22284 : โครงการฐานเรียนรู้การผลิตพืชผัก
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
อาจารย์ ดร.สุเทพ วัชรเวชศฤงคาร (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/11/2567 12:44:12
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/11/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  500  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการเกษตรของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน และผู้สนใจปลูกผักในระบบปลอดภัย และระบบอินทรีย์ จำนวน 500 คน โดยมีจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้/แปลงสาธิตการผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์ (Organic) จำนวน 250 คน / จำนวนผู้เยี่ยมชมแปลงสาธิตการผลิตผักปลอดภัย (GAP) จำนวน 250 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร
อาจารย์ ดร. แสงเดือน  อินชนบท
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68 AP 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด 68 AP 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 AP 2.3.2.1 ขับเคลื่อนการสำรวจผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมายจากการให้บริการวิชาการและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาพืชสวน (พืชผัก) คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสาขาวิชาที่จัดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการผลิตพืชผักในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท โดยมีนักศึกษาที่เรียนในระดับปริญญาตรีประมาณ 200 คน และปริญญาโทประมาณ 3 คน สำหรับด้านการเรียนการสอนจะเน้นการปฏิบัติได้จริงอย่างถูกต้อง โดยเนื้อหามีการเรียนการสอนเกี่ยวกับระบบการผลิตพืชผักที่ปลอดภัย (Good Agricultural Practice : GAP) ระบบการผลิตพืชผักอินทรีย์ (Organics) การผลิตพืชผักในสารละลาย (Hydroponics) การผลิตพืชผักในโรงเรือน (Greenhouse) และการผลิตผักแบบ Plant Factory โดยผักที่ใช้ในการเรียนการสอนในนั้นมีทั้งกลุ่มพืชผักฤดูร้อน พืชผักฤดูหนาว การผลิตพืชผักพื้นเมือง พืชผักสวนครัว พืชผักสมุนไพรและการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชผัก เป็นต้น จากกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการวิจัยภายในสาขาพืชผักแล้ว ยังทำการเรียนการสอนบูรณาการร่วมกับสาขาวิชาอื่นๆ ได้แก่ สาขาส่งเสริมการเกษตร สาขาประมง สาขาอารักขาพืช สาขาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว สาขาปฐพีวิทยา เป็นต้น และยังเป็นประโยชน์แก่ เกษตรกร ประชาชนทั่วไป รวมทั้งนักเรียนและนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาดูงานเป็นประจำ จากข้อมูลผู้เข้าศึกษาดูงานของฐานเรียนรู้การผลิตผัก ในปีงบประมาณ 2565 ปรากฏว่ามีผู้เข้าศึกษาดูงานประมาณ 700 คน ในอดีตที่ผ่านมากิจกรรมแปลงสาธิตต่าง ๆ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะขาดงบประมาณและอัตรากำลังสนับสนุนงานด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน จึงทำให้การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีดังกล่าวไม่ต่อเนื่อง การจัดทำโครงการนี้ขึ้นจะทำให้หลักสูตรฯสามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่สนับสนุนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในหัวข้อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย (ด้านพืชผัก) เป็นการบูรณาการศาสตร์พระราชาและเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างสังคมเชิงนิเวศต้นแบบ (พืชผัก) และเป็นที่พึ่งของประชาชนแบบมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ชุมชนและสอดคล้องกับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร มาประยุกต์ใช้สำหรับการผลิตอาหารปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือนและชุมชนอย่างยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์ใช้ สำหรับสร้างแหล่งอาหารที่ปลอดภัยและสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน
เพื่อพัฒนาให้สาขาพืชผักเป็นฐานเรียนรู้และสาธิตด้านการผลิตพืชผักให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจจะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม และเป็นฐานเรียนรู้ ด้านพืชผักของนักเรียน นักศึกษา รวมทั้งนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ทักษะการผลิตพืชผักอย่างปลอดภัย
KPI 1 : ฐานเรียนรู้การผลิตผัก
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ฐาน 1
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
KPI 3 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 20 20 20 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 20 20 20 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 20 20 30 ร้อยละ 90
KPI 6 : จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้/แปลงสาธิต
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 100 100 200 คน 500
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ทักษะการผลิตพืชผักอย่างปลอดภัย
ชื่อกิจกรรม :
ฐานการเรียนรู้การผลิตพืชผัก

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น เมล็ดพันธุ์ผัก แกลบ ขุยมะพร้าว พลาสติกคลุมแปลง จอบ สายยาง ดินดำ พลั่ว เชือกฟาง บัวรดน้ำ ถาดเพาะ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืช เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
45,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การผลิตผักอย่างปลอดภัย
ช่วงเวลา : 15/11/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล