22231 : โครงการสืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2568
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ศรีวรรณ บุญเรือง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 20/2/2568 16:26:43
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/04/2568  ถึง  30/04/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  400  คน
รายละเอียด  บุคลากรที่เกษียณอายุราชการ ศิษย์เก่าแม่โจ้ กรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณจากกองทุนสวัสดิการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2568 79,500.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
น.ส. ศรีวรรณ  บุญเรือง
นาย วุฒิภัทร  เกตุพัฒนพล
นาย ณัฒพล  ศรีบุญเที่ยง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
นาง กัณณิกา  ข้ามสี่
รองศาสตราจารย์ ดร. นิโรจน์  สินณรงค์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประภากร  ธาราฉาย
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.4.1 ความสำเร็จของแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 68 MJU 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรม นศ. การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-1. เพิ่มทักษะการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์ 68-1.2 อนุรักษ์ สืบสาน ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และสร้างค่านิยมความเป็นไทย ให้กับบัณฑิตด้านศิลปวัฒนธรรม และวัฒนธรรมการเกษตร
ตัวชี้วัด 68-1.1 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 68-1.1 ทำนุบำรุงและส่งเสริม ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และวัฒนธรรมการเกษตร
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ตรงกับประเพณีสงกรานต์ในภาคกลางช่วงเดือนเมษายน หรือเดือน ๗ เหนือ ประเพณีปีใหม่เมืองเป็นการเปลี่ยนศักราชใหม่ และเป็นโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้มาอยู่รวมกันเพื่อทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ ดำหัว เล่นน้ำ และขอพรจากผู้ใหญ่ ช่วงเวลาของประเพณีปีใหม่เมือง แบ่งออกได้ดังนี้ วันสังขารล่อง ปัจจุบันถือเอาวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปีเป็นวันสังขารล่อง เป็นวันแรกของกิจกรรมประเพณี ปีใหม่เมือง หลังเที่ยงคืนวันที่ ๑๓ เมษายน จะมีการจุดประทัด ยิงปืน เพื่อส่งสังขารหรือไล่สังขาร ในวันนี้สมาชิกในครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านเรือน และในวันนี้จังหวัดลำพูนได้จัดกิจกรรมในประเพณีปี๋ใหม่เมือง อาทิเช่น ขบวนแห่พระพุทธรูป ตามถนนเจริญราษฏร์ถึงวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหารของหน่วยงาน องค์กร ชุมชนต่างๆ การขนทรายเข้าวัด การแสดงดนตรีพื้นเมือง การจำหน่ายสินค้า อาหารพื้นเมือง เป็นต้น วันเน่าหรือวันเนาว์ วันที่ ๑๔ เมษายน ของทุกปี วันนี้เป็น "วันดา" คือวันที่ต้อง เตรียมสิ่งของต่างๆ เพื่อใช้ทำบุญและดำหัวผู้ใหญ่ในวันรุ่งขึ้น มีการขนทรายที่แม่น้ำเข้าวัด เพื่อก่อเป็นเจดีย์ทราย และความเชื่อบางประการเกี่ยวกับวันเน่า ไม่ควรด่าทอ กล่าวคำร้ายต่อกัน จะเป็นอัปมงคลไปทั้งปี วันพญาวัน ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกปี ถือเป็นวันเถลิงศก เปลี่ยนศักราชเริ่มต้นปีใหม่ วันนี้มีการทำบุญทางศาสนาแต่เช้าตรู่ และอุทิศกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ หรือเรียกว่า "ทานขันข้าว” (ตานขันเข้า) หลังจากนั้นนำตุงปักลงบนกองเจดีย์ทราย และคนเฒ่าคนแก่ก็อยู่ร่วมพิธีเวนทานเจดีย์ทราย ถวายช่อตุงปีใหม่ และฟังเทศนาธรรมอานิสงส์ปีใหม่ ช่วงบ่ายเป็นการรดน้ำดำหัว เพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ วันปากปี ตรงกับวันที่ ๑๖ เมษายน ของทุกปี ถือเป็นวันแรกของปี วันนี้คนล้านนาจะมารวมตัวกันเพื่อทำบุญเสาใจบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน บางแห่งอาจจะต่อด้วยพิธีสืบชะตาหมู่บ้าน ในตอนค่ำของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ครอบครัว และมีความเชื่อบางประการเกี่ยวกับวันปากปี ชาวล้านนาจะกิน "แกงขนุน” หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า "แก๋งบ่าหนุน” กันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า การดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2568 เป็นการส่งเสริมให้บุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัยได้สืบสานวัฒนธรรมประเพณี และเป็นการแสดงออกถึงความเคารพนับถือ เป็นการขอขมาและขอพรปีใหม่จากผู้อาวุโสและผู้ที่นับถือ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นแบบอย่างของธรรมเนียมปฏิบัติที่ดี และเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีของล้านนาให้คงอยู่และเป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาวล้านนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษา บุคลากรได้เรียนรู้และร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีปี๋ใหม่เมืองของล้านนา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กิจกรรมดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
KPI 1 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้ร่วมสืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
85 ร้อยละ 85
KPI 2 : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฯ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
85 ร้อยละ 85
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กิจกรรมดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมดำห้วผู้อาวุโสและอธิการบดี ประจำปี 2568

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2568 - 30/04/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.ศรีวรรณ  บุญเรือง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายวุฒิภัทร  เกตุพัฒนพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าจ้างเหมาอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 400 คน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
2.ค่าสนับสนุนการประกวดลาบ 10 ทีม ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
3.ค่าเงินรางวัลการประกวดลาบ จำนวน 5,500 บาท
4.ค่าสนับสนุนการประกวดส้มตำลีลา 10 ทีม ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
5.ค่าเงินรางวัลการประกวดส้มตำลีลา จำนวน 5,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 39,000.00 บาท 0.00 บาท 39,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1.ค่าของดำหัวผู้อาวุโส จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
2.ค่าของดำหัวเจ้าแม่แม่โจ้-เจ้าพ่อแม่โจ้ จำนวน 4,000 บาท
3.ค่าวัสดุตกแต่งสถานที่ จำนวนเงิน 5,000 บาท
4.ค่าวัสดุโฆษณาและเผนแพร่ 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 40,500.00 บาท 0.00 บาท 40,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 79500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
มติกองทุนสวัสดิการ.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล