22276 : โครงการฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางอารีรักษ์ วิชัยศรี (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/2/2568 13:55:32
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  560  คน
รายละเอียด  กลุ่มคนเปราะบาง เด็กด้อยโอกาส นักศึกษา เกษตรกร บัณฑิตผู้ประกอบการ ผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการ ประจำปี 2568 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. วงค์พันธ์  พรหมวงศ์
นาง อารีรักษ์  วิชัยศรี
นาง เยาวภา  เขื่อนคำ
น.ส. เบญจรัตน์  ศุภอุดมฤกษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68 AP 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด 68 AP 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 AP 2.3.2.1 ขับเคลื่อนการสำรวจผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมายจากการให้บริการวิชาการและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากสภาวะเศรษฐกิจที่มีการย่อตัวทั่วโลก ส่งผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจของไทยให้เกิดการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงานในเขตเมือง ส่งผลให้เกิดแนวโน้มแรงงานคืนถิ่น หรือการเคลื่อนย้ายกลับไปทำงานในภูมิลำเนาเพิ่มสูงขึ้น สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากรจากการมีรายได้ ระดับสุขภาวะ และโอกาสในการเข้าถึงการได้งานทำลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากปัญหาทางเศรษฐกิจแล้ว ประชาชนคนไทยซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมยังประสบกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นรวดเร็วและรุนแรง (IPCC, 2018) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดย OECD ได้คาดการณ์ว่า หากไม่มีการดำเนินงานที่สำคัญเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะทำให้ภายใน พ.ศ. 2603 ความเสียหายอันเนื่องมากจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะมีมูลค่าถึงร้อยละ 1.0-3.3 ของ GDP โลก และมูลค่าความเสียหายจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.0-10.0 ภายใน พ.ศ. 2643 โดยภาคการเกษตรจะได้รับความเสียหายมากกว่าภาคการผลิตอื่นๆ เนื่องจากภาคการเกษตรต้องพึ่งพาสภาพอากาศและฤดูกาลตามธรรมชาติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรลดลง ยิ่งกว่านั้นพื้นที่การเกษตรบางส่วนที่ประสบกับภัยแล้งยาวนาน หรือน้ำท่วมซ้ำซากจะไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ ส่งผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้น้อย นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เกินความจำเป็นส่งผลให้แมลงผสมเกสรในสภาพธรรมชาติลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว โดยในบางพื้นที่เกษตรกรสำรวจไม่พบแมลงผสมเกสรเลย ส่งผลกระทบให้การผสมเกสรของพืชต่างๆ มีประสิทธิภาพไม่ดี ทำให้ผลผลิตที่ได้ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ในการปลูกพืชในสภาพโรงเรือน ซึ่งเป็นระบบปิด มีความต้องการสื่อผสมเกสรเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดการติดผลผลิตที่ดี ซึ่งแต่เดิมใช้แรงงานคนในการผสมเกสร แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีโครงสร้างของประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดการคลาดแคลนแรงงานทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสรรหาสื่อผสมเกสรที่มีคุณภาพมาทำหน้าที่แทน ซึ่งได้แก่แมลงผสมเกสร ผึ้งชันโรงเป็น จัดเป็นแมลงในกลุ่มของผึ้งที่ไม่มีเหล็กใน เป็นแมลงผสมเกสรพื้นถิ่นที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศและการเกษตรของไทย จากงานวิจัยทั่วโลก แสดงให้เห็นศักยภาพของชันโรงในด้านการเป็นสื่อผสมเกสรที่มีประสิทธิภาพสูงมากชนิดหนึ่ง นอกจากบทบาทในการผสมเกสรพืชแล้ว ผลิตภัณฑ์จากผึ้งชันโรงยังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง โดยเฉพาะชันผึ้งและน้ำผึ้งที่มีคุณสมบัติทางยาและเครื่องสำอาง แต่ปัจจุบันการประเทศไทยมีจำนวนรังชันโรงทั่วประเทศที่เกษตรกรและหน่วยงานต่างๆเพาะเลี้ยงๆไว้ มีเพียงประมาณ 15,000 รัง ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความต้องการจะนำชันโรงไปใช้ประโยชน์ในด้านการผสมเกสรให้แก่พืชต่างๆ ดังนั้นชันโรงจึงเป็นแมลงอีกชนิดหนึ่งที่มีความเหมาะสมในการส่งเสริมให้เพาะเลี้ยงในเชิงการค้าเพื่อเสริมสร้างรายได้ เนื่องจากการเพาะเลี้ยงไม่มีความยุ่งยาก และไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายรังไปหาแหล่งอาหารแหล่งอื่นๆ ขนาดของรังไม่ใหญ่ น้ำหนักประมาณ 1-2 กิโลกรัม จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่า อาชีพการเพาะเลี้ยงชันโรง และการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างรายได้ ซึ่งฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรและชุมชนในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นแนวทางที่ประชาชนในชุมชนทุกเพศทุกวัยสามารถเรียนรู้และดำเนินการได้ด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนในพื้นที่ให้มีความมั่นคง ยั่งยืน ตามแนวทางการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีเป้าหมายหลักเพื่อพลิกโฉมประเทศ ไปสู่ “เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน (Hi-Value and Sustainable Thailand)” โดยใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการยกระดับศักยภาพและพัฒนาประเทศในทุกมิติ โดยมีการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักนำทางในการขับเคลื่อนและวางแผนพัฒนาประเทศ ประเด็นการพัฒนาที่มีลำดับความสำคัญสูงในการพลิกโฉมประเทศไทย สู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน ได้แก่ เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Hi Value –Added Economy) โดยมีหมุดหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร คือ หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง โดยมีการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตและการปรับเปลี่ยนประเภทการผลิตจากการผลิตที่มีคุณภาพเพิ่มต่ำ ไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูง สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด โดยส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาการผลิต และการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร ด้วยการสนับสนุนข้อมูลและองค์ความรู้ที่จำเป็น รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันเกษตรกร (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2564) และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ที่ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 และสังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและทรัพยากรมนุษย์ของไทย ในด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs ขององค์การสหประชาชาติ ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรงสามารถตอบสนองหลายเป้าหมาย ได้แก่ การขจัดความยากจน (SDG 1) ผ่านการสร้างอาชีพให้ชุมชน ความมั่นคงทางอาหาร (SDG 2) ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการผสมเกสร การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (SDG 8) ผ่านการพัฒนาผู้ประกอบการ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน (SDG 12) และการอนุรักษ์ระบบนิเวศบนบก (SDG 15) ผ่านการอนุรักษ์ผึ้งพื้นถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพ การพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Skills) เป็นพันธกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยในการผลิตบัณฑิตที่พร้อมสำหรับศตวรรษที่ 21 ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรงจะเป็นพื้นที่ปฏิบัติการจริง (Living Lab) ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกประสบการณ์ด้านการเป็นผู้ประกอบการ ตั้งแต่การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ตลาด การพัฒนาแผนธุรกิจ การสร้างแบรนด์ และการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยบ่มเพาะนักศึกษาให้พร้อมเป็น Startup และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับผึ้งชันโรงมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านชีววิทยา การเพาะเลี้ยง การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และการพัฒนานวัตกรรม โดยมีผลงานวิจัยที่พร้อมถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เช่น สูตรการเลี้ยงผึ้งชันโรงเชิงพาณิชย์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากชันผึ้ง และเทคโนโลยีการเก็บรักษาน้ำผึ้งคุณภาพสูง ได้ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรงเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน พัฒนานักศึกษาผู้ประกอบการ และสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ด้านผลิตภัณฑ์จากผึ้งชันโรง การดำเนินงานดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 ของมหาวิทยาลัยในการพัฒนายกระดับขีดความสามารถด้านการเกษตรให้แก่ท้องถิ่น และยุทธศาสตร์ที่ 3 ในการบูรณาการองค์ความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมและผู้ประกอบการ โดยมุ่งเน้นการสร้างผลกระทบเชิงบวก (Positive Impact) ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาโมเดลธุรกิจที่สร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value) ระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน และภาคธุรกิจ ดังนั้นในปี 2568 ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรงจึงได้นำข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วมาจัดทำแผนบริการวิชาการ โดยจะจัดอบรมการทำธุรกิจฟาร์มชันโรงและการสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากชันโรง ให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเยาวชนด้อยโอกาสของมูลนิธิอุ่นใจ อ.พร้าว จ. เชียงใหม่, กลุ่มเยาวชนด้อยโอกาสของมูลนิธิอิ่มใจ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ และ นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่สนใจเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงเกษตรกร และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่อำเภอสันทราย และอำเภอใกล้เคียงในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับสังคม (Maejo Engagement) ให้เข้มแข็ง และการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning University) ภายใต้กรอบการพัฒนาด้าน Organic University, เกษตรอินทรีย์ ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนเป้าหมาย สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ และ เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
6.1 เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับชันโรงให้กับชุมชนเป้าหมายในพื้นที่
6.2 เพื่อพัฒนานักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ
6.3 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนกลุ่มเปราะบางในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย อำเภอหางดง และอำเภอพร้าว สามารถ เพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ เพื่อความมั่นคงในชีวิต
6.4 เพื่อส่งเสริมการนำชันโรงไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลิตภาพทางการผลิตด้านการเกษตร
6.5 มีการบูรณาการฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรงกับการเรียนการสอน
6.6 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติ ในการบริการวิชาการ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง
KPI 1 : ผู้ผ่านการอบรมมีความรู้และทักษะในการทำฟาร์มชันโรงและการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชันโรง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 3 : ร้อยละของผู้รับบริการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยช์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 4 : จำนวนผลผลิต / ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 6 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
60 คน 60
KPI 7 : จำนวนของนักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 คน 5
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 9 : จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
500 คน 500
KPI 10 : จำนวนเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เครือข่าย 1
KPI 11 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 12 : จำนวนชุมชนที่มีฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุมชน 1
KPI 13 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0045 ล้านบาท 0.0045
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมระยะสั้น การเยี่ยมชมฐานเรียนรู้และการบริการผสมเกสร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์  พรหมวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางอารีรักษ์  วิชัยศรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.เบญจรัตน์  ศุภอุดมฤกษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางเยาวภา  เขื่อนคำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 30 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 4 วัน รวมเป็นเงิน 12,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 4 วัน รวมเป็นเงิน 8,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือฝึกอบรม (20.หน้า/เล่ม)
จำนวน 60 เล่ม ๆ ละ 20 บาท 1 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย
จำนวน 7 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 คน 4 วัน รวมเป็นเงิน 16,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น รังพ่อแม่พันธุ์ชันโรง รังสำหรับแยกขยาย ขาตั้งรัง
รังพ่อแม่พันธุ์ชันโรง 3 รัง x 1 ครั้ง x 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
รังแยกขยาย 3 รัง x 1 ครั้ง x 200 บาท เป็นเงิน 600 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น น้ำผึ้งชันโรง เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
สำหรับการบูรณาการฐานเรียนรู้ชันโรงกับการเรียนการสอน ได้มีการบูรณาการเข้ากับรายวิชา รายวิชา อพ 440 สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยมีการมอบหมายงานให้นักศึกษาได้ไปฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อแมลงผสมเกสรให้แก่เยาวชนกลุ่มเป้าหมายและชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะการบริการวิชาการ และส่งเสริมให้เยาวชนมีมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์แมลงผสมเกสรในสภาพธรรมชาติ
ช่วงเวลา : 01/01/2568 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล