22153 : โครงการงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 39
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.กัลย์ชิสา นามวงศ์พรหม (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 6/11/2567 15:02:38
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
16/11/2567  ถึง  31/01/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  48  คน
รายละเอียด  บุคลากร จำนวน 15 คน และ นักศึกษา จำนวน 33 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้จากเงินพัฒนานักศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (สโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร) สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานรอง : แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ผลผลิต ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมสนับสนุนบริหารจัดการทั่วไป แผนงานการเรียนการสอน งานสนับสนุนการจัดการศึกษา กองทุนกิจการนักศึกษา งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่2) 2568 239,600.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรพินธุ์  สฤษดิ์นำ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรนุช  เจริญกิจ
รองศาสตราจารย์ ดร. พุฒิสรรค์  เครือคำ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.1.8 จำนวนรางวัลที่นักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า หรือส่วนงาน ได้รับในระดับชาติ หรือนานาชาติ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.8.1 พัฒนาทักษะนักศึกษาทั้งด้าน Hard Skills และ Soft Skills โดยเฉพาะที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญคือ GO Eco U.
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68 AP 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 AP 2.1.8 จำนวนรางวับที่นักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า หรือส่วนงาน ได้รับในระดับชาติ หรือนานาชาติ
กลยุทธ์ 68 AP 2.1.8.1 ส่งเสริมและพัฒนาทักษะบุคลากร ศิษย์เก่า และนักศึกษา ด้าน Hard Skills และ Soft Skills โดยเฉพาะที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญคือ GO Eco U.
กลยุทธ์ 68 AP 2.1.8.2 ส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะและทักษะของนักศึกษาให้รองรับการแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 68 AP 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลกด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 68 AP 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
กลยุทธ์ 68 AP 2.1.9.3 สร้างและพัฒนาเครือข่ายศิษย์เก่าที่เข้มแข็ง รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคณะในทุก ๆ พันธกิจ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ คือ งานที่ได้รวบรวมภาคีสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนด้านการเกษตร จำนวน 12 สถาบัน จาก 4 ภูมิภาคของไทย มาจัดการแข่งขันกีฬาทักษะด้านเกษตร ที่ได้รับการยอมรับว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2567 คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ จัดงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ จัดเป็นครั้งที่ 39 ระหว่างวันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ซึ่งมีสมาชิกเครือข่ายภาคี 4 จอบ 12 สถาบัน ประกอบด้วย 1. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5. คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 6. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 7. ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคราม 8. สาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 9. คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร 10. คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ 11. คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร 12. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยความร่วมมือของ 3 คณะด้านการเกษตร ได้แก่ คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ได้เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2526 เพื่อสานสัมพันธ์อันดีเชื่อมความสามัคคีคณาจารย์และนักศึกษา มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ตลอดจนการสอดแทรกความมีคุณธรรมจริยธรรม และการรู้จักอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของวัฒนธรรมพื้นถิ่นและเกษตรกรรมที่ยั่งยืนของแต่ละภูมิภาค ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือและการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยต่อไป ความหมายของคำว่า “4 จอบ” ในครั้งแรกนั้นหมายถึง คณะเกษตร 4 สถาบัน ซึ่งร่วมก่อตั้ง ได้แก่ 1. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ 4. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ต่อมาได้มีการตกลงร่วมกันว่า : ให้คำว่า 4 จอบ นั้นหมายถึง 4 ภูมิภาคของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เพื่อหมายรวมถึงการจัดงานร่วมกันของนักศึกษาจากสถาบันที่มีการเรียนการสอนด้านวิชาการเกษตร 4 ภาค กิจกรรมในงานจะแข่งกีฬาทักษะเกษตรด้านพืช สัตว์ ประมง และการส่งเสริมการเกษตร, กีฬาสากล ,กีฬาพื้นบ้าน ,บำเพ็ญประโยชน์ ,ทัศนศึกษา ,การแสดงตามวัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละสถาบัน และคัดเลือกนักศึกษา/นิสิตสาขาเกษตร เพื่อรับรางวัลเชิดชูเกียรติ “คนดีศรีเกษตร” ด้านความประพฤติและจริยธรรมทำกิจกรรมดีเด่นอีกด้วย ซึ่งสถาบันที่ได้คะแนนการแข่งขันกีฬาทักษะเกษตรรวมสูงสุดเป็นอันดับ 1 จะได้รับรางวัลชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในปี พ.ศ. 2567 ทีมนักศึกษาและทีมอาจารย์เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยภาคี 3 คณะด้านการเกษตร จะเดินทางไปยังคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 อยู่ร่วมแข่งขันชิงรางวัล กิจกรรมต่างๆ และเดินทางกลับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะของนักศึกษาให้รองรับการแข่งขันในระดับชาติ
เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะวิชาการเกษตรและทักษะชีวิต มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้
เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่เข้มแข็ง
เพื่อสานสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของสถาบันภาคีด้านการเกษตรที่เข้มแข็ง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะเกษตร ทักษะชีวิต ให้รองรับการแข่งขันในระดับชาติ เติบโตไปเป็นคนที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตลอดจนได้สร้างและพัฒนาเครือข่ายศิษย์เก่าแม่โจ้ที่เข้มแข็ง สานสัมพันธ์เครือข่ายสถาบันภาคีด้านการเกษตร 4 ภาค ของประเทศไทย
KPI 1 : จำนวนรางวัลที่นักศึกษาได้รับในระดับชาติ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 รางวัล 10
KPI 2 : จำนวนเครือข่ายชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ชมรม 2
KPI 3 : ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตรวรรษที่ 21 ได้พัฒนาทักษะวิชาการเกษตรและทักษะชีวิต ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนเครือข่ายสถาบันภาคีด้านการเกษตรจาก4ภาคของประเทศไทย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
11 สถาบัน 11
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะเกษตร ทักษะชีวิต ให้รองรับการแข่งขันในระดับชาติ เติบโตไปเป็นคนที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตลอดจนได้สร้างและพัฒนาเครือข่ายศิษย์เก่าแม่โจ้ที่เข้มแข็ง สานสัมพันธ์เครือข่ายสถาบันภาคีด้านการเกษตร 4 ภาค ของประเทศไทย
ชื่อกิจกรรม :
นำนักศึกษาและคณาจารย์เข้าร่วมงานประเพณี4จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 39

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/11/2567 - 22/11/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินธุ์  สฤษดิ์นำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายกิตติชัย  เกตุจิ๋ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าสนับสนุนโครงการงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 39
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
14,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าลงทะเบียนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 33 คน x คนละ 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
39,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 39,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยงนักศึกษา จำนวน 33 คน x วันละ 240 บาท x 2 วัน (วันไป17พ.ย./วันกลับ22พ.ย.)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,840.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,840.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยงบุคลากร จำนวน 15 คน x คนละ 1,280 บาท (160 บาท x 2 วัน / 240 บาท x 4 วัน )
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
19,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักบุคลากรแบบเหมาจ่าย จำนวน 15 คน x คนละ 800 บาท x 5 คืน (17-21 พ.ย.2567)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
60,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถตู้ จำนวน 4 คัน x คันละ 2,000 บาทต่อวัน x 6 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
48,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 48,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุน้ำมันเชื้อเพลิง รถตู้จ้างเหมา จำนวน 4 คัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
32,360.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 32,360.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตรใช้ประกอบการแข่งขันทักษะการจัดสวนถาด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 239600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล