22248 : การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศเพื่อประกอบอาชีพนวดแผนไทยในบริบทเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ฉัตรสูงเนิน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/12/2567 21:58:35
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  15  คน
รายละเอียด  กลุ่มผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นพนักงานนวดกับกระทรวงสาธารณสุข (มีใบ สพส.14) จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 15 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะศิลปศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบอุดหนุนโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2568 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ศรัณย์  จันทร์ทะเล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา  ฉัตรสูงเนิน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.1.1 จำนวนนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.1.1 พัฒนาและปรับปรุงระบบการรับเข้านักศึกษา
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA68 มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC): การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ LA68-2.7 มีการบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ของท้องถิ่นชุมชนที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน
ตัวชี้วัด LA68-2.6.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ LA68-2.6.1.ผลักดันและส่งเสริมให้การบุคลากรแสวงหางบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การนวดแผนไทยเป็นการให้บริการตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มาจากวัฒนธรรม ความรู้ ปรัชญาของไทยได้สร้างชื่อเสียงและได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังวิกฤตการณ์โควิด ที่ทำให้กระแสตื่นตัวต่อการดูแลรักษาสุขภาพของคนไทยที่มีความใส่ใจต่อสุขภาพมากขึ้นและได้เล็งเห็นถึงการบรรเทาความเครียดหรืออาการเจ็บปวดที่ไม่ต้องพึ่งยา แต่หันมาใช้วิธีธรรมชาติบำบัดหรือการนวดประคบด้วยสมุนไพรแทน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนช่วยเอื้อต่อการดูแลสุขภาพมีมากขึ้นนี้ ยิ่งทำให้การนวดแผนไทยซึ่งในอดีตได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มกลายเป็นที่นิยมและเผยแพร่ไปทั่วโลกประโยชน์ที่ได้รับจากการนวดแผนไทยมิได้มีแค่คลายเครียดเท่านั้น แต่ยังเป็นอีกวิธีการที่ช่วยบำบัดและแก้ไขปัญหาสุขภาพ อาจกล่าวได้ว่าความนิยมของการนวดจึงไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่ชาวไทย แต่มีการขยายความนิยมออกไปในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติด้วย รัฐบาลจึงมีเป้าาหมายและส่งเสริมให้ธุรกิจการนวดแผนไทยเร่งปรับตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพัฒนารูปแบบการให้บริการตลอดจนศักยภาพและคุณภาพของบุคลากรผู้ให้บริการนวดแผนไทยเพื่อเป็นที่ดึงดูดแก่ชาวต่างประเทศมากขึ้น จังหวัดเชียงใหม่เป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวหลายประเทศ และการนวดไทยในเชียงใหม่ก็ได้รับความนิยมทั้งจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวจํานวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเปิดประเทศเพื่อการท่องเที่ยวหลังจากวิกฤติการณ์โควิด-19 ด้วยเหตุนี้ทำให้ธุรกิจนวดแผนไทยในจังหวัดเชียงใหม่จึงเป็นธุรกิจหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัด และในอนาคตแนวโน้มว่าจะมีสถานบริการนวดแผนไทยเปิดให้บริการเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อรองรับกับความต้องการของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามจากการศึกษาลงพื้นที่สำรวจธุรกิจการนวดไทยในจังหวัดเชียงใหม่และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าธุรกิจการนวดไทยในจังหวัดเชียงใหม่ยังมีความต้องการบุคลากรด้านการนวดไทยซึ่งในปัจจุบันมีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรที่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ เนื่องจากการมีทักษะในการสื่อสารภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพนวดไทยในเชียงใหม่สามารถให้บริการแก่นักท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพและสร้างรายได้สูงขึ้นได้ ทั้งนี้ในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียง ทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศนี้ยิ่งแสดงถึงความสำคัญ 1. การเติบโตของการท่องเที่ยวในเชียงใหม่ เชียงใหม่เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวด้วยวัฒนธรรมที่อุดมสมบูรณ์และประวัติศาสตร์ยาวนาน นอกจากนั้นการได้รับนวดไทยในบรรยากาศเชียงใหม่ก็เป็นประสบการณ์ที่สร้างประสบการณ์ให้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการให้บริการนวดไทย 2. ทักษะภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร การสื่อสารได้ดี จะช่วยให้เกิดความเข้าใจและความเชื่อมโยงระหว่างผู้ให้บริการนวดและผู้รับบริการ ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 3. เศรษฐกิจพอเพียงกับทักษะการสื่อสาร ในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียง การมีทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศนี้จะช่วยให้ชุมชนสามารถสร้างรายได้และเสริมสร้างความยั่งยืน ยิ่งหากมีการนำความรู้ในภาษาต่างประเทศมาปรับปรุงคุณภาพการให้บริการนวดไทย 4. การสร้างสัมพันธ์ระหว่างทักษะภาษาและคุณภาพการบริการ การสื่อสารที่ดีจะช่วยในการเสริมสร้างความไว้วางใจและสร้างความประทับใจในนักท่องเที่ยว ส่งผลให้เกิดการแนะนำกันเป็นปากต่อปากและช่วยเสริมสร้างรายได้สูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ ทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการพัฒนาอาชีพนวดไทยในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้บริบทของเศรษฐกิจพอเพียง การมีทักษะในการสื่อสารนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพนวดไทยในเชียงใหม่สามารถให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพ และช่วยเสริมสร้างความยั่งยืนในการประกอบอาชีพนี้ การเสริมสร้างทักษะนี้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและควรมีการดำเนินการในเชิงลุกทันที นอกจากนี้การให้บริการนวดไทยไม่เพียงแต่ต้องการทักษะทางวิชาชีพเท่านั้น แต่ในยุคสมัยที่การท่องเที่ยวกลายเป็นธุรกิจระหว่างประเทศ ทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษก็เป็นสิ่งจำเป็นที่บุคลากรด้านการนวดไทยควรมี คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันที่มุ่งเน้นการศึกษาด้านภาษาและวัฒนธรรม มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะนี้สำหรับบุคลากรในอาชีพนวด ซึ่งจะจัดโครงการบริการวิชาการให้มีการฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริง โดยคณะศิลปศาสตร์สามารถจัดการศึกษาตามหลักสูตรที่เน้นการใช้ภาษาในสถานการณ์ประจำวันและในบริบทของการให้บริการนวด เช่น การสื่อสารกับลูกค้า การอธิบายรายละเอียดของการนวด หรือการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงการเรียนรู้วัฒนธรรมและนิสัยของนักท่องเที่ยว ซึ่งคณะศิลปศาสตร์เน้นการศึกษาวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้บุคลากรอาชีพนวดเข้าใจและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงกับวงการอาชีพนวดไทย ซึ่งคณะศิลปศาสตร์สามารถจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนนวดไทยเพื่อพัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษและวัฒนธรรม โครงการบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ 2568 นี้ คณะศิลปศาสตร์จึงขอมี บทบาทสำคัญในการเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรทางด้านนวดไทย ให้ได้รับการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจากการบริการวิชาการที่คณะศิลปศาสตร์จะช่วยให้บุคลากรมีความพร้อมในการให้บริการนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศอย่างมืออาชีพและมีความเข้าใจในความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าเพิ่มขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
7.1 เพื่อพัฒนาทักษะการนวดไทยและการให้บริการเพื่อประกอบอาชีพนวดไทย
7.2 เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศในบริบทนวดไทยและเศรษฐกิจพอเพียง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้สนใจเข้าร่วมอบรม จำนวน15 คน การบริหารจัดการโครงการ คู่มือการใช้ภาษาต่างประเทศสำหรับนวดไทย
KPI 1 : ร้อยละของผู้รับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้นด้านการนวดและทักษะทางภาษาหลังจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : ความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้เข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
15 คน 15
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : จำนวนผลผลิตคู่มืออบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชิ้นงาน 1
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
45000 บาท 45000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้สนใจเข้าร่วมอบรม จำนวน15 คน การบริหารจัดการโครงการ คู่มือการใช้ภาษาต่างประเทศสำหรับนวดไทย
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศเพื่อประกอบอาชีพนวดไทยในบริบทเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 03/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 20 คนๆ ละ 200 บาท 1 มื้อ 2 ครั้ง เป็นเงิน 8,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 20 คนๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,800 บาท
- ค่าจ้างเหมาพิมพ์และจัดทำคู่มือฝึกอบรม (100 หน้า/เล่ม พิมพ์สี 20 หน้า) จำนวน 25 เล่ม ๆ ละ 328 บาท เป็นเงิน 8,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 19,000.00 บาท 0.00 บาท 19,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
ภาคบรรยาย จำนวน 8 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 2 คน 1 ครั้ง เป็นเงิน 12,800 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ)
ภาคบรรยาย จำนวน 8 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท 1 คน 1 ครั้ง เป็นเงิน 9,600 บาท
- ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 4 คนๆ ละ 200 บาท 2 วัน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา แฟ้มสอด เป็นต้น เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ผ้าคลุม ถาดรอง เป็นต้น เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล