22281 : โครงการการปลูกและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ไว้ใช้เองเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
อาจารย์ ดร.แสงเดือน อินชนบท (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/11/2567 19:41:59
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
03/12/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  520  คน
รายละเอียด  จำนวนผู้เข้ารับบริการฝึกอบรม จำนวน 20 คน จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานฐานเรียนรู้ จำนวน 500 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. แสงเดือน  อินชนบท
อาจารย์ ดร. สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68 MJU 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.6 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.6.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 AP 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 68 AP 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี ยั่งยืน รักษ์โลก ไร้โรค (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68 AP 1.1.2 คะแนนการจัดอันดับ Green University Ranking ส่วนงาน : ความสำเร็จในการสนับสนุนมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนนโยบาย Green U และ Green Office
กลยุทธ์ 68 AP 1.1.2.2 ขับเคลื่อนส่วนงานมุ่งสู่มาตราฐานสำนักงานสีเขียว (Green Office) และสนับสนุนการจัดกิจกรรม Green University
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในช่วงระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่เข้ามาทำให้หลายคนหรือหลายครอบครัวเริ่มให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่มากขึ้น ทั้งด้านที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม สุขภาพ รวมถึงอาหารการกินที่ได้รับการใส่ใจเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ โดยเห็นได้จากการที่หลายคนเริ่มหันมาเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัยจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและบางครอบครัวหรือบางคนหันมาปลูกผักสวนครัวหรือทำเกษตรแบบอินทรีย์ (organic) และเกษตรปลอดภัย (GAP) ไว้บริโภคภายในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น จึงพบว่าร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์มียอดการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวเพิ่มสูงขึ้น แต่การนำเมล็ดพันธุ์ของบริษัทร้านค้ามาปลูก ส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์จนกลายเป็นพันธุ์ลูกผสมที่ให้คุณภาพและผลผลิตค่อนข้างดี แต่เมื่อเกษตรกรต้องการเก็บเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวไปปลูกต่อในฤดูถัดไปจึงพบว่าลักษณะของผลผลิตที่ปรากฏไม่ได้เป็นไปตามลักษณะเดิมที่เห็นในรุ่นแรกที่ปลูก จึงทำให้เกษตรกรมีความจำเป็นต้องไปซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านค้าในทุกฤดูกาลปลูก ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนการปลูกให้กับเกษตรกร โครงการนี้จึงจัดทำขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการปลูก ดูแลรักษา และการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชผักภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองภายในครัวเรือนและชุมชนอย่างง่ายเพราะเมล็ดพันธุ์ถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการเพาะปลูกพืช ถึงแม้ว่าจะมีดินที่ดี และมีน้ำที่เพียงพอแต่ถ้าต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกฤดูกาลปลูกเกษตรกรก็แบกภาระเรื่องต้นทุนการผลิตด้านเมล็ดพันธุ์ ซึ่งหากมีการ เพาะปลูกพืชผักเป็นจำนวนมาก เมล็ดพันธุ์ที่ต้องใช้ก็ต้องมากขึ้นตามไปด้วย จะดีกว่าไหมถ้าเกษตรกรสามารถเป็นเจ้าของเมล็ดพันธุ์เองและเก็บเมล็ดเพื่อใชสำหรับการปลูกในฤดูปลูกต่อๆ ไปได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านค้า นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถนำเมล็ดพันธุ์ที่ปลูกและเก็บรักษาไว้ออกจำหน่ายให้กับเพื่อนบ้านหรือคนในชุมชนและชุมชนข้างเคียงที่ต้องการปลูกผัก โดยไม่ต้องออกไปหาซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านค้า จึงเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์ใช้สำหรับสร้างแหล่งอาหารที่ปลอดภัยและสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน และเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งบริการทางวิชาการด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์อินทรีย์อย่างยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์ใช้ สำหรับสร้างแหล่งอาหารที่ปลอดภัยและสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน
2. เพื่อพัฒนาแหล่งบริการทางวิชาการด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์อินทรีย์อย่างยั่งยืน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เชิงปริมาณ
KPI 1 : - จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้/แปลงสาธิต
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 150 150 150 คน 500
KPI 2 : - จำนวนผลผลิต/เทคนิคการเก็บรักษาที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลผลิต 2
KPI 3 : - ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : - จำนวนผู้เข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
ผลผลิต : เชิงคุณภาพ
KPI 1 : - ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : - ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : เชิงเวลา
KPI 1 : - ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
ผลผลิต : เชิงต้นทุน
KPI 1 : - ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เชิงปริมาณ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 แปลงสาธิตการปลูกพืชผักเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น เมล็ดพันธุ์ผัก แกลบ ขุยมะพร้าว พลาสติกคลุมแปลง จอบ ดินดำ พลั่ว เชือกฟาง บัวรดน้ำ ถาดเพาะ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืช เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
41,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 41,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 41200.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมกิจกรรมที่ 2 การถ่ายทอดเทคนิคการปลูกและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองที่ 1 แปลงสาธิตการปลูกพืชผักเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/02/2568 - 29/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน ...20.. คน ๆ ละ ...120.. บาท ....1... มื้อ ....1.... วัน
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน ...20.. คน ๆ ละ ...35.. บาท ..2 มื้อ ....1.... วัน

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3800.00
ผลผลิต : เชิงคุณภาพ
ผลผลิต : เชิงเวลา
ผลผลิต : เชิงต้นทุน
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักและเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืชสวน
ช่วงเวลา : 18/11/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล