบกับความเชื่อมั่นในการส่งออก จนได้มะม่วงที่ดีมีคุณภาพ เป็นที่ไว้ใจของลูกค้า อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด เกษตรกรควรเฝ้าระวังโรคแอนแทรกโนส โรคขั้วผลเน่า และแมลงศัตรูพืช ได้แก่ ด้วงเจาะเมล็ดมะม่วง เพลี้ยไฟ แมลงวันผลไม้ และเพลี้ยแป้ง ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิต ดังนั้นฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกมะม่วงจำนวนทั้งหมด 20 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสันทรายจำนวน 10 ไร่ และที่อำเภอพร้าวจำนวน 10 ไร่ ที่จัดสรรไว้สำหรับการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองที่เหมาะสมในการสร้างเป็นแปลงสาธิตการผลิตไม้ผลอินทรีย์ ทั้งนี้เพื่อสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว และสนองแนวทางปฏิบัติด้านเกษตรยั่งยืนตามพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ ประกอบกับฟาร์มมหาวิทยาลัย มีหน้าที่หลักในการให้บริการวิชาการแก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจ รวมทั้งในแต่ละปีได้รับนักศึกษาจากหลายสถาบันเพื่อเข้ารับการฝึกงาน สำนักฟาร์มจึงจัดตั้งแปลงต้นแบบเพื่อสาธิตการผลิตมะม่วงอินทรีย์จึงเป็นแนวทางที่ควรผลักดัน ให้เป็นสถานที่ศึกษาดูงานของเกษตรกร นักศึกษา ชุมชนต้นแบบ ตลอดจนเป็นสถานที่ในการฝึกอบรมเผยแพร่เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์เพื่อการส่งออก ทั้งนี้ในพื้นที่อำเภอพร้าวยังมีความพร้อมของผู้ประกอบการด้านการส่งออกผลไม้ (ลำไยและมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง) ที่จะสร้างโอกาสให้แก่เกษตรกรและชุมชน จะทำให้เกิดการนำแนวคิดและความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองจนขยายผลไปสู่การเผยแพร่ต่อสาธารณะชนต่อไป สภาพปัญหา - ความต้องการ ขาดงบประมาณสนับสนุนในการจัดทำโครงการการพัฒนาต้นแบบแปลงสาธิตการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์เพื่อการค้า ในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย และอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ความเร่งด่วน - พัฒนาต้นแบบแปลงสาธิตการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์เพื่อการค้า ในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย และอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ - จัดทำแหล่งเรียนรู้ของ นักเรียน นักศึกษา เกษตรกรและผู้สนใจด้านการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์เพื่อการค้า แนวทางการดำเนินงาน - จัดทำพื้นที่เพื่อสาธิตการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์เพื่อให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจศึกษาดูงาน รวมถึงนักศึกษาที่ต้องการมาฝึกประสบการณ์ด้านการผลิตไม้ผล

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อเป็นพื้นที่สาธิตการผลิตมะม่วงเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สามารถลดอันตรายจากใช้สารเคมีต่อผู้บริโภค
2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านมะม่วงอินทรีย์ของเกษตรกร ผู้ที่สนใจ และ นักศึกษาฝึกงาน
3. เพื่อสร้างรายได้ให้กับฟาร์มมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พื้นที่ต้นแบบแปลงสาธิตการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองด้วยระบบอินทรีย์
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนแหล่งเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 แหล่ง 2
KPI 3 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 100 50 คน 200
KPI 4 : จำนวนผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2.5 ตัน 2.5
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40000 5000 บาท 45000
KPI 7 : รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 9 : ร้อยละของการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 11 : จำนวนพื้นที่สาธิตการผลิตมะม่วงเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ไร่ 20
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พื้นที่ต้นแบบแปลงสาธิตการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองด้วยระบบอินทรีย์
ชื่อกิจกรรม :
เตรียมพื้นที่แปลงมะม่วง เพื่อสาธิตวิธีการผลิตพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองด้วยระบบอินทรีย์ เช่นการดูแลรักษา การตัดแต่งกิ่ง การห่อผล การเก็บผลผลิตมะม่วงจำหน่าย และการป้องกันศัตรูพืช

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/10/2567 - 15/10/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายธนภัทร  เย็นมาก (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายณัฏฐชัย  อัฐวงศ์ชยากร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร
- ปุ๋ยอินทรีย์ 80 กระสอบ ๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 28,000 บาท
- สารชีวภัณฑ์ 14 กระป๋องๆละ 500 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
ค่าวัสดุน้ำมันและเชื้อเพลง 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 40,000.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ขาดงบประมาณสนับสนุน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากทางมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การนำนักศึกษาฝึกงานสหกิจศึกษาจากสถาบันการศึกษาเข้าฝึกปฏิบัติการจัดการสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ เช่น การดูแลรักษา การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ การตัดแต่งกิ่ง การห่อผล และการเก็บผลผลิต
ช่วงเวลา : 01/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล