22125 : โครงการแม่โจ้โพลล์ ประจำปี 2568
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นายยมนา ปานันท์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/11/2567 9:01:36
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/12/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  1500  คน
รายละเอียด  ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมายในการเก็บข้อมูลโพลล์ ประกอบด้วย 1)ประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 800 – 1,500 ราย 2)ประชาชนภาคเหนือ จำนวน 500 – 800 ราย 3)เยาวชนทั่วประเทศ จำนวน 1,000 – 1,500 ราย 4)เยาวชนภาคเหนือ จำนวน 800 – 1,000 ราย 5)เกษตรกรทั่วประเทศ จำนวน 300 – 600ราย ราย เกษตรกรภาคเหนือ หรือเกษตรรายพืช จำนวน 300 – 500 ราย - กลุ่มเป้าหมายในการนำเสนอและเผยแพร่ผลการสำรวจข้อมูล ประกอบด้วย สื่อมวลชน ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ รวมถึงสื่อออนไลน์ จำนวน 3 แหล่ง/โพลล์ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป และมีมูลค่าประชาสัมพันธ์ที่เพิ่มมากขึ้น
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4) 2568 300,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. สุรชัย  กังวล
ดร. วีร์  พวงเพิกศึก
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69ECON 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69ECON2-4 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับ
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-4.4 จำนวนผลสำรวจความคิดเห็น (โพลล์) ต่อปี
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-4.4.1 พัฒนาระบบการบริหารจัดการโครงการจัดทำแม่โจ้โพลล์ให้มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-4.5 จำนวนผลสำรวจความคิดเห็นด้านการเกษตร เศรษฐกิจการเกษตรและสิ่งแวดล้อมต่อการจัดทำโพลล์
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-4.4.1 พัฒนาระบบการบริหารจัดการโครงการจัดทำแม่โจ้โพลล์ให้มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในโลกสมัยปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยุคที่เรียกว่า เป็นยุคของการสื่อสารที่ไร้พรมแดน จากการสื่อสารที่ต้องใช้ระยะเวลานาน ในปัจจุบันถือว่ามีความก้าวหน้า รวดเร็วมากขึ้น ในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการกระจายข้อมูลข่าวสารให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถกระจายข้อมูลข่าวสารได้หลากหลายช่องทางมากยิ่งขึ้น ทำให้ประชาชนในประเทศรับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่เน้นนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย และใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ของภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหาประเทศในทุกมิติ ทุกคนร่วมสร้างเครือข่ายในประเทศ-อาเซียน สร้างโอกาสจากเทคโนโลยี สร้างสรรค์ความก้าวหน้าให้กับภูมิภาคและภายในประเทศของตน โดยจากอิทธิพลของการรับข้อมูลข่าวสารนี้ถือว่าเป็นการแจ้ง กล่าว ถึงสถานการณ์ปัญหาต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่ามีสื่อหลายช่องทางที่นำเสนอข้อเท็จจริงให้แก่ประชาชนได้รับทราบอย่างทันท่วงนี้ ทั้งเรื่องสถานการณ์เหตุบ้านการเมือง ภาวะเศรษฐกิจของโลกและของประเทศไทย ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาปากท้อง ฯลฯ โดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร ได้จัดทำโครงการแม่โจ้โพลล์ เพื่อการสำรวจความคิดเห็นและสะท้อนปัญหา อีกทั้งทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงที่สำคัญในการสะท้อนปัญหาต่างๆในสังคม ทั้งในเรื่อง การเมือง เศรษฐกิจ การเกษตร สิ่งแวดล้อมจากประชาชนทั่วไป รวมทั้งสะท้อนเสียงของเกษตรจากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นและที่เป็นผลจากการกำหนดนโยบายหรือมาตรการต่างๆของภาครัฐที่ยังคงมีปัญหา การดำเนินการของ โครงการแม่โจ้ มีผลการดำเนินการประกอบด้วย ผลผลิต (Output) สามารถจัดทำผลสำรวจความคิดเห็น (โพลล์) ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นช่องทางหนึ่งในการสะท้อนความคิดเห็นของเกษตรกร และประชาชนทั่วประเทศ เพื่อให้หน่วยงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้ถึงความต้องการและปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งผลที่ได้รับจากการเผยแพร่ผลการสำรวจความคิดเห็น (โพลล์) (Outcome) คือการได้รับความสนใจจากสื่อต่างๆ ในการนำผลการสำรวจไปเผยแพร่ จำนวน 20 เรื่องต่อปี ในสื่อต่างๆ ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ในเครือต่างๆ สถานีวิทยุ หนังสือพิมพ์ สื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ค ที่นับว่าเป็นพันธกิจหนึ่งของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยที่จะต้องทำบริการวิชาการให้แก่สังคม โดยเน้นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีพันธกิจ ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการเกษตร ในระดับนานาชาติ โดยการสะท้อนปัญหา ความคิดเห็นของเกษตรกรที่เป็นรากเหง้าของการทำการเกษตร ให้ผู้เกี่ยวกับได้รับทราบและเห็นถึงปัญหาต่างๆ เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งในปีงบประมาณ 2567 นี้ ทางศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) ได้รับการสนับสนุนให้จัดทำโครงการแม่โจ้โพลล์ ประจำปี 2567 โดยได้รับงบประมาณเสมอมา ถือได้ว่าการจัดทำโครงการแม่โจ้โพลล์ในครั้งนี้ สามารถเป็นการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่สนองต่อสังคมได้เป็นอย่างดี โดยในปี 2558 นี้ ทางศูนย์วิจัยฯมีความตั้งใจในการจัดทำโพลล์ ผลสำรวจที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับโครงการหรือแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ ไปเป็นหัวข้อ ประเด็นในการจัดทำผลการสำรวจ ได้แก่ การสอบถามถามประชาชนต่อการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีและสนองโครงการตามพระราชดำริของพระองค์

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาในประเด็นต่างๆ
เพื่อนำเสนอความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องแต่ละฝ่าย พร้อมแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
เพื่อให้เกิดความตระหนักในการมีส่วนร่วมในการสนองโครงการตามแนวพระราชดำริและเป็นการบริการวิชาการให้แก่สังคม
เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นที่รู้จักของหน่วยงานทั้งภายใน และภาคนอก รวมถึงประชาชนทั่วไป
เพื่อสร้างเครือข่ายการสำรวจความคิดเห็นและงานด้านการวิจัยและบริการวิชาการ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลการสำรวจโพลล์ จำนวน 20 โพลล์ที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนผ่านสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
KPI 1 : จำนวนผู้ใช้บริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
300 400 400 400 คน 1500
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.1 0.1 0.1 ล้านบาท 0.3
KPI 3 : จำนวนผลสำรวจด้านการเกษตร เศรษฐกิจเกษตรและสิ่งแวดล้อม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 20 20 ร้อยละ 60
KPI 4 : จำนวนผลสำรวจต่อปี
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 6 6 6 เรื่อง 20
KPI 5 : ร้อยละของบริการวิชาการและเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 30 30 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลการสำรวจโพลล์ จำนวน 20 โพลล์ที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนผ่านสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ชื่อกิจกรรม :
การจัดทำโพลล์ (ผลการสำรวจความคิดเห็น) จำนวน 20 โพลล์ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ออกแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็น
2. ลงพื้นที่/ประสานเครือข่ายเก็บข้อมูล
3. วิเคราะห์และแปรผล
4.เขียนผลโพลล์และจัดทำอินโฟกราฟฟิค
5. นำเสนอผลโพลล์ตามสื่อต่างๆ
6. ติดตามผลการเผยแพร่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ดร.วีร์  พวงเพิกศึก (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.เบญจวรรณ  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายยมนา  ปานันท์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการสนับสนุนงานด้านเก็บข้อมูล วิเคราะห์ (เก็บข้อมูล ภาคตะวันออกภาคกลางและภาคใต้
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,000.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 30,000.00 บาท 135,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการสนับสนุนงานด้านเก็บข้อมูล วิเคราะห์ (เก็บข้อมูล ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,000.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 30,000.00 บาท 135,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา ดินสอ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
ค่าไปรษณียากร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 300000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล