22160 : โครงการพัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาพืชไร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางจิราพร หลงปันใจ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/3/2568 9:46:52
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/01/2568  ถึง  28/02/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด   นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณาจารย์ และผู้ที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2568 หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาพืชไร่ แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานรอง : แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ผลผลิต ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมสนับสนุน บริหารจัดการทั่วไป แผนงานการเรียนการสอน งานสนับสนุนการจัดการศึกษา กองทุนกิจการนักศึกษา งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2) โครงการพัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาพืชไร่ 2568 18,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัชนี  พุทธา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68 AP 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 AP 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลกด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 68 AP 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมีหลายด้าน เช่น ความเครียดจากการเรียน ภาวะซึมเศร้า (Depression) ความวิตกกังวล (Anxiety) การขาดการสนับสนุนทางสังคม การขาดการเข้าถึงบริการสุขภาพจิต และปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากนักศึกษามีความเครียดและความท้าทายหลายด้านที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและชีวิตส่วนตัวมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตโดยรวมได้ และ ที่สำคัญคือส่งผลต่อการคงอยู่ของนักศึกษาที่ลดลง ดังนั้นหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพืชไร่ คณะ ผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างระบบสนับสนุนทางจิตใจที่มีประสิทธิภาพ และการส่งเสริมให้นักศึกษาที่ประสบปัญหาสุขภาพจิตได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าว และส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในนักศึกษาต่อไป และกำหนดจัดโครงการพัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพืชไร่ ปีการศึกษา 2567 ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อการเชื่อมโยงกับตนเอง Creating Safe Spaces for Self-Connection)” โครงการนี้มุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสนับสนุนให้นักศึกษารู้สึกว่าได้รับการยอมรับและเคารพในตัวตนของตนเอง โดยไม่มีการตัดสินหรือการคุกคามทางอารมณ์และจิตใจ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยช่วยให้นักศึกษาสามารถเปิดเผยและสำรวจความรู้สึกของตนเองได้โดยไม่ต้องกลัวการถูกตัดสินหรือการละเมิดความเป็นส่วนตัว นักศึกษาสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวตนของนักศึกษาเอง ผ่านการเข้าใจและยอมรับความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายใน การเชื่อมโยงกับตนเองเป็นกระบวนการที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถพัฒนาความรู้สึกที่มั่นคงและเข้าใจตัวเองอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการจัดการกับอารมณ์และความท้าทายในชีวิต และสามารถพัฒนาความสามารถในการควบคุมอารมณ์และเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการฝึกอบรมที่เน้นทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง (self-awareness) และการสร้างความสงบในใจ (mindfulness) ซึ่งจะช่วยลดความเครียดและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในด้านต่างๆ โดยได้เชิญวิทยากรผู้มีความรู้ และความเชี่ยวชาญในเรื่อการสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อการเชื่อมโยงกับตนเอง บรรยาย และการฝึกปฏิบัติ โดยมีแนวทางการฝึกอบรม ดังนี้ 1) Storytelling การบรรยาย เพื่อให้เกิดภาพจาและนำไปใช้ได้จริง 2) Workshop เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน 3) Activity Based Learning กิจกรรมส่งเสริมการตระหนักด้วยตัวเอง ผ่านการลงมือทำ 4) Group Coaching เพื่อให้เกิดการฉุกคิด มองเห็นเป้าหมาย วิธีการ และลงมือทำ โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก หลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ และหลักสูตรอื่น ๆ ในคณะผลิตกรรมการเกษตร และคณาจารย์ ซึ่งนอกจากผู้เข้าร่วมโครงการจะสามารถพัฒนาทั้งในด้านจิตใจและอารมณ์ พร้อมทั้งเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวเองและผู้อื่นแล้ว ยังช่วยให้คณาจารย์ในหลักสูตร ฯ สามารถวางแผนดำเนินงาน ให้คำปรึกษา ติดตามช่วยเหลือนักศึกษาที่มีปัญหาในอนาคต เพื่อช่วยลดปัญหาการคงอยู่ของนักศึกษาที่ลดลงที่เกิดจากปัญหาด้านสุขภาพจิตได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษา และผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อความเข้าใจในตัวเอง และเข้าใจในความแตกต่างหว่างบุคคล
เพื่อให้นักศึกษา และผู้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกทักษะการฟังด้วยใจ
เพื่อให้นักศึกษา และผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าใจการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง โดยที่ยังรักษาตัวตนของตนเองอย่างสมดุล
เพื่อให้นักศึกษา และผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้จักวิธีการผ่อนคลาย และการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวัน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพืชไร่
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : รายละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 4 : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพืชไร่
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 28/02/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนี  พุทธา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เนตรนภา  อินสลุด (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์  กางโสภา (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางจิราพร  หลงปันใจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากรจากหน่วยงานเอกชน จำนวน 2 คน บรรยายคนละ 5 ชั่วโมง รวมเป็น 10 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท รวมเป็นเงิน 12,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 18000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมอาจไม่เป็นไปตามกำหนด เนื่องจากปัญหาการใช้ห้องบรรยาย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปรับระยะเวลาหรือวิธีการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ปฏิทิน 01
แบบประเมินโครงการ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล